นกปรอดภูเขา : Mountain Bulbul

มีโอกาสเดินทางมาที่ทำการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว ที่ยืนเอกสารขึ้นดอยหลวงเชียงดาว ไม่พลาดที่จะดูนกรอบๆที่ทำการ เช้านี้พบนกสีน้ำเข้มเกาะกิ่งรายล้อมโดยไม้น้อยใหญ่ กำลังส่งเสียงร้องนั่นคือ “นกปรอดภูเขา “ “เจี๊ยบ-เจี๊ยบ” หรือ “จี๊ป-จี๊ป” แหลมคล้ายลูกเจี๊ยบ เสียงร้องนกปรอดภูเขา
นกปรอดภูเขา ชื่ออังกฤษ Mountain Bulbul, Green-winged Bulbul ชื่อวิทยาศาสตร์ Ixos mcclellandii (Horsfield, 1840)วงศ์ (Family) Pycnonotidae (วงศ์นกปรอด)อันดับ (Order) Passeriformes (อันดับนกเกาะคอน)
นกปรอดภูเขา ชนิดนี้พบมากตามป่าดิบเขาทั่วทุกภาคในไทย มีขอบเขตการแพร่กระจายครอบคลุมถึงอนุทวีปอินเดีย จีนตอนใต้ และแผ่นดินใหญ่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สีสันของนกปรอดภูเขานั้นแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ ทุกชนิดย่อยมีหงอนฟูสั้นๆ คอสีขาว ใบหน้าสีเทา ม่านตาสีแดงเข้ม หัวและอกมีลายขีดจางๆ ปีกและหางสีเหลืองอมเขียว
ถิ่นอาศัยในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ป่าดิบ ชายป่า ความสูง 800 เมตร ขึ้นไป ประเทศไทยพบ 4 ชนิดย่อย ซึ่งชนิดย่อยที่พบในภาคเหนือตอนล่างพบได้ 2 ชนิดย่อย คือ I.m.tickelli พบในภาคเหนือด้านตะวันตกและภาคตะวันตก และ I.m.loquax พบในภาคเหนือด้านตะวันออก และบริเวณ จังหวัดเลย
นกทางภาคเหนือมีหัว และอกสีน้ำตาลอมส้ม นกทางใต้และภาคตะวันออกนั้นมีสีอมเทามากกว่าอย่างเห็นได้ชัด ส่วนนกในแถบอีสานมีหลังสีเทา ไม่ใช่สีเหลืองอมเขียวโทนเดียวกับปีกแบบประชากรส่วนใหญ่ นกทางภาคเหนือตอนบนในบางพื้นที่ก็มีหลังสีเขียวอมเทา ดูก้ำกึ่งระหว่างประชากรตะวันตกและอีสานอีกด้วย แม้จะเป็นนกที่พบเห็นได้ง่าย
เรื่อง และ ภาพ: ทับทิม มั่นมาก

ร่วมแสดงความคิดเห็น