น่าทึ่ง! โรงเรียนสตรอว์เบอร์รี่ แห่งแรกของประเทศไทย ผลเป็นรูปหัวใจ ที่ศูนย์วิจัยดอยปุยฯ เชียงใหม่

ผู้สื่อข่าวรายงาน ที่สถานีวิจัยดอยปุย ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย บนเทือกเขาดอยปุย ถนนศรีวิชัย ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ตรงข้ามกับพระตำหนักภูพิงค์ราช
นิเวศน์ ที่นี้มีโรงเรียนสตรอว์เบอร์รี่ แห่งแรกของประเทศไทย

อ.อัมรา หล้าวงษา นักวิจัย สถานีวิจัยดอยปุย จากคณะเกษตรบางเขน ม.เกษตรศาสตร์ กล่าวว่า โรงเรียนสตรอว์เบอร์รี่ แห่งแรกของประเทศไทย ได้พัฒนามาหลายสายพันธ์ุแล้ว ล่าสุดพัฒนาสตรอว์เบอร์รี่สายพันธุ์ไทยที่ 2 ได้พระราชทานชื่อจากในหลวงรัชกาลที่ 9 สายพันธุ์พระราชทาน 88 ของศูนยวิจัยดอยปุย แหล่งรวมสายพันธุ์สตรอว์เบอร์รี่ จากทั่วโลก 70 สายพันธุ์ ได้พัฒนาเป็นสายพันธุ์แท้ 2 สายคือ สายพันธุ์พระราชทาน 60 และล่าสุดสายพันธ์ุพระราชทาน 88

สตอรว์เบอร์รีสายพันธ์พระราชทาน 88 มีความพิเศษคือ จะหอม หวาน ผ่าออกมาแล้ว จะเป็นรูปหัวใจ เป็นอีกหนึ่งของโรงเรียนการกำเนิดของสตรอว์เบอร์รี่ แห่งแรกของประเทศ ที่ได้นำสายพันธุ์เข้ามาปรับปรุงขยายพันธุ์สตรอว์เบอร์รีไปทั่วประเทศ อ.อัมรา หล้าวงษา นักวิจัย
สถานีวิจัยดอยปุย จากคณะเกษตรบางเขน ม.เกษตรศาสตร์ พร้อมทีมวิจัย ได้พัฒนาสายพันธุ์ไทยแท้ขึ้น มาเป็นสายพันธุ์ที่ 2 ร่วมกับโครงหลวง ได้ขึ้นทะเบียนสายพันธุ์ไว้แล้ว เมื่อปี 2559 จากกรมวิชาการเกษตร ได้รับพระราชทานชื่อจากในหลวงรัชกาลที่ 9 เป็นสตรอว์เบอร์รี่พันธุ์พระราชทาน 88 เป็นลิขสิทธิ์ของโครงการหลวง

ส่วนความพิเศษของพันธุ์ 88 จะมีกลิ่นที่หอมมาก หวาน กรอบ ผลจะไม่โตใหญ่มาก หนักจะพอดีคำ เมื่อผ่ามาแล้วข้างในจะเป็นรูปหัวใจ ที่สวยงาม ให้ผลเร็วเพราะได้เริ่มปลูกเมื่อวันที่ 30 ก.ย.ที่ผ่านมา พอต้นเดือน พ.ย.ก็เริ่มออกผลแล้ว ตอนนี้ได้นำพันธุ์ไปเพาะปลูกในพื้นที่โครงการหลวงด้วย บางส่วนได้ออกจำหน่าย ราคา กก.ละ 400 บาท ยังไม่ได้นำออกสู่เกษตร กรในเชิงพาณิชย์

อย่างไรก็ตาม สถานีวิจัยดอยปุยแห่งนี้ เป็นโรงเรียนสอนการปลูกสตรอว์เบอร์รี่ให้กับเกษตร กร ที่สนใจตอนนี้สามารถนำสายพันธุ์ยอดนิยม พันธุ์พระราชทาน 80 ไปปลูกจำหน่ายได้ทั่วประเทศ ตลอดจนได้นำไปวิจัยที่ประเทศลาว สามารถปลูกได้ดี มีผลออกยาวนาน จากเริ่มปลูกเดือน ต.ค.ไปจนถึง เดือน มิ.ย.ของอีกปี สตรอว์เบอร์รี่จะมีคุณภาพหรือไม่ ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศที่หนาวเย็นคงต่อเนื่อง แต่ปัญหาของการเพาะปลูกได้มาก สิ่งที่ตามมาคือราคาผลผลิตจะตกต่ำเพราะล้นตลาด กินความต้องการบริโภคของประชาชน ทำให้ตอนนี้ต้องมีการพัฒนาผลผลิตไปในรูปแบบต่างๆ ในการแปรรูป นอกจากจะขายผลผลิตรับประทานสดอย่างเดียว.

ร่วมแสดงความคิดเห็น