โครงการพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมแฟชั่นล้านนาตะวันออกสู่ต่างประเทศ

เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 12 กันยายน 2561 ที่โรงแรมดิเอ็มเพรส จ.น่าน โดยมี นายไพศาล วิมลรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน/นายสำเริง สวัสดีนฤนาท อุตสาหกรรมจังหวัดน่าน พร้อมด้วยกลุ่มสมาชิกกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน สรุปผลสำเร็จ 3 กิจกรรม ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมแฟชั่นล้านนาตะวันออกสู่ต่างประเทศ จัดแสดงผลงานนิทรรศการและแฟชั่นโชว์สุดอลังการ สร้างมูลค่าเพิ่มรวมผลงานกว่า 100 รายการ พร้อมผลักดันผู้ประกอบการและนักออกแบบสู่ตลาดต่างประเทศ ร่วมกันจัดงานในครั้งนี้

นายไพศาล วิมลรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน กล่าวว่า จังหวัดเชียงราย พะเยา แพร่ น่าน กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน หรือล้านนาตะวันออก มีศักยภาพในด้านการผลิตเครื่องประดับและผ้าทอเป็นอย่างมาก โดยผู้ประกอบการท้องถิ่นสามารถต่อยอดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ นำวัฒนธรรม ประเพณี ที่ทรงคุณค่าในวิถีชีวิตมาถอดอัตลักษณ์สู่การออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้อย่างสวยงาม เมื่อนำมาผสมผสานประยุกต์ร่วมกับเทคโนโลยีที่ทันสมัย และการออกแบบตามกระแสความต้องการของตลาด จนพัฒนาเป็นสินค้าที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ซื้อและนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศได้ โดยเฉพาะเครื่องประดับและผ้าทอที่มีความเป็นไลฟ์สไตล์วิถีไทย ปัจจุบันเป็นที่นิยมของตลาดต่างประเทศมาก หากผู้ประกอบการในท้องถิ่นได้นำองค์ความรู้ที่ได้รับจากโครงการนี้ มาใช้ด้วยจะสามารถช่วยให้ผู้ประกอบการ วิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ ได้พัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน สร้างรายได้ให้เพิ่มมากขึ้น พึ่งพาตนเองได้ นำมาซึ่งการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่อย่างยั่งยืน
นายสำเริง สวัสดีนฤนาท อุตสาหกรรมจังหวัดน่าน กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการนี้เป็นการทำงานร่วมกันของอุตสาหกรรมจังหวัด 4 จังหวัด คือ เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน หรือกลุ่มล้านนาตะวันออก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมแฟชั่นล้านนาตะวันออกให้สามารถแข่งขันได้ทั้งในระดับประเทศและต่อยอดไปจนถึงระดับสากล โดยการทำงานร่วมกันกับสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ประกอบไปด้วย 3 กิจกรรมหลัก คือกิจกรรมการรวมกลุ่มคลัสเตอร์อุตสาหกรรมแฟชั่นล้านนาตะวันออก เพื่อสร้างการรวมตัวและความเชื่อมโยงผู้ผลิตเครื่องประดับและผ้าทอกลุ่มล้านนาตะวันออก ภายใต้ชื่อ คลัสเตอร์อุตสาหกรรมแฟชั่นล้านนาตะวันออก โดยมีการทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่คัดเลือกประธานกลุ่ม พร้อมวางแผน นโยบาย รวมทั้งกำหนดยุทธศาสตร์และทิศทางในการพัฒนากลุ่มทั้งในระยะสั้นและระยะยาวกิจกรรมการพัฒนาเครื่องประดับและผ้าทอล้านนาตะวันออกสู่ต่างประเทศ ดำเนินการลงพื้นที่นำ นวัตกรรม เทคโนโลยี และการออกแบบ ไปถ่ายทอดองค์ความรู้แก่ผู้ประกอบการอย่างเข้มข้นโดยบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มรวมกว่า 80 รายการ พร้อมเชื่อมโยงและผลักดันสู่ตลาดต่างประเทศในทุกช่องทาง
