ไทยหลุดจากบัญชีดำ 1 ใน 8 ประเทศที่ถูกขึ้นบัญชีดำ ลักลอบค้างาช้างแอฟริกาผิดกฎหมาย

จากเวทีการประชุมคณะกรรมการอนุสัญญาไซเตส ครั้งที่ 17 มีมติให้ประเทศไทยไม่ต้องทำแผนปฏิบัติการงาช้างรายงานต่อไซเตส นายสมเกียรติ สุนทรพิทักษ์กุล ผอ.กองคุ้มครองสัตว์ป่าและพืชป่าตามอนุสัญญา ว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (ไซเตส) กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช พร้อมด้วยตัวแทนประเทศไทยได้เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการอนุสัญ ญาไซเตส ครั้งที่ 17 ที่ เมืองโซชิ ประเทศรัสเซีย ระหว่างวันที่ 1-5 ตุลาคม
พบว่า สำนักเลขาธิการไซเตส มีมติให้ประเทศไทยออกจากแผนปฏิบัติการงาช้าง หรือ NIAP โดยไม่ต้องทำแผนต่อไซเตสแล้ว หลังจากก่อนหน้านี้ประเทศไทยเป็น 1 ใน 8 ชาติ คือ ฟิลลิปินส์ จีน เคนยา แทนซาเนีย อูกันดา เคยถูกขึ้นบัญชีดำประเทศ ที่มีปัญหาลักลอบและเป็นเส้นทางค้างาช้างแอฟริกาผิดกฎหมาย จนเมื่อปี 2560 ประเทศไทยถูกปรับสถานะดีขึ้น เป็นเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด หรือ primary concern
โดย ผอ.กองคุ้มครองสัตว์ป่าและพืชป่า ตามอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (ไซเตส) กล่าวว่า การที่ไทยก้าวพ้นจากการขึ้นบัญชีดำ (แบล็กลิสต์) เนื่องจากตลอดหลายปีที่ผ่านมา รัฐบาลไทยได้ออกมาตรการจัดแผนปฏิบัติการงาช้าง เพื่อป้องกันและปราบปรามการลักลอบนำเข้างาช้างแอฟริกา มายังประเทศไทยอย่างจริงจังและเข้มงวด
ซึ่งแผนดังกล่าวออกกฎหมายงาช้าง พ.ศ. 2558 และการเพิ่มให้ช้างแอฟริกาเพิ่มเติมเพื่อแก้ปัญหา เช่น การเพิ่มให้ช้างแอฟริกา เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 รวมทั้ง ยังปรับปรุง วิธีการ จดทะเบียนตั๋วรูปพรรณ ช้างเลี้ยงของไทย ความเข้มงวดปราบปราม และการค้าระหว่างประเทศ ที่ใช้ไทยเป็นทางผ่าน ทั้งนี้ จากข้อมูลกรมศุลกากรปี 2560 มีรายงานสถิติการเคยจับกุมตรวจยึดงาช้างและผลิตภัณฑ์จากงาช้างไปแล้วกว่า 16,730 ชิ้น น้ำหนักรวม 75 กก. มูลค่ากว่า 7.5 ล้านบาท

ผอ.กองคุ้มครองสัตว์ป่าฯ กล่าวย้ำว่า การประชุมคณะกรรมการอนุสัญญาไซเตส มีความห่วงใยเรื่องการลักลอบค้าหนังช้างในประเทศเพื่อนบ้านของไทย โดยไทยยินดีให้ความร่วมมือป้องกันปราบปราม ไม่ให้มีการนำเข้ามาในประเทศไทย ซึ่งจะขยายการดำเนินการอย่างเข้มข้นกับสัตว์ชนิดอื่นด้วย ขณะเดียวกันไทยยังคงจะคงมาตราการเข้มข้น ป้องกันปราบปรามการลักลอบค้างาช้างและฆ่าช้างต่อไป

ร่วมแสดงความคิดเห็น