“ตานก๋วยสลาก” ประเพณีสำคัญของชาวล้านนาที่สืบทอดกันมาสมัยพุทธกาล

งานตานก๋วยสลากประจำปี จัดขึ้น ณ วัดบ้านดอนแก้ว ต.ร่องเคาะ อ.วังเหนือ จ.ลำปาง โดยปีนี้ทางวัดดอนแก้วได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ที่ผ่านมา งานตานก๋วยสลากเป็นประเพณีที่มีมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาลได้มีการปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงรุ่นคุณปู่-ย่า/ตา-ยาย/พ่อ-แม่ และลูกหลานในปัจจุบัน เรื่องมีอยู่ว่ามีนางยักษิณีตนหนึ่งมักจะเบียดเบียน ผู้คนอยู่เสมอ ครั้นได้ฟังธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว นางก็บังเกิดความเลื่อมใสศรัทธานิสัยใจคอที่โหดร้ายก็กลับเป็นผู้เอื้ออารีแก่คนทั่วไปจนผู้คนต่างพากันซาบซึ้งในมิตรไมตรีของนางยักษิณีตนนั้น ถึงกับนำสิ่งของมาแบ่งปันให้ แต่เนื่องจากสิ่งของที่ได้รับมีจำนวนมาก นางยักษิณีจึงนำสิ่งของเหล่านั้นมาทำเป็นสลากภัต แล้วให้พระสงฆ์/สามเณร จับสลากด้วยหลักอุปโลกนกรรม คือสิ่งของที่ถวาย มีทั้งของของมีราคามากและมีราคาน้อยแตกต่างกันไปตามแต่โชคของผู้ได้รับ การถวายแบบจับสลากของนางยักษิณีจึงนับเป็นครั้งแรกของประเพณีทำบุญสลากภัตในพุทธศาสนา

"ตานก๋วยสลาก" ประเพณีสำคัญของชาวล้านนา

"ตานก๋วยสลาก" ประเพณีสำคัญของชาวล้านนาที่สืบทอดกันมาสมัยพุทธกาล เยาวชนรุ่นหลังควรดูเเละศึกษาไว้โตยเจ้า อ่านต่อคลิกเลย www.chiangmainews.co.th/page/archives/832379

Gepostet von เชียงใหม่นิวส์ Chiang Mai News am Mittwoch, 31. Oktober 2018

ตานก๋วยสลาก ล้วนแล้วแต่เป็นภาษาของชาวถิ่นล้านนา ที่มักมีการเรียกขานแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น ถ้าเป็นภาษาไทยกลางเรียกว่า “สลากภัต” ประเพณี “ตานก๋วยสลาก” หรือ “สลากภัต” ของชาวล้านนานิยมปฏิบัติกันตั้งแต่เดือน ๑๒ เหนือถึงเดือนยี่เหนือหรือตั้งแต่เดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคมของทุกปี สาเหตุที่ถือปฏิบัติกันเช่นนี้ก็เพราะว่า เป็นช่วงที่ชาวบ้านได้ทำนากันเสร็จแล้ว หยุดพักผ่อน พระสงฆ์ก็จำพรรษาอยู่วัดไม่ได้ไปไหนและบวกกับในช่วงเวลานี้ก็มีผลไม้สุก เช่น ลำไย มะไฟ สมโอ เป็นต้นเมื่อต้นข้าวในนาเริ่มเขียวขจีชาวนาที่มีฐานะไม่ค่อยดีการดำรงชีวิตก็เริ่มขัดสนเมื่อข้าวในยุ้งก็หมดก่อนฤดูกาลเก็บเกี่ยวจะมาถึง ดังนั้นการตานก๋วยสลากในช่วงนี้จึงเท่ากับว่าได้สงเคราะห์คนยากคนจนเป็นสังฆทานได้กุศลแรง
ในอดีตก่อนงานจะจัดขึ้นคนเฒ่าคนแก่จะมีการจัดสานตะกร้าที่ทำขึ้นด้วยไม้ไผ่ เพื่อที่จะนำไปให้ลูกหลานได้ใช้เป็นก๋วยบรรจุเครื่องสำรับถวายพระในวันงาน แต่ปัจจุบัน ได้กลายเป็นตะกร้าพลาสติกต่างๆแทน เพราะเทคนิคการจัดสานตะกร้าได้เริ่มจางหายไปตามกาลเวลา แต่ในบางท้องถิ่นก็ยังมีให้เห็นอยู่ ก็อยากให้รักษาขนบธรรมเนียมพวกนี้ไว้ เพราะว่าสิ่งเหล่านี้ ล้วนแผงไปด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นล้านนาเอาไว้ ก็อยากให้ลูกหลานรุ่นหลังๆสืบทอดประเพณีอันดีงามนี้ไว้ รุ่นสืบรุ่น ก่อนที่จะจางหายไปกับกาลเวลา
อย่างปีนี้ทางเจ้าภาพวัดดอนแก้วได้นิมนเวลาพระภิกษุสงฆ์มา 51 วัด รวมกันแล้ว 173 รูป เพื่อที่จะให้ชาวบ้านในพื้นที่ในระแวกได้ทำบุญสืบทอดประเพณีที่สวยงาม และได้ผลตอบรับเป็นอย่างดี

ร่วมแสดงความคิดเห็น