เหยี่ยวเคสเตรล : Common Kestrel

อากาศสดใส ท้องฟ้าคราม ตัดกับสีของข้าวเปลี่ยนสีเป็นสีทองพื้นที่ทุ่งนาของอำเภอดอยหล่อ นำพาบรรดานกอพยพพักพิงมากมายและเหยี่ยวโดดเด่นอีกชนิดก็คือ “เหยี่ยวเคสเตรล” ที่เรามาทำความรู้จักกัน 

เหยี่ยวเคสเตรล (Common Kestrel) เป็นนกอพยพที่อยู่ได้ในถิ่นอาศัยหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นบน สวนสาธารณะ เกาะกลางทะเล ลักษณะเด่นได้แก่ โทนสีลำตัวซึ่งโดยรวมเป็นสีน้ำตาลอ่อนทุกเพศทุกวัยต่างจากเหยี่ยวปีกแหลมชนิดอื่น และแถบคาดปลายหางสีดำ
สำหรับประชากรเหยี่ยวเคสเตรลที่พบในไทย เพศผู้จะพมีกระม่อมสีเทา และมีลวดลายด้านบนลำตัวไม่หนาแน่นเท่านกเพศเมียว เพศผู้ของชนิดย่อยในแอฟริกามีสีสันคล้ายเพศเมียมาก โดยเพศเมียมีขนาดใหญ่กว่าเพศผู้เล็กน้อย 

ส่วนวัยเด็กมีลักษณะคล้ายเพศเมีย แต่ลายสีดำบริเวณอกจะดูเป็นลายขีดมากกว่าเป็นจุดแต้ม นกวัยเด็กของทั้งสองเพศก็ต่างกันเล็กน้อย โดยตัวผู้จะมีโทนสีอมเทามากกว่า และมีลายสีดำบนลำตัวไม่เข้มและแน่นเท่าลายขวางสีดำถี่ ๆ บริเวณด้านบนลำตัวของเพศเมียดูละม้ายคล้ายกับของนกคัคคูสกุล Cuculus เพศเมียชุดขนสีน้ำตาลแดง เป็นไปได้ว่านกคัคคูอาจผ่านการวิวัฒนาการมาให้“เลียนแบบ”นกล่าเหยื่อ (Batesian mimicry) เพื่อความปลอดภัยของมันนั่นเอง

ประชาชนส่วนใหญ่ที่พบในไทยเป็นชนิดย่อยหลัก (nominate subspecies) ซึ่งนักปักษีวิทยาบางสำนักก็จัดให้รวมไปถึงประชากรทางเอเชียตะวันออก ซึ่งยังคงเป็นที่รู้จักกันชื่อ perpallidus ส่วนอีกชนิดย่อยที่สามารถพบได้ในไทยก็คือ interstinctus ซึ่งโดยรวมมีสีสดและลวดลายเข้มชัดกว่าชนิดย่อยหลัก

เหยี่ยวเคสเตรลสามารถล่าเหยื่อได้หลากหลายประเภท กินทั้งแมลง ไปจนถึงสัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กจำพวก กบ เขียด หนู และนกชนิดอื่น มักล่าจากบนพื้นดิน หากเหยื่อมีขนาดเล็กมักใช้อุ้งตีนช่วยฉีกกินเป็นอาหาร

เรื่อง: ทับทิม มั่นมาก ภาพ : จรัลศกดิ์ ลอยมี

ร่วมแสดงความคิดเห็น