กรมชลประทาน สรุปสถานการณ์อุทกภัยคลี่คลาย แต่ยังเฝ้าระวัง

เมื่อวันที่ 22 ส.ค.61 เวลา 08.00 น.กรมชลประทานสรุป สถานการณ์อุทกภัย 8 จังหวัด ได้แก่ จ.เชียงราย ยโสธร กาฬสินธุ์ อุบลราชธานี นครพนม สกลนคร บึงกาฬ และร้อยเอ็ด สถาน การณ์เข้าสู่ภาวะปกติ 2 จังหวัด ได้แก่ จ.พะเยา และน่าน สถานการณ์เฝ้าระวัง 6 จังหวัด ได้แก่ จ.แพร่ สุโขทัย กาญจนบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และพิษณุโลก
สถานการณ์อุทกภัย
1.จ.เชียงราย มีน้ำป่าไหลหลาก น้ำ ท่วมฉับพลัน น้ำเอ่อล้นตลิ่งในพื้นที่ จ.เชียงราย เนื่องจากอิทธิพลของพายุดีเปรสชัน “เบบินคำ (BABINCA)” จ้ำนวน 5 อำเภอ ได้แก่ อ.แม่ลาว อ.เทิง อ.เวียงแก่น อ.แม่ฟ้าหลวง และ อ.เมือง ปัจจุบันยังมีฝนตกในพื้นที่ โครงการชลประทานเชียงรายเฝ้าระวังสถานการณ์และเตรียมความ พร้อมให้การช่วยเหลือ
-สถานการณ์น้ำลุ่มน้ำกก (06.00 น.) ปริมาณน้ำแม่น้ำลาวไหลผ่านสถานีวัดน้ำ G.10 อ.แม่สรวย
จ.เชียงราย ปริมาณน้ำ 68.18 ลบ.ม./วินาที ต่ำกว่าตลิ่ง 2.02 ม. แนวโน้มลดลงไหลผ่านสถานี G.8 อ.เมือง จ.เชียงราย ปริมาณน้ำ 92.25 ลบ.ม./วินาที ต่ำกว่าตลิ่ง1.71 ม. แนวโน้มลดลง

2.จ.ยโสธร มีพื้นที่น้ำท่วมจำนวน 5 อำเภอ ได้แก่ อ.คำเขื่องแก้ว อ.เมือง อ.ป่าติว อ.มหาชนะชัย และ อ.ค้อวัง รวมพื้นที่ประสบอุทกภัย 7,317 ไร่ ได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำในพื้นที่จำนวน 2 เครื่อง
– สถานการณ์น้ำลุ่มน้ำลำเซบาย (06.00 น.) สถานี M.32 อ.ป่าติว จ.ยโสธร ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง
1.85 ม. แนวโน้มเพิ่มขึ้น สถานี M.179A อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง 3.70 ม. แนวโน้มลดลง
– สถานการณ์น้ำลุ่มน้ำชี (06.00น.) สถานี E.2A อ.เมือง จ.ยโสธร ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง 1.77 ม. แนวโน้มลดลง สถานี E.20A อ.มหาชนะชัย จ.ยโสธร ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง 0.90 ม.แนวโน้มลดลง
3.จ.กาฬสินธุ์ พื้นที่ได้รับผลกระทบเนื่องจากเขื่อนลำปาว ที่เพิ่มการระบายน้ำจำนวน 4 อำเภอ ได้แก่ อ.เมือง อ.ยางตลาด อ.กมลำไสย และ อ.ฆ้องชัย พื้นที่ประสบอุทกภัยรวมประมาณ 3,774 ไร่

4.จ.อุบลราชธานี พื้นที่น้ำท่วมริมแม่น้ำโขง จำนวน 1 อำเภอ ได้แก่ อ.เขื่อง ในพื้นที่ประสบอุทกภัย 12,385 ไร่โครงการชลประทานสนับสนุนเครื่องผลักดันน้ำ 12 เครื่อง บริเวณพื้นที่ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
– สถานการณ์น้ำลุ่มน้ำชี (06.00 น.) สถานี E.98 อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง 0.50 ม.แนวโน้มลดลง

5.จ.นครพนม พื้นที่น้ำท่วมจำนวน 5 อำเภอ ได้แก่ อ.นาแก อ.นาทม อ.บ้านแพง อ.ศรีสงคราม และ อ.นำหวาโครงการชลประทานนครพนม สนับสนุนเครื่องสูบน้ำ 14 เครื่อง โดยจำแนกเป็นดังนี้ 8 เครื่อง บริเวณเทศบาลเมืองฯ , 4 เครื่อง บริเวณอ่างเก็บน้ำต่างๆ และ 2 เครื่องที่ ปตร.ห้วยแคน

6.จ.สกลนคร พื้นที่น้ำท่วมจำนวน 5 อำเภอ ได้แก่ อ.โคกศรีสุพรรณ อ.โพนนาแก้ว อ.เมือง อ.วาริชภูมิ และ อ.คำตำกล้า มีพื้นที่ได้รับผลกระทบ 9,578 ไร่ โครงการชลประทานสกลนคร ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ จำนวน 5 เครื่อง และเครื่องผลักดันน้ำจำนวน 6 เครื่อง (ปตร.บ้านหนองบึง2 เครื่อง และที่สะพานบ้านด่านม่วงคำ 4 เครื่อง)
– สถานการณ์เขื่อนน้ำอูน (06.00 น.) ปริมาณน้ำ 534 ล้าน ลบ.ม.(103% ของความจุอ่าง) น้ำล้นทางระบายน้ำล้น 0.16 ม. ปริมาณน้ำไหลลงอ่าง 12.55 ล้าน ลบ.ม. ระบายลงลำน้ำอูน 5.65 ล้าน ลบ.ม./วัน

7.จ.บึงกาฬ พื้นที่น้ำท่วมจำนวน 8 อำเภอ ได้แก่ อ.พรเจริญ อ.เซกา อ.บึงโขงหลง อ.เมือง อ.บุ่งคล้ำ อ.ศรีวิไล อ.โซ่พิสัย และอ.ปากคาด มีพื้นที่ได้รับผลกระทบ 26,828 ไร่

8.จ.ร้อยเอ็ด พื้นที่น้ำท่วมจำนวน1 อำเภอ ได้แก่ อ.ทุ่งเขาหลวง มีพื้นที่ได้รับผลกระทบ 487 ไร่ ติดตั้งเครื่องสูบน้ำขนาด 14 นิ้ว

ร่วมแสดงความคิดเห็น