การแข่งขันฝีมืออาเซียนครั้งที่ 12 ปี พ.ศ.2561

วันที่ 30 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2561 ได้มีการแข่งขันฝีมือแรงงานอาเซียนครั้งที่ 12 จัดขึ้นที่ กรุงเทพฯ ประเทศไทย ซึ่งในครั้งนี้ผลิตภัณฑ์ของ YALONG ที่ได้ทำการวิจัยและพัฒนานั้นประกอบไปด้วย YALONG YL-335B อุปกรณ์การฝึกอบรมสายการผลิตอัตโนมัติ , YALONG YL-569C อุปกรณ์การฝึกอบรมควบคุมเชิงตัวเลขเครื่องกลึง , YALONG YL-730A ระบบบูรณาการอาคารอัจฉริยะและ  แพลตฟอร์มการเรียนการสอนแบบบูรณาการการพัฒนาการเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่ได้กลายเป็นโครงการการแข่งขันระบบอัตโนมัติสำหรับอุตสาหกรรม รวมไปถึง โครงการการแข่งขันการแก้ไขปัญหาเครื่องจักรด้วยระบบตัวเลข และโครงการการแข่งขันเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตทั้ง 3 โครงการ

การแข่งขันฝีมือแรงงานอาเซียนครั้งที่ 12 จัดขึ้นในหัวข้อเรื่อง “Crafting The Future” โดยโครงการการแข่งขันครั้งนี้มีทั้งหมดด้วยกัน 24 รายการ มีตัวแทนจากทั้งหมด 10 ประเทศอาเซียนที่เข้าร่วมการแข่งขัน ในสาขาเดียวกันนั้นก็จะมีผู้เข้าแข่งขันที่ถูกคัดเลือกแล้วมากกว่าพันคน  ซึ่งในงานครั้งนี้จะมีผู้เข้าชมการแข่งขันมากมายหลายหมื่นคน ที่มาจากทั่วทุกมุมโลกไม่ว่าจะเป็น ข้าราชการ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ประกอบการ ผู้ฝึกอบรม คุณครู/อาจารย์และนักเรียน เป็นต้น โดย YALONG ได้เสนอระบบอัตโนมัติสำหรับอุตสาหกรรมที่ได้มาตรฐานทางเทคโนโลยีสำหรับเข้าร่วมสำหรับการแข่งขันดังกล่าว ซึ่งจะมีทั้งหมดด้วยกัน 7 ทีม โดยมาจากประเทศไทย เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ กัมพูชา และฟิลิปปินส์ ตามลำดับ นอกจากนี้ YALONG ยังได้เสนอโครงการการแข่งขันการแก้ไขปัญหาเครื่องจักรด้วยระบบตัวเลข ในการเข้าร่วมจัดการแข่งขัน ซึ่งจะมีทั้งหมด 4 ทีม มาจากสิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย และเวียดนาม ตามลำดับ และโครงการการแข่งขันเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตในฐานะที่เป็นโครงการการแข่งขันงานแสดง มีทั้งหมด 4 ทีม มาจาก สิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย และเวียดนาม

ด้วยความที่ผลิตภัณฑ์ของ YALONG มีความเป็นสากล รวมทั้งยังมีสอดคล้องกับแผนในการพัฒนา   จึงทำให้สามารถเป็นผู้ให้บริการในการแข่งขันฝีมือแรงงานอาเซียนได้ โดยที่ YALONG และประเทศอาเซียนได้มีการร่วมมือกันดำเนินการส่งเสริมพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรมทางการศึกษาระหว่างประเทศ   ซึ่งภายหลังได้ก่อตั้งสถาบันการศึกษาเส้นทางสายไหมจำนวน 6 แห่ง ในกลุ่มประเทศ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” และก่อตั้ง “ศูนย์ปฏิบัติการหลู่ปัน”  อีก 5 แห่ง โดยให้ความสำคัญในเรื่องการติดต่อสื่อสาร สร้างวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล พร้อมทั้งให้ความร่วมมือด้านนวัตกรรมที่ได้จะประโยชน์ร่วมกัน ผ่านรูปแบบการพัฒนานวัตกรรมผสมผสานด้านอุตสาหกรรมการศึกษาระหว่างประเทศ   นอกจากนี้ได้มีการวิจัยร่วมกันเพื่อพัฒนาก่อสร้างสถานศึกษาเส้นทางสายไหม ส่งเสริมกลุ่มประเทศ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ตามแนวการศึกษา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวัฒนธรรม ก็ถือว่าเป็นความร่วมมือที่มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ครอบคุลม  เพื่อที่จะให้สถานศึกษาและองค์กรต่างๆมีความเป็นสากล  โดยนโยบาย “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”  สร้างขึ้นก็เพื่อให้บริการแก่บุคคลที่มีความสามารถพิเศษ จึงถือได้ว่าเป็นการสร้างโชคชะตาให้แก่เหล่าผู้คนในชุมชน

    การแข่งขันฝีมือแรงงานอาเซียนจัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2539 ทุกๆ 2 ปีจะจัด 1 ครั้ง  การแข่งขันจัดขึ้นเพื่อให้ความสำคัญในเรื่องทักษะทางด้านเทคโนโลยี ส่งเสริมความสามารถของงานช่างฝีมือ กระตุ้นให้บุคคลที่มีความสามารถพิเศษได้แสดงศักยภาพทักษะทางเทคโนโลยีออกมา เพื่อยกระดับในการพัฒนาทักษะทางเทคโนโลยีของกลุ่มประเทศอาเซียน นอกจากนี้ยังช่วยส่งเสริมการพัฒนามาตรฐานทักษะอาชีพในประเทศอาเซียน รวมไปถึงการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์และมิตรภาพที่ดีต่อกันในแต่ละประเทศอาเซียน เคารพความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ก้าวไปสู่ทิศทางการรวมกลุ่มอาเซียนได้ดียิ่งขึ้น

ในปี พ.ศ. 2555 YALONG เป็นตัวแทนองค์กรประเทศจีนที่เข้าสู่ประเทศไทยในการแข่งขันอาเซียน นี่คือครั้งแรกที่YALONGเป็นตัวแทนองค์กรประเทศจีนที่ก้าวสู่การแข่งขันนานาชาติ นอกจากนี้YALONG ยังเป็นผู้ให้บริการอุปกรณ์การศึกษาเป็นครั้งแรกและถูกใช้ในการแข่งขันทักษะทางเทคโนโลยีนานาชาติที่มีการกำหนดมาตรฐาน โดยมีประเทศสมาชิกจากกลุ่มประเทศอาเซียนได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม ลาว ไทย ฟิลิปปินส์ เป็นผู้เข้าร่วม และอีก 1 ทีมจากโรงเรียนอาชีวศึกษาและเทคนิคอู่ซี มณฑลเจียงซู ประเทศจีน ซึ่งจะมาเข้าร่วมเป็นตัวแทนในการแข่งขันเวทีนี้ด้วย หลังจาก 8 ปี การแข่งขันทักษะทางเทคโนโลยีอาเซียนกลับมาอีกครั้งที่กรุงเทพฯ ในประเทศไทย YALONG จากที่ได้สนับสนุนมาตรฐานทางเทคโนโลยี 1 อย่าง ก็ได้เปลี่ยนมาเป็นมาตรฐานทางเทคโนโลยี 3 อย่าง และก้าวหน้าเป็นพันธมิตรที่ดีของการแข่งขันฝีมือแรงงานอาเซียน

ร่วมแสดงความคิดเห็น