นกเค้าเหยี่ยว : Brown Hawk-owl

ต้นไม้น้อยใหญ่มากมาย ผลัดใบและแตกใบอ่อนสีเขียวสดภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่รอบบริเวณศาลาธรรม เป็นอาคาร 2 ชั้น ทรงไทยสีแดง เด่นตั้งอยู่ด้านหน้ามหาวิทยาลัย เป็นสถานที่เปลี่ยนฉลองพระองค์ และประทับพักพระอิริยาบถของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯและพระบรมวงศานุวงศ์ในคราวเสด็จพระราชดำเนินมาพระราชทานปริญญาบัตร ซึ่งเหล่าคณาจารย์ ข้าราชการ และนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ก็จะมาเฝ้ารอรับเสด็จ ณ สถานที่แห่งนี้ ที่ยังเป็นศูนย์รวมจิตใจจิตศรัทธาของลูกช้างมช.แล้ว ยังเป็นที่พักพิงให้เป็นนกที่ได้เข้ามาแวะพักที่ต้นไม้รอบศาลาธรรมอีกด้วยอย่าง “นกเค้าเหยี่ยว” ที่เรากำลังจะทำความรู้จักกันในฉบับนี้นกเค้าเหยี่ยว ภาษาอังกฤษ Brown Hawk-owl ชื่อวิทยาศาสตร์ Ninoxscutulata ในภาษาญี่ปุ่น เรียกว่า“Aobazuku”เป็นนกเค้าแมวชนิดหนึ่งที่มีขนาดใหญ่ มีลักษณะคล้ายกับ นกเหยี่ยว หรือ อินทรี ตัวผู้กับตัวเมีย สีสันเหมือนกัน หัวกลมสีน้ำตาลเข้ม มีลักษณะที่โดดเด่นคือ มีดวงตาสีเหลืองทอง ตอนกลางวันจะนอนหลับพักผ่อนบนต้นไม้
นกเค้าเหยี่ยว นกนักล่าในประเทศไทยเรามี 2 ชนิด คือ 1)Brown Boobook อาศัยอยู่ตลอดปีทำรังไข่ในประเทศไทย 2) Northern Boobook(Hawk-Owl) เป็นนกอพยพเข้าในฤดูหนาว จากภูมิภาคเอเชียตะวันออก อาทิ จีน เกาหลี และ ญี่ปุ่น
“ โฮทโฮท…โฮทโฮท…โฮทโฮท…โฮทโฮท” การส่งเสียงร้องเป็นสัญญาณบอกอาณาเขตพื้นที่ออกหากิน เป็นนกนักล่าเหยื่อในเวลากลางคืน ลักษณะการบินจะคล้ายเหยี่ยวนกเขา ตัวผู้และตัวเมีย อาหารจะเป็น แมลงต่างๆ และสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็กเป็นอาหาร อาศัยอยู่ในสวนสาธารณะ ป่าละเมาะและป่าดิบในช่วงฤดูผสมพันธ์จะอยู่ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึง เดือนมิถุนายน จะทำรังตามช่องว่างของอาคารสิ่งปลูกสร้าง หรือ ต้นไม้ใหญ่ วางไข่ทีละ 2-5 ฟอง ตัวเมียกกไข่ ส่วนตัวผู้ทำหน้าที่รักษาความปลอดภัย และหาอาหาร พอเข้าสู่ฤดูหนาวจะหลบความหนาวมาทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ “บริเวณศาลาธรรมที่ได้มอบความร่มรื่นร่มเย็นให้แก่สัพสัตว์น้อยใหญ่ที่ได้เข้ามาอาศัยพักพิง”
ขอขอบคุณ อ.จรัลศักดิ์ ลอยมี
ข้อมูล: http://www.takao599museum.jp/treasures/selected/908/?lang=th /https://www.gotoknow.org/posts/422254/ http://www.takao599museum.jp/treasures/selected/908/?lang=th

ร่วมแสดงความคิดเห็น