ผลผลิตจากยอดดอยเชียงใหม่ สินค้าเกษตรคุณภาพราคาถูก

แม้จะเป็นเมืองท่องเที่ยวยอดนิยม ทำรายได้มากกว่าปีละ 8-9 หมื่นล้านบาทต่อปี โดยภาพรวมของผลิตภัณฑ์มวลรวมทั้งจังหวัดเกือบ 2 แสนล้านบาท รายได้ต่อหัวของประชากรเฉลี่ย 112,874 บาท ในปี 2558 เป็นอัตราเศรษฐกิจที่สะท้อนภาพจังหวัดที่มีการจัดวางตำแหน่งให้เป็นเมืองศูนย์กลางเศรษฐกิจอีกมุม เชียงใหม่ มีสัดส่วนรายได้นอกภาคเกษตรราวๆ67 % ประมาณแสนกว่าล้านส่วนภาคเกษตรจะอยู่ที่ 20 กว่าเปอร์เซ็นต์หรือกว่า 3-4 หมื่นล้านบาท ซึ่งหากเปรียบเทียบกับฐานประชากรเกือบ 1.7 ล้านคน ส่วนหนึ่งอยู่ในภาคการเกษตร มีการประกอบอาชีพ ทำสวน ทำไร่ ทำนา จึงยังก้าวไม่พ้นคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ตามมาตรฐาน

แม้ว่าพื้นที่ซึ่งเชียงใหม่มีทั้งหมดกว่า 12 ล้านไร่ มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,100-1,200 มม. สภาพภูมิอากาศทั่วไป 24-25 องศา มีความอุดมสมบูรณ์ของผืนดิน ที่กอร์ปด้วยลุ่มน้ำปิง ลำน้ำสาขาต่างๆทั้งน้ำฝาง,แม่งัด,แม่กวง หล่อเลี้ยง สร้างความบริบูรณ์ในน้ำท่า เพื่อ การเกษตรหลายๆแหล่งผลิต
โดยพื้นที่ปลูกข้าวนาปี 4 แสนกว่าไร่ กระจายใน 25 อำเภอ และนาปรัง 7-8 หมื่นไร่ อีกส่วนจะเป็นพื้นที่ไม้ผล พืชเศรษฐกิจ ประเภท ลำไย ลิ้นจี่ มะม่วง รวมๆแล้วประมาณ 4-5 แสนไร่ ไม่นับรวมพืชตามฤดูกาลทั้ง กระเทียม 2 หมื่นกว่าไร่ หอมแดง 7-8 พันไร่และหอมหัวใหญ่ 7-8 พันไร่ ในแต่ละฤดูกาล
นอกจากนั้นยังมีการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ เลี้ยงสัตว์ ตามระบบ เกษตรพันธะสัญญา ทั้งข้าวโพดเลี้ยงสัตว์,ข้าวโพดหวาน, โคเนื้อ,โคนม,ปลา ,สุกร ตลอดจนโครงการส่งเสริมพื้นที่เพาะปลูกตามภูมิสังคม ในพื้นที่สูง ด้วยนวัตกรรม ค้นคว้าวิจัย ส่งเสริมการปลูกพืชผลเมืองหนาว ที่มีมูลค่าสูง เป็นที่ต้องการของตลาด อาทิ อะโวคาโด,สตรอเบอร์รี่,กาแฟ,ชา,องุ่น , ผักสลัด,ผักปลอดสาร, การเลี้ยงปลาเฉพาะกลุ่มตลาด เพื่อส่งจำหน่ายตามร้านอาหารระดับมิชลิน ที่คนมีระดับเท่านั้นจึงสามารถซื้อหามารับประทาน อาหาร ผลผลิตเกรดพรีเมี่ยมได้
คุณภาพชีวิตของชาวบ้าน ในกลุ่มเกษตรกรเหล่านั้น ยังต้องดิ้นรน เพื่่อความอยู่รอด ด้วยการนำสินค้า ผลผลิตคุณภาพจากยอดดอย พื้นที่สูง ถิ่นทุรกันดาร ออกมาเร่ขาย จำหน่ายปลีก-ส่ง ตามแหล่งรวบรวมผลผลิตเพื่อการส่งออก ส่งขายในประเทศ และตลาดชุมชน ตลาดสดในแหล่งผลิต รวมถึงจำหน่ายตามพื้นที่เฉพาะฤดูกาล ในรายทางท่องเที่ยว ใกล้เคียงแหล่งผลิต ซึ่งปัญหาเหล่านี้ ภาครัฐฯ พยายามแก้ไขด้วยกลไก วิเคราะห์ ตลาดผลผลิต ไม่ส่งเสริม สนับสนุน ให้แห่ปลูกในบางกลุ่มพืชผลผักผไม้ ที่่อาจก่อปัญหาราคาตกต่ำ
ปีหน้ามีการจัดงบพัฒนาเส้นทาง ถนนในชุมชนเพื่ออำนวยความสดวกชาวบ้าน เกษตรกร ในการนำผลผลิตมาจำหน่าย มาส่งแหล่งรับซื้อเป็นเวลายาวนานที่วงจรเหล่านี้ยังคงหมุนเวียนไปตามฤดูกาล

อย่างไรก็ตาม “ผลผลิตจากยอดดอยแหล่งปลูกต่างๆในเชียงใหม่ “ล้วนขึ้นกับกลไก การตลาด ที่ไม่สามารถกำหนดราคาได้ตามฤดูกาล บางปีราคาดี มีกำไร แต่บางปี ขาดทุน ต้องแบกรับหนี้ ผลผลิตในฤดูหนาว กับ ฤดูกาลท่องเที่ยวปีนี้ที่เชียงใหม่ ร่วมเป็นแรงใจ ร่วมซื้อ สนับสนุน ผลผลิตคุณภาพของเกษตรกร เชียงใม่ ทุกแหล่งผลิตร่วมกัน

(ขอบคุณ : ภาพบางส่วนจากเกษตรที่สูง และอุทยานหลวงฯเชียงใหม่ )

ร่วมแสดงความคิดเห็น