เครือข่ายขอบริจาคทานเพียบ สะท้อนสังคมเริ่มจะอยู่ลำบาก

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรณีองค์กร ,มูลนิธิ,เครือข่ายต่างๆ สะท้อนภาพปัญหาความเดือดร้อน อุปสรรคการดูแลช่วยเหลือ สงเคราะห์แต่ละพื้นที่เกลื่อนสื่อสังคมนั้น ผู้บริหาร ท้องถิ่นในเขตเมืองเชียงใหม่ ยอมรับว่า บางกิจกรรม โครงการเป็นเรื่องดี แต่อาจไปทับซ้อนกับภารกิจของหน่วยงานรัฐฯ อาทิ การจัดหาที่เรียน ในกลุ่มเด็กพลัดถิ่นที่พ่อ แม่เป็นแรงงานก่อสร้าง, การขอรับเงินสนับสนุนสร้างสถานพยาบาลในชุมชน ,การช่วยผู้พิการ,ผู้เจ็บป่วย เป็นต้นทั้งนี้ภารกิจเหล่านี้มีหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบ เช่น การศึกษาตามขั้นพื้นฐาน ซึ่งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯแต่ละท้องถิ่น กว่าครึ่งแทบจะเป็นลูกหลานแรงงานต่างด้าว,คนจนยากไร้ ถ้ามีองค์กร หรือการเสนอตัวจัดหาที่เรียน เลี้ยงดูเด็กเหล่านี้ และอื่นๆที่มีเรื่องอุปกรณ์การเรียน การแพทย์,บุคลากร เพื่อเป็นข้ออ้างขอรับเงินบริจาค ท้ายที่สุด ดำเนินการต่อไม่ไหว จะกลายทำให้อปท.หน่วยงานต่างๆในเชียงใหม่เข้าไปแก้ปัญหาไม่สิ้นสุด

หน.ส่วนราชการรายหนึ่งในเชียงใหม่ ยืนยันว่าแต่ละจังหวัดมีหน่วยงานส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค จัดแบ่งหน้าที่รับผิดชอบชัดเจน รวมถึงท้องถิ่น ซึ่งภาพการนำเสนอออกไปทางสื่อสังคม ในความเดือดร้อน ทุกข์ยากแล้วกลายเป็นครอบครัว ผู้ที่พ้นความจน ความลำบากในชั่วข้ามคืน เป็นเรื่องที่น่าอนุโมทนาในน้ำใจคนไทย แต่กลายเป็นพฤติกรรมเลียนแบบ ทำให้กลุ่มคนเดือดร้อนจริงๆขาดโอกาส ยิ่งหน่วยงานที่ดูแลคนจน ไร้ที่พึ่ง มีปมปัญหาถูกตรวจสอบ การทุจริตมโหฬาร สังคมก็เริ่มรวนเรว่าทำบุญหรือทำบาป
บทบาทผู้นำชุมชน ทุกท้องที่ ท้องถิ่น จะรู้ดีว่าลูกบ้านคนไหน รายใด มีสภาพครอบครัว สังคมอย่างไร ถึงแม้จะเป็นเขตเมือง ความเป็นชาวบ้าน ก็ต้องมักคุ้นกับชุมชนบ้าง ยกเว้น ไม่ประสงค์จะข้องแวะใคร ยิ่งมีเครือข่ายอสม, สภาเด็กแต่ละหมู่บ้าน,ตำบล,วัด ,บ้าน ,โรงเรียน ร่วมเป็นแกนพื้นฐานของทุกครอบครัวในชุมชน ซึ่งการร่วมบริจาค ช่วยเหลือกันเป็นเรื่องคิดดี ทำดีแต่จำนวนที่เพิ่มสูงในปัจจุบัน กลายเป็นช่องทาง ทำมาหากิน แสวงหาประโยชน์ และตอกย้ำสังคมไทยว่าอยู่ยากลำบากเกินไปแล้ว ทุกพื้นที่ต้องร่วมสอดส่อง หรือทบทวนการบริจาคในสิ่งที่ช่วยเหลือแล้วเกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน เช่น บริจาคหนังสือเก่าไม่ใช้แล้ว สมทบทุนเพื่อจัดซื้อ จัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์ เป็นต้น
DIGITAL CAMERA

ร่วมแสดงความคิดเห็น