นกเขนเทาหางแดง : Plumbeous Redstart

แอ่งน้ำใสของน้ำตกแม่กำปอง บนก้อนหินปกคลุมไปด้วยพืชสีเขียวของพืชตระกูลมอส มีนกตัวเล็กๆอ้วนกลมเกาะกระเต้นคลี่แผ่นหางเริงร่าไปมา ที่เราจะมาทำความรู้จักกับ “นกเขนเทาหางแดง” นกที่มีวิถีผูกพันกันสายน้ำเช่นกันนกเขนทุกชนิดล้วนเป็นนกขี้ระแวง พร้อมจะบินหนีไปในทันทีที่เห็นคน โดยส่วนใหญ่แล้วเราจึงมักได้ยินเสียงร้องของเค้าในขณะบินหนีมากกว่า ที่เห็นตัวกันแบบเต็มตัว ที่มีความระแวงน้อยกว่า นกเขนเทาหางแดง (Plumbeous Water Redstart) นกทั้งสองเพศมีสีสันต่างกันอย่างสุดขั้ว จนแทบนับญาติกันไม่ถูกได้เลยทีเดียว ตัวผู้มีสีเทาอมน้ำเงินทั่วทั้งลำตัว หางสีน้ำตาลแดง ตัวเมียและตัวผู้วัยเด็กมีลำตัวด้านบนสีน้ำตาลอมเทา ด้านล่างของลำตัวสีอ่อนกว่าด้านบนและมีลายเกล็ดสีขาว มีแต้มสีน้ำตาลอ่อนที่ปีกดูคล้ายแถบปีกสองแถบ ตะโพกและขอบหางคู่นอกเป็นสีขาว

นกเขนเทาหางแดง เป็นทั้งนกประจำถิ่น และเป็นนกอพยพนอกฤดูผสมพันธุ์ ที่พบได้บ่อยตามน้ำตกและลำธารบนภาคเหนือ ตั้งแต่ระดับความสูง 300-2,285 เมตรจากน้ำทะเล พบได้ในแถบเทือกเขาหิมาลัยทุกประเทศ อาจเรียกได้ว่าตลอดชีวิตมันไม่เคยห่างจากน้ำเลย ตั้งแต่ออกจากไข่จนกระทั่งยามอพยพในฤดูหนาว ก็ยังบินลงมาหากินตามลำธารในระดับความสูงที่ต่ำลงมา ใครแวะไปเที่ยวน้ำตกตามภาคเหนือ ลองมองหานกชนิดนี้

นกเขนเทาหางแดง เนื่องจากรูปร่างหน้าตาตัวอ้วนกลมกะปุ๊กลุ๊กที่น่ารักน่าเอ็นดู เป็นนกขนาดเล็ก (14 ซม.) ตัวผู้สีน้ำเงินแกมเทาหาง และ ขนคลุมหางสีน้ำตาลแดง ตัวเมียด้านล่างลำตัว สีออกขาวมีลายสีเทาด้านบนสีเทาแกมน้ำเงินเข้มหางสีดำ ขนคลุมโคนหางด้านบนสีขาวโคนของขนหางคู่นอกสีขาว ตัวไม่เต็มวัยด้านบนลำตัว คอหอย และอกสีน้ำตาล มีลายจุดสีเหลืองท้องสีขาวหางลักษณะเหมือตัวเมีย

อุปนิสัยชอบกระดกและคลี่แผ่นหางของนกชนิดนี้ ทำให้พวกมันยิ่งแลดูน่าเอ็นดู โดยเฉพาะยามตกใจ ซึ่งมันจะกระดกและคลี่แผ่นหางถี่ขึ้น ทำให้เห็นเป็นแถบสีขาวกระพริบๆ ในที่ตัวเมียจะสังเกตเห็นได้แม้อยู่ไกล คล้ายเป็นการส่งสัญญาณบอกศัตรูว่ามันจะไม่ยอมให้เข้าใกล้มากกว่านี้ บ่อยครั้งพบนกเขนเทาหางแดงหากินอยู่ใกล้ๆนกกางเขนน้ำ นกเด้าลมหลังเทา (Grey Wagtail) และญาติสนิทสีสันจัดจ้านอย่างนกเขนหัวขาวท้ายแดง (White-capped Water Redstart) คงเป็นเพราะต่างฝ่ายต่างเอื้อเฟื้อประโยชน์ให้ซึ่งกันและกัน

ช่วงการจับคู่ผสมพันธุ์นั้น จะอยู่ในช่วงฤดูร้อน และฤดูฝน ระหว่างเดือนเมษายน-มิถุนายน รังเป็นรูปถ้วย ประกอบด้วยมอสส์ หญ้าและใบไม้แห้ง รองพื้นด้วยรากฝอยอีกชั้นหนึ่ง รังอยู่ในซอกหิน โพรงดินตามฝั่งลำธาร โพรงไม้ หรือตอไม้ที่ไม่ห่างจากลำธารนัก แต่ละรังมีไข่ 3 – 6 ฟอง ปกติ 4 ฟอง ไข่สีเขียวแกมเทาซีด มีลายสีน้ำตาลแกมแดงโดยเฉพาะรอบไข่ด้านป้าน ขนาดโดยเฉลี่ย 4.6 x 19.8 มิลลิเมตร ทั้งสองเพศช่วยกันทำรัง และเลี้ยงดูลูกอ่อนแต่ตัวเมียเท่านั้นที่ฟักไข่ นกชนิดนี้มีการวางไข่ปีละ 2 ครั้ง ในรังเดิม หรืออาจเป็นนกคู่ใหม่มาวางไข่ในรังนกคู่อื่น เชื่อว่าด้วยความน่ารักน่าของนกเขนเทาหางแดง คงจะอยู่ในใจของนกดูนกกันทุกคนเช่นเดียวกับผมเช่นกัน

น้ำ…ที่ยังคุณค่าแก่ถูกสรรพชีวิต เราเองควรใส่ใจตระหนักยังคุณค่าของน้ำ และช่วยกันประหยัดการใช้น้ำด้วยนะครับ

ขอขอบคุณ/http://www.oknation.net/blog/plains-wanderer/2010/12/26/entry-1, http://www.dnp.go.th/

ร่วมแสดงความคิดเห็น