ม.พะเยาติดโผ 1 ใน 5 เด็กเลือกเรียนสูงสุด

ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย(ทปอ.) แถลงข่าวภายหลังประชุมสามัญ ครั้งที่ 6/2561 ว่าเนื่องจากจำนวนนักศึกษาสมัครผ่านระบบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาหรือทีแคส 2561ซึ่งมีการรับสมัคร 5 รอบพบว่ามีน้อยกว่าจำนวนที่นั่งที่มหาวิทยาลัยจะรับ

ในแต่ละรอบมีการสละสิทธิ์มาก ถือเป็นเรื่องที่น่ากลัวสำหรับมหาวิทยาลัยไทย เพราะหากนักศึกษาน้อยลงเรื่อยๆ และหลักสูตรไม่มีนักศึกษาต่างชาติเข้าเรียน มหาวิทยาลัยจะเจอวิกฤต ปีการศึกษา 62มหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาเข้าร่วม 92 แห่งเปิดรับสมัครลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ mytcas.com ตั้งแต่1 ธ.ค.-22 ธ.ค.2561 มีผู้ลงทะเบียนในระบบแล้ว 262,474 คน

ศ.ดร.สุชัชวีร์ กล่าวว่า การจัดทำโครงสร้างระบบฐานข้อมูลศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562 หรือทีเร็ก มีจำนวนรับรวม 390,120 คน รอบที่ 1 แฟ้มสะสมงาน มี 68 สถาบัน 721 คณะ 4,692 สาขาวิชา/หลักสูตร รับนักศึกษา 129,247 คน รอบที่ 2 โควตา มี 67 สถาบัน 712 คณะ 4,575 สาขา/หลักสูตร รับ 99,320 คน

รอบที่ 3 รับตรงกลางร่วมกัน มี 65 สถาบัน 717 คณะ 3,868 สาขาวิชา/หลักสูตร รับ69,441 คน รอบที่ 4 แอดมิชชั่น มี 64 สถาบัน 667 คณะ 3,741 สาขา/หลักสูตร รับ 62,406 คน รอบที่ 5 รับตรงอิสระ มี 58 สถาบัน 509 คณะ 2,815 สาขา/หลักสูตร รับนักศึกษา 29,706 คน
นอกจากนั้น มีการรับนานาชาติ 12 สถาบัน 46 คณะ 104 สาขา/หลักสูตร รับนักศึกษา 5,071 คน และโครงการทุน มี 4 สถาบัน 9 คณะ 16 สาขา/หลักสูตร รับนักศึกษา 172 คน
สำหรับสถาบัน 5 อันดับแรกที่มีจำนวนรับนักศึกษามากที่สุด ได้แก่ ม.สงขลานครินทร์ รับ 36,650 คน ม.พระจอมเกล้าพระนครเหนือ รับ 22,017 คน ม.เกษตรศาสตร์ รับ 19,973 คน ม.พะเยา รับ 17,728 คน และม.บูรพา 17,633 คน

ผู้สื่อข่าวได้ตรวจสอบอัตราการว่างงานปี 61 ในช่วงไตรมาส3 พบว่า ยังมีอัตราสูง โดยเป็นระดับคุณวุฒิ ป.ตรี กว่า 2.3 แสนคนที่ยังว่างงาน หากรวมตัวเลขสะสมจากปีที่ผ่านมา 3 แสนกว่า เหตุผลเนื่องจากเลือกงาน ทำงานอิสระ และ สายสังคมศาสตร์ ติดอันดับสูงสุดในการว่างงาน

ร่วมแสดงความคิดเห็น