เข้าประตูท้ายเวียง แอ่วกาดประตูเชียงใหม่

ในการตามค้นหาเรื่องราวในอดีตบ้างครั้งก็ยากที่จะค้นหา จากข้อมูลหลักฐานต่างๆ ที่นำมาประติดประต่อ และการสอบถามพ่อค้าแม่ค้าที่ขายของในตลาดประตูเชียงใหม่เมื่อครั้งในอดีตของแต่ละคนที่ได้มาเริ่มต้นขายของกันในตลาด
ประตูท้ายเวียง หรือที่คนเมืองเรียกว่า ปะตู๋เจียงเชียงใหม่ หรือประตูเชียงใหม่ เป็นประตูใน 5 ประตูเมืองชั้นใน ของเมืองเชียงใหม่ ที่ตั้งอยู่ทางด้านใต้ สร้างในรัชสมัยพญามังราย เมื่อแรกตั้งเมืองเชียงใหม่ พ.ศ. 1839 เดิมใช้เป็นเส้นทางไปสู่เมืองสำพูน ประตูนี้บูรณะขึ้นใหม่สมัยพระเจ้ากาวิละประมาณ พ.ศ. 2344 และสร้างขึ้นใหม่อีกครั้งระหว่าง พ.ศ. 2509 – 2512 ในบริเวณพื้นนี่เองยังเป็นที่ตั้งของ ตลาดประตูเชียงใหม่ตลาดประตูเชียงใหม่ มีขนาดพื้นที่ 4.140 ตารางเมตร พื้นที่เป็นรูปตัวยู ตัวอาคารของตลาดด้านหน้าประดับตกแต่งด้วย กาแล แกะสลักด้วยลวดลายงดงาม เป็นส่วนที่ต่อจากปลายบนของปั้นลมเหนือจั่ว ภายในตลาดประตูเชียงใหม่ ได้แบ่งพื้นที่สัดส่วนเป็นหมวดเป็นหมู่ในการขายภายในตลาดโซนต่างๆ โซน A-B เป็นข้าวของแห้ง โซน C- ของทอด อาหารสำเร็จรูปของฝาก โซน D-พืชผัก E-เขียงหมู ไก่ ปลา โซนห้องแถว และตึกอาคารพานิชย์
เวลาก่อนฟ้าสว่างช่วงเวลาที่ พ่อค้า แม่ค้า ที่เริ่มทยอยนำข้าวของต่างๆมาจัดเตรียมจัดวางแผลงขายของกัน พอเริ่มฟ้าสว่างผู้คนเริ่มมาจับจ่ายเป็นช่วงเวลาที่ อย่างคึกคักโซนอาหารสำเร็จจะเนืองแน่นไปด้วยผู้คนมาเลือกซื้ออาหารที่ขึ้นชื่อของกาดมีหลายร้าน อาทิ ร้านน้อยยำหนัง ร้านขายอาหารพื้นเมืองที่ยังคงเอกลักษณ์ห่อใบตอง ความอร่อยก็บอกว่าต้องยกนิ้วให้ ลูกค้าต้องรอคิวใจเย็นกันนิด ถัดมาเป็นร้านขายไส้อั่ว แหนม หมูทอด น้ำพริกหนุ่ม แคบหมู ซี่โครงทอดที่ติดๆกันเลย ร้านไส้อั่วป้าคำ(บุญศรีเจ้าเก่าตลาดวโรรส) ร้านไส้อั่วย่างช่อเอี้อง(สูตรโบราณ) และร้านศรีพันธ์(แหนมหม้อป้าย่น) ที่ร้านอยู่ติดๆเรียงกันเลยรสชาติความอร่อยที่ไม่แตกต่างกันมากนัก ให้ลูกค้าได้เลือกซื้อกันตามใจชอบกันเลย
ร้านวรรณดี ร้านขายลาบหมูของ ป้าวรรณดี คำหอม ขายอยู่ตลาดมานานกว่า 20 ปี ป้าจะใส่ลาบในกาลามังหลวงคือกาลามังใบขนาดใหญ่ ขายวันต่อวันประมาณวันละ 30 กิโล เดินขึ้นมาที่ชั้นบน และชั้นล่างของอาคาร จะเป็นโซนขายพืชผักนานาชนิด ใหม่สดกันทุกวัน เดินมาทางด้านหลังตลาดภายในซอยสองฝั่งมีวางของขายให้บรรยายกาศย้อนยุค มีบริการรับฝากรถอีกด้วย
ในซอกเล็กๆมี ร้านขนมไข่ (ประตูเชียงใหม่)ของ คุณลุงสมปอง จันครุฑ อายุ 63 ปีกำลังขมักเม่นอยู่กับการบรรจุลงถุง คุณลุงสมปองเล่าว่า ได้ไปร่ำเรียนมาจากทางภาคกลาง จังหวัดสมุทรปราการ ขนมไข่ที่ร้านทำใหม่สดกันทุกวัน ส่วนผสมหลักๆเป็นไข่เป็ด น้ำตาลทราย แป้งสาลี น้ำเปล่าตีผสมเข้าด้วยกันหยอดลงในแบบทองเหลืองที่เตรียมไว้ นำไปอบในเตาอบโดยใช้อุณหภูมิประมาณราวๆ 180 องศาเซลเซียส อบประมาณ 20-25 นาที จึงนำออกมาจากเตาก็จะได้ขนมไข่เหลืองสดน่าทาน
เดินออกมาลานหน้าตลาดจะเห็น ร้านกาแฟโบราณ ของป้าเล็ก หรือ สุภาพรรณ ทศฤทธิ์ อายุ 59 ปี ได้ร่วมสภากาแฟสนทนาตลาดประตูเชียงใหม่พร้อมกับดื่มกาแฟโบราณ ที่ยังใช้การชงแบบถุงชง ป้าเล็กขายกาแฟมานานตั้งแต่ สมัยแก้วละ 50 สตางค์ เมื่อครั้งที่หน้ากาดยังมีต้นยางใหญ่ 4 ต้นสมัยนั้นบริเวณลานนี้ยังเป็นคูเมืองอยู่เลย พอแดดเริ่มแรงเวลาผ่านไป 10 โมงพ่อค้าแม่ค้าในตลาดก็เริ่มวาย ความเงียบสบงเข้ากลับสู่ที่ตลาดกันอีกครั้ง นี่เป็นเสน่ห์สีสันของตลาดที่เราจะสัมผัสได้…ตลาดประตูเชียงใหม่

ร่วมแสดงความคิดเห็น