โรคซึมเศร้าคืออะไร? ทำไมใครๆก็เป็น

เคยไหม…บางครั้งเราอยากหนีออกจากโลกแห่งความเป็นจริง หนีไปให้ไกลจากทุกสิ่งที่เผชิญอยู่ หลายครั้งที่เราหาเหตุผลไม่ได้ว่าทำไมคนรอบข้างถึงไม่เข้าใจในสิ่งที่เราเป็นและต้องการจะสื่อสารออกไป หรือแม้แต่พ่อแม่เองก็ยังไม่เข้าใจว่าโรคซึมเศร้าไม่ใช่อาการแสดงเรียกร้องความสนใจ ผู้ใหญ่บางคนตีความว่าคนโรคซึมเศร้านั้นก็คือคนบ้า
อาจเป็นเพราะว่าสมัยนี้เทคโนโลยีมีความก้าวล้ำสมัย สิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ผู้คนต่างพึ่งพาเทคโนโลยีเหล่านั้นเพื่อลดความยากลำบากในการดำเนินชีวิต บางทีที่หลงละเลยใส่ใจเรื่องสุขภาพทำให้มีปัญหาด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น นอกจากการเจ็บป่วยทางร่างกายแล้ว ยังมีโรคที่แอบแฝงมากับสภาวะอารมณ์ของเราโดยที่เราไม่รู้ตัว เพราะคิดว่าเป็นอาการปกติที่ต้องเจอ นั่นก็คือ โรคซึมเศร้า
จากข้อมูลกรมสุขภาพจิต โรงพยาบาลสวนปรุง ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องโรคซึมเศร้าเอาไว้ว่า โรคซึมเศร้านั้นไม่ใช่โรจิตหรือเป็นบ้า ไม่ใช่โรคประสาท แต่เป็นโรคที่เกิดจากสารเคมีในสมองมีปริมาณลดลงหรือบกพร่องไป สมองจึงสับสน คุมอารมณ์และความคิดไม่ได้ ทำให้ภาวะจิตใจหม่นหมอง หดหู่ มองโลกในแง่ร้ายอยู่ตลอดเวลา มีความรู้สึกผิดและไม่ภูมิใจในตนเอง มีความคิดทำร้ายตนเองและคิดถึงแต่ความตาย ทำให้มีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในประจำวัน

สาเหตุหลักๆเกิดจาก

  1. การถ่ายทอดทางพันธุกรรม ผู้ที่มีญาติพี่น้องป่วยเป็นโรคซึมเศร้า มีความเสี่ยงถึง 1.5-2 เท่า
  2. มีความผิดปกติของสารเคมีในสมอง ที่มีผลต่ออารมณ์ซึมเศร้าของคน
  3. มีการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน เช่น วัยทอง หรือหลังคลอดบุตร
  4. โรคการเจ็บป่วยทางกาย เช่น โรคเรื้อรัง หรือโรคประจำตัว
  5. ตัวยาบางชนิดทำให้เกิดโรคซึมเศร้า เช่น ยาลดความดัน
  6. เกิดจากความเครียด การสูญเสียพลัดพราก หรือพบเจอกับเหตุการณ์ที่กระทบจิตใจขั้นรุนแรง
  7. ผิดหวังซ้ำซากจากประสบการณ์ทางลบในวัยเด็ก เก็บกด หนีปัญหา

วิธีการรักษามี 2 วิธีคือ

  1. การใช้ยา เป็นยาแก้ซึมเศร้า จะมีด้วยกันหลายกลุ่มและยาอาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงต่างๆได้บ้าง จึงต้องพบจิตแพทย์สม่ำเสมอตามนัด
  2. การกระตุ้นด้วยไฟฟ้า เป็นวิธีการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงหรือการใช้ยาที่ไม่ได้ผลแล้วเท่านั้น
    โรคจิตเภท (Schizophrenia) เป็นความผิดปกติทางจิตใจ ในด้านความคิด การรับรู้ อารมณ์ และสังคม ที่แสดงออกให้เห็นได้ทางพฤติกรรมที่แปลกๆและผู้อื่นไม่เข้าใจ โดยผู้ป่วยจิตเภทส่วนใหญ่ขาดการตระหนักรู้ในตนเอง ไม่รู้ว่าตนเองผิดปกติ ไม่อยู่ในโลกของความจริง
    อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะโรคซึมเศร้าหรือโรคจิตเภทก็ตาม เราไม่ควรรังเกียจหรือมองเขาเป็นพวกแปลกแยก เราควรให้กำลังและช่วยเหลือ เพื่อที่ผู้ป่วยจะได้มีกำลังใจในการต่อสู้กับโรค

เรื่อง : นางสาวสุธาสินีวรรณ จันทร์เพ็ญ นิสิตฝึกประสบการณ์จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ร่วมแสดงความคิดเห็น