ซุ้มประตูป่า ความเชื่อของชาวล้านนา งานประเพณียี่เป็ง

เทศกาลประเพณียี่เป็ง ใกล้เข้ามาแล้ว ซึ่งปีนี้ตรงกับวันที่ 22 พ.ย.2561 นอกจากจะมีประ เพณีลอยกระทงที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาช้านานแล้ว ชาวล้านนายังนิยมทำซุ้มประตูป่าที่หน้าบ้าน อีกทั้งยังมีการแข่งขันประกวดทำซุ้มประตูป่าในแต่ละหมู่บ้านอีกด้วย ซุ้มประตูป่า หมายถึงปากทางที่จะเข้าสู่ป่า ซึ่งมักจะปรากฏอยู่เป็นเสา ตั้งอยู่ที่ชายหมู่บ้าน ขนาบทางเดินที่จะเข้าป่า ซึ่งมักจะเป็นส่วนประดับอยู่ระหว่างเสาทั้งคู่ ใช้เป็นบริเวณที่ประกอบพิธีกรรมสำหรับหมู่บ้าน ในงานบุญยี่เป็งนอกจากจะมีการปฏิบัติธรรมฟังเทศน์มหาชาติ ตามวัดวาอารามต่างๆ แล้ว ยังมีการประดับตกแต่งวัดบ้านเรือนและถนนหนทาง ก่อนจะถึงวันยี่เป็ง ประมาณ 1-2 วัน

ชาวล้านนาจะเตรียมจัดตกแต่งประตูบ้านและประตูวัด ด้วยซุ้มประตูป่า โดยนำต้นกล้วย ต้นอ้อย ทางมะพร้าว ดอกไม้ ตุงช่อ ประทีป และชักโคมยี่เป็งแบบต่างๆขึ้นเป็นพุทธบูชา พอตกกลางคืนจะมีมหรสพและการละเล่นมากมาย มีการแห่โคมทอง พร้อมกับมีการจุดถ้วยประ ทีป(การจุดผางปะตี๊ด) เพื่อบูชาพระรัตนตรัย การสร้างซุ้มประตูป่า นอกจากมีคติความเชื่อ ในเรื่องการต้อนรับการเสด็จกลับจากป่าของพระเวสสันดรแล้ว ยังเป็นซุ้มที่ใช้จุดผางประทีป เพื่อบูชาพระเจ้าห้าพระองค์ โดยจุดไว้ในโคมหูกระต่าย อีกทั้งยังมีโคมชนิดอื่นๆ ที่ใช้ในการประดับตกแต่งอีกด้วย

ร่วมแสดงความคิดเห็น