นกกระติ๊ดขี้หมู (Scaly-breasted Munia)

การดนูกบ้างครั้งก็ไม่ต้องออกเดินทางไปที่ไหนไกลๆ นกที่มีความใกล้ชิดกับเรา และปรับตัวเก่งกับในแต่สภาพพื้นที่ของสังคมคนเมืองอย่าง “นกกระติ