กว๊านพะเยา แหล่งน้ำที่เปรียบได้ดั่งสายโลหิต สายสำคัญที่หล่อเลี้ยงชีวิตคนพะเยา

กว๊านพะเยาแห่งนี้ เป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ที่สุดของ จ.พะเยา มีพื้นที่กว่า 12,831ไร่ คำว่า “กว๊าน” ในท้องถิ่นล้านนาของ จ.พะเยา หมายถึง หนองน้ำ หรือ บึงขนาดใหญ่ ปัจจุบันเป็นแหล่งน้ำดิบที่สำคัญ ใช้ผลิตน้ำประปาเพื่ออุปโภค-บริโภค เป็นแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร แหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ และประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน ทั้งชุมชนรอบกว๊านพะเยา และชุมชนท้ายกว๊านพะเยา ในช่วงฤดูแล้ง ประมาณ 30,000 ไร่ ภาพรวมของปัญหาที่เกิดขึ้น ที่ภาครัฐต้องเร่งดำเนินการแก้ไข คือ ปัญหาสภาพตื้นเขินที่เกิดจากการสะสมของตะกอนดินจากลำน้ำสาขาสายต่างๆ และการแพร่กระจายของวัชพืช ผักตบชวา ผนวกกับคุณภาพน้ำที่เสื่อมโทรม ปัญหาการลดลงของปริมาณสัตว์น้ำ ปลาหลากหลายชนิดมีปริมาณน้อยลง และชาวบ้านเกษตรกรในพื้นที่เดือดร้อน จากน้ำที่ไม่เพียงพอสำหรับการผลิตน้ำประปา และเพื่อการเกษตรในช่วงฤดูแล้งกว๊านพะเยา จ.พะเยา เป็น 1 ใน 4 บึงขนาดใหญ่ของประเทศ ที่รัฐบาลเห็นชอบโครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ รวมทั้งบึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์ บึงสีไฟ จ.พิจิตร และหนองหาร จ.สกลนคร กว๊านพะเยา สามารถกักเก็บน้ำได้ประมาณ 33 ล้าน ลบ.ม. บางปีในช่วงฤดูแล้ง มีน้ำเหลือกักเก็บไว้เพียง 9 ล้านลบ.ม. ขณะที่ช่วงฤดูน้ำมีปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยปีละ 330 ล้าน ลบ.ม. เลยทีเดียว และเป็นที่มาของการสร้างฝายพับได้ ที่ประตูระบายน้ำกว๊านพะเยา
ฝายพับได้ เป็นนวัตกรรมในการกักเก็บน้ำ คือ การยกระดับประตูระบายน้ำให้เพิ่มขึ้น และทำให้การกักเก็บน้ำได้เพิ่มขึ้นด้วย เช่น ฝายพับน้ำกว๊านพะเยา ยกประตูฝายเพียง 1 เมตร สามารถเพิ่มปริมาณกักเก็บเพิ่มขึ้นอีก 22 ล้าน ลบ.ม. สำรองใช้ในช่วงฤดูแล้งตลอดทั้งปี

ร่วมแสดงความคิดเห็น