ลดวิกฤติขยะชุมชนเมือง เชียงใหม่เร่งแผนฯยั่งยืน

ปริมาณขยะที่เกิดขึ้นในแต่ละวันตามเมืองใหญ่ๆที่มีอัตราความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคมและภาคการท่องเที่ยวสูงนั้นต้องยอมรับข้อเท็จจริงอีกมุมว่า เป็นปัญหาที่หมักหมมมานาน ตราบใดที่อัตราการสร้างขยะครัวเรือนยังอยู่ค่าเฉลี่ย 1.5 กก./คน/วัน การจัดการตามมาตรฐานส่วนใหญ่ในแต่ละพื้นที่ มีความแตกต่างด้านต้นทุนงบ และจำนวนขยะ ย่อมส่งผลต่อปริมาณขยะที่สูงถึง28-29 ล้านตันต่อปี เฉพาะเชียงใหม่ราวๆเดือนละ 2-3 พันตัน
ส่วนหนึ่งสามารถนำไปเป็นวัตถุดิบ ป้อนโรงงานผลิตไฟฟ้าพลังงานขยะของเอกชน ที่ อ.ฮอดได้ ด้วยการรับซื้อขยะจากเขตเมืองและพื้นที่ใกล้เคียง ในขณะที่แนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนตามแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยขอไทย (พศ.2559-64)
โครงการหลักๆคือมุ่งสร้างศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยเพื่อโรงไฟฟ้าขยะ 54 กลุ่มพื้นที่ ใน 44 จังหวัด ทลายภูเขาขยะ 324 ลูกทั่วประเทศ ในพื้นที่ อปท. 7,852 แห่งให้ได้ตามแผน จัดการขยะตกค้าง เพราะหากเพิกเฉยจะส่งผลต่อระบบสิ่งแวดล้อม เนื่องจากกองขยะเหล่านั้น ไม่มีการคัดแยก เกิดการเน่า จนส่งกลิ่นกระทบชุมชน ใกล้เคียงได้ และอปท.ในพื้นที่รับผิดชอบ มีศักยภาพแก้ปัญหา เมื่อเกิดการร้องเรียนแต่ละครั้งเท่านั้น
การขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ กำจัดขยะเพื่อผลิตไฟฟ้าของ ก.มหาดไทย โดย อปท. ที่ผ่านมามีการจัดตั้งคณะทำงาน 6 คณะ และรวมกลุ่มพื้นที่จัดการมูลฝอยของ อปท. แล้ว 324 กลุ่ม ประกอบด้วยกลุ่มขนาดใหญ่ (L) ปริมาณขยะมากกว่า 500 ตัน/วัน 10 กลุ่ม
กลุ่มขนาดกลาง (M) ปริมาณขยะ 300-500 ตัน/วัน 11 กลุ่ม และกลุ่มขนาดเล็ก (S) ขยะน้อยกว่า 300 ตัน/วัน 303 กลุ่ม ปัญหาอุปสรรคใหญ่คือสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย ถูกต่อต้าน เพราะไม่มีชุมชนใดต้องการรับบท “พื้นที่รองรับปัญหาขยะ” ทำให้มีงบค้างกว่า 2,577 ล้านบาท
ก่อนหน้านั้นมีความพยายามปรับระบบจัดการขยะที่กระจัดกระจายมารวมศูนย์ที่มหาดไทย พร้อมวางงบตามแผนแม่บทฯ ประมาณ178,600 ล้านบาทไว้รองรับ แบ่งเป็นงบของรัฐ 94,600 ล้านบาท และการลงทุนจากเอกชนอีก 84,000 ล้านบาท
สำหรับเชียงใหม่มีความพร้อมหลายๆด้าน ในการจัดการขยะชุมชนเมือง เพื่อแปรรูปเป็นพลังงาน จัดการขยะที่นับวันจะเพิ่มสูงต่อเนื่อง แม้จะมีมาตรการรณรงค์ ส่งเสริมตามหลักการพื้นฐานง่ายๆคือ ลดขยะ ใช้ซ้ำ นำกลับมาใช้ใหม่แล้วก็ตาม
เช่น โครงการปลอดขยะโฟม ,ลดขวดพลาสติก, ใช้ถุงผ้า หิ้วปิ่นโตไปบรรจุอาหาร ข้าว ในแต่ละมื้อ เลือกนำร่องในหน่วยงานราชการ และขอความร่วมมือ อปท. 211 แห่งขยายผลสู่บ้าน, วัด,โรงเรียน
ท้ายที่สุด บ่อขยะเก่าที่มี ทั้งที่จัดการถูกต้องและไม่ถูกต้องกว่า 146 แห่ง งบดำเนินการแต่ละอปท. ในปีงบต่างๆมหาศาลก็ทำได้ในระดับหนึ่ง ไม่เป็นไปตามเป้าประสงค์ “สิ่งแวดล้อมดี ไม่มีขาย อยากได้ชาวเชียงใหม่ต้องร่วมสร้าง ลดขยะได้ถ้าทุกคน ร่วมมือ ร่วมใจกัน”

ร่วมแสดงความคิดเห็น