กิจกรรรมการสร้างนักออกแบบอุตสาหกรรมแฟชั่นล้านนาตะวันออก (Creative Eastern Lanna Award 2018) พัฒนานักออกแบบในพื้นที่ผ่านกิจกรรมการประกวด โดยเปิดรับสมัครนักออกแบบรุ่นใหม่ จากเชียงราย พะเยา แพร่ น่าน และได้อบรมถ่ายทอดองค์ความรู้กว่า 200 รายพร้อมคัดเลือกนักออกแบบที่มีศักยภาพและนำเสนอแรงบันดาลใจใน Mood Board จนเหลือ 20 ราย ซึ่งจะมีการตัดสินรางวัลกันในวันนี้ โดยแบ่งการตัดสินออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. ประเภทเครื่องประดับ (ประเภทเครื่องประดับ) รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นายเอกลักษณ์ บุญปั๋น ชื่อผลงาน สักขาลาย ได้รับเงินรางวัล 20,000 บาท พร้อมโล่รางวัล
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ นายวรรณฤดี แก้วมีศรี ชื่อผลงาน Running Lanna ได้รับเงินรางวัล 15,000 บาท พร้อมโล่รางวัล
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ นางสาวมนัส ใจมะสิทธิ์ ชื่อผลงาน Rock style ได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท พร้อมโล่รางวัล
รางวัลชมเชย 2 รางวัล ได้แก่ นายธนุส เสาวนิศากร ชื่อผลงาน Power Living และ นายกนกพร ธรรมวงค์ ชื่อผลงาน อินดี้ไทลื้อ ได้รับเงินรางวัลท่านละ 5,000 บาท
2.ประเภทสิ่งทอ (เครื่องแต่งกาย)
รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นางสาวเบญจมาศ บัวการ ชื่อผลงาน Obscure ได้รับเงินรางวัล 20,000 บาท พร้อมโล่รางวัล
รองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ นายอิทธิพล อินติ๊บ ชื่อผลงาน JIM ได้รับเงินรางวัล 15,000 บาท พร้อมโล่รางวัล
รองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ นางสาวภาพตะวัน ขวัญธนวณิชย ชื่อผลงาน Come Black
ได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท พร้อมโล่รางวัล
รางวัลชมเชย 2 รางวัล ได้แก่ นายกิตติธัช อดุลยวินิจ ชื่อผลงาน Lanna Heritage และ นายเขมราช ขอร้อง ชื่อผลงาน อาภรณ์นครโกศัย ได้รับเงินรางวัลท่านละ 5,000 บาท
นอกจากนี้ ทางสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ยังได้ผลักดันเชื่อมโยงผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศสู่การแข่งขันในเวทีระดับโลก โดยหากเป็นนักศึกษาจะสามารถไปแข่งขันต่อได้ในโครงการออกแบบ SDC International Design Competition 2018 ณ ประเทศอังกฤษ ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2018
จากการดำเนินโครงการดังกล่าว ก่อให้เกิดการสร้างองค์ความรู้ สร้างเครือข่าย การสร้างนักออกแบบรุ่นใหม่ และมีผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่ได้ผ่านการสร้างมูลค่าเพิ่มรวมกว่า 100 รายการ ในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบนล้านนา
นอกจากนี้ ทางสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ยังได้ผลักดันเชื่อมโยงผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศสู่การแข่งขันในเวทีระดับโลก โดยหากเป็นนักศึกษาจะสามารถไปแข่งขันต่อได้ในโครงการออกแบบ SDC International Design Competition 2018 ณ ประเทศอังกฤษ ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2018 จากการดำเนินโครงการดังกล่าว ก่อให้เกิดการสร้างองค์ความรู้ สร้างเครือข่าย การสร้างนักออกแบบรุ่นใหม่ และมีผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่ได้ผ่านการสร้างมูลค่าเพิ่มรวมกว่า 100 รายการ ในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบนล้านนาตะวันออก เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน พร้อมออกสู่ตลาดนักท่องเที่ยวและนักช้อปทั้งในประเทศและตลาดสากล สร้างรายได้เข้าสู่ท้องถิ่นได้อย่างยั่งยืน

ร่วมแสดงความคิดเห็น