ชี้แย่งหาที่เรียนตั้งแต่อนุบาล แข่งสอบเข้า แต่ยังตกงานสูง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า รายงานภาวะผู้เข้าสู่ตลาดแรงงานปี2561 กรมการจัดหางานระบุในตลาดแรงงาน 5.05 คนเป็นผู้จบการศึกษาระดับปริญญาตรีกว่า 3.2 แสนคน หรือร้อยละ 64 ซึ่งกลุ่มจบการศึกษาใหม่นี้จะเข้าสู่ตลาดแรงงานในไตรมาส3และ4ของปีซึ่งคือช่วงนี้ อาจส่งผลให้ผู้ที่กำลังหางานทำมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น
อย่างไรก็ตามอัตราการว่างงานในระบบพบมีผู้ว่างงาน 411,155 คนร้อยละ 1.1 เมื่อเทียบกับปี 60 ช่วงเดียวกันที่มีผูั้ว่างงาน 464,973 คนตามระบบถือว่าใกล้เคียง

เมื่อพิจารณาการว่างงานพบว่าสาขาด้านสังคมศาสตร์และการบริหาร อาทิ ศึกษาศาสตร์ ,ธุรกิจและบริหารศาสตร์,วารสารและสารสนเทศ รวมถึงวิศว,คอมพิวเตอร์ มีอัตราว่างงานสูง อาจจะเนื่องจากผลตอบแทน ค่าจ้างไม่เป็นที่ยอมรับของผู้สมัครงานก็ได้ในกรณีสาขาวิศวะ
สำหรับการแก้ปัญหาการว่างงานในระดับปริญญาตรีเพิ่มสูงอย่างต่อเนื่องในรอบ 3-4 ปีนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งศึกษา,แรงงาน ได้เร่งประสานสถานศึกษา พิจารณาการเปิดสาขา วิชา ที่ ตลาดมีความต้องการ หรือสามารถเป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่ๆได้ รวมถึงแนะนำให้เรียนด้านสายเทคนิค, อาชีวะ, วิชาชีพ ที่มีโอกาสในการทำงานสูง และจัดศูนย์บริการหางานทุกพื้นที่
อาจารย์รัตนา (ขอสงวนนามสกุล) นักวิชาการศึกษา ม.ราชภัฎ แห่งหนึ่งกล่าวว่าปัญหาการว่างงาน ในระดับปริญญาตรี สูงมาก มีผลต่อจำนวนนักศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยต่างๆลดลงอย่างมาก จนบางคณะไม่อาจเปิดการสอนได้ หรือต้องยกเลิกไป และการเปิดสาขาเดียวกัน โดยไม่มองถึงความถนัด ศักยภาพที่โดดเด่นเป็นที่ยอมรับของวงการ ทำให้หลายๆคณะที่แห่เปิดสอน พากันตกงานสูง เช่นสายสังคม,สายบริหาร
ความเปลี่ยนแปลงของโลก ที่น่าติดตามคือ การรุกตลาดของมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง เปิดสอนทางออนไลน์กระบวนทัศน์การศึกษาไทยยังไม่หลุดกรอบเดิมๆคือเรียนเพื่อรับปริญญา ไม่เน้นทักษะ เรียนเพื่อรู้ เอาตัวให้รอด ยึดติดค่านิยมดั้งเดิมจนเกิดภาวะแห่สอบ แข่งขัน แย่งหาที่เรียนกันตั้งแต่ระดับอนุบาล หรือตั้งแต่ยังไม่คลอด เป็นปรากฎการณ์ทางสังคมที่ต้องย้ำว่า ยิ่งเรียน ยิ่งไม่รู้การก้าวทันโลก ตกงานกันเป็นจำนวนมาก

ร่วมแสดงความคิดเห็น