พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 7 – 13 มกราคม พ.ศ. 2562

กรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 7-9 ม.ค. บริเวณภาคเหนือมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ลูกเห็บตก และฝนตกหนักเกิดขึ้นในระยะแรก หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 10-11 ม.ค. อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส โดยมีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ยังคงมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า ส่วนภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักในช่วงวันที่ 7-9 ม.ค.

ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 7-9 ม.ค. จะมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกเคลื่อนเข้าภาคเหนือ ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคเหนือมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ลูกเห็บตก และฝนตกหนักเกิดขึ้นในระยะแรก หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 10-11 ม.ค. อุณหภูมิ จะลดลง และมีอากาศเย็นถึงหนาว ในขณะที่บริเวณความกดอากาศสูงกำลังอ่อน ปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีอากาศเย็น ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมภาคใต้ตลอดช่วง

คำเตือน ในช่วงวันที่ 7-9 ม.ค. บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ลูกเห็บตก และฝนตกหนัก บางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับในช่วงวันที่ 7-13 ม.ค. บริเวณทะเลอันดามัน จะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

ภาคเหนือ ในช่วงวันที่ 7-9 ม.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมกระโชกแรง ลูกเห็บตก และฝนตกหนัก ในช่วงวันที่ 10-11 ม.ค. อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 11-13 ม.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ มีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 15-17 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 3-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้จะมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า โดยในช่วงวันที่ 7-9 ม.ค. จะมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ลูกเห็บตก และฝนตกหนัก บางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • เกษตรกรที่ปลูกลำไยและลิ้นจี่ ควรระวังและป้องกัน การระบาดของศัตรูพืช เช่น มวนลำไยและไรกำมะหยี่ เป็นต้น

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้าตลอดช่วง และมีฝนเล็กน้อยในช่วงวันที่ 8-9 ม.ค. อุณหภูมิต่ำสุด 17-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภูอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 7-13 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % – ระยะนี้จะมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้าตลอดช่วง และมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งควรให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติมตามความเหมาะสม
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • เกษตรกรที่ปลูกพืชไร่ เช่น อ้อยและข้าวโพด ควรระวัง และป้องกันการระบาดของศัตรูพืช เช่น หนอนกอ และหนอนกระทู้ เป็นต้น

ภาคกลาง อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้าตลอดช่วง และมีฝนเล็กน้อยในช่วงวันที่ 8-10 ม.ค. อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้จะมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้าตลอดช่วงและมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง เกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทานควรวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งควรใช้เศษวัชพืชคลุมโคนทั่วบริเวณใต้ทรงพุ่ม เพื่อลดการระเหยของน้ำและรักษาความชื้นของดิน
  • เกษตรกรที่ปลูกพืชตระกูลกะหล่ำ-ผักกาด ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืช เช่น หนอนใยผัก และด้วงหมัดผัก เป็นต้น

ภาคตะวันออก อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า ในช่วงวันที่ 8-10 ม.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้จะมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้าและมีฝน ฟ้าคะนองบางแห่ง เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิ
    ภาพ รวมทั้งควรให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติมตามความเหมาะสม
  • เกษตรกรที่ปลูกทุเรียนควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืช เช่น หนอนเจาะลำต้นทุเรียน เป็นต้น

ภาคใต้ฝั่งตะวันออก(อ่าวไทย) มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-60 ของพื้นที่ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบริเวณภาคใต้ตอนล่างในช่วงวันที่ 7-9 ม.ค. อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ภาคใต้ฝั่งตะวันตก(อันดามัน) มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ตลอดช่วง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งตลอดช่วง และในช่วงวันที่ 7-9 ม.ค. จะมีฝนตกหนักบริเวณภาคใต้ตอนล่าง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว นอกจากนี้ควรระวังอันตรายและป้องกันของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชสวนและพืชไร่ โดยดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวนและป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อรา
  • บริเวณพื้นที่การเกษตรที่ถูกน้ำท่วมขัง เกษตรกรควรรีบระบายน้ำออกจากแปลงปลูก ไม่ควรปล่อยให้น้ำขังบริเวณ โคนต้นพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชเน่า ต้นพืชตายได้ รวมทั้งควรรีบพื้นฟูสภาพสวนและแหล่งน้ำให้ใช้ได้ดีดังเดิม นอกจากนี้เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคที่มากับน้ำ เช่น โรคน้ำกัดเท้า โรคตาแดง และโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เป็นต้น
  • ในช่วงวันที่ 7-13 ม.ค. บริเวณทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

นายธาดา ศรัทธา ผอ.สถานีอุตุนิยมวิทยาสุโขทัย

ร่วมแสดงความคิดเห็น