พุทธศิลป์ล้านนาร่วมสมัย เรียบง่ายหรือเว่อร์มากไป

งานสถาปัตยกรรม ก่อสร้างอาคาร บ้านเรือน วิหาร วัด วัง สถูป เจดีย์ต่างๆ จะมีองค์ประกอบหลัก 3 ส่วนคือ ความงาม ความมั่นคงแข็งแรง และประโยชน์ใช้สอย ศิลปะที่ปรากฎผ่านสถาปัตยกรรม ภาคเหนือในอดีตนั้น มีความแตกต่างจากภาคอื่นๆ ด้วยได้รับอิทธิพลหลายช่วงครอบงำ ทั้งพม่ารามัญ อยุธยา รัตน โกสินทร์ ซึ่งถ้ากล่าวถึงระหว่างพม่าครองเชียงใหม่ กว่า 200 ปี ศิลปะ ที่สื่อผ่านงานช่าง การก่อสร้างต่างๆที่มีความคลาสิคสุดๆนั้น จะเป็นสมัยพุกาม ใช้อิฐเป็นหลัก และมีหิน ไม้เข้ามาเป็นส่วนประดับ ถ้ายุคแรกๆ จะมีลักษณะเหมือนระฆังคว่ำ มีความปราณีตซับซ้อนในแต่ละมุม หากจะมองให้เห็นภาพศิลปะพม่า (เมียนมา) ในล้านนา หรือที่เชียงใหม่ผ่านงานสถาปัตยกรรม จะพบเห็นได้ตามวัดต่างๆ อาทิ วัดทรายมูล ,วัดป่าเป้า,วัดหนองคำ ,วัดแสนฝาง , หรือ วัดศรีชุม วัดศรีรองเมือง นครลำปาง ปัจจุบัน ศิลปะร่วมสมัย ถ้าเคยไปวัดร่องขุ่น นครเชียงราย ที่เกิดจากการแรงบันดาลใจในสุนทรียภาพของ อ.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติ ที่มีพื้นฐานด้านงานศิลปะเป็นเยี่ยม จนกลายเป็นต้นแบบพุทธศิลป์ ที่หลายๆวัด สถานที่ต่างๆนำไป ประยุกต์ ดัดแปลง สร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรม ก่อสร้างออกมา แต่บางวัด บางสถานที่ในบ้านเรา มีการให้อิสระในการออกแบบ ของผู้รับเหมา ผู้รับจ้างงาน รวมถึงผู้ว่าจ้าง ซึ่งอาจเป็นทั้งพระหรือญาติโยม
ดังนั้นความเห็นที่แตกต่างกันของสังคมปัจจุบัน ผ่านการรังสรรค์งาน ให้ปรากฎ โดยเฉพาะวัด สถานที่สังฆมณฑล และอาจหมายรวมถึงสถานที่ราชการ มักจะพบเห็นข้อโต้แย้ง การวิพากษ์วิจารณ์ผลงานเหล่านั้น ไม่ว่าจะออกมาในรูปแบบใด สิ่งสำคัญที่สุด นอกเหนือจากองค์ประกอบพื้นฐาน 3 ส่วน ที่กล่าวมาแล้วคือ กาลเวลา และผู้คนในรุ่นต่อๆไปจะเป็นผู้ตัดสินว่า เรียบง่าย ทรงคุณค่า หรือเว่อร์วังอลังการเกินเหตุ ไร้สุนทรียภาพ และอื่นๆอีกมากมาย

ร่วมแสดงความคิดเห็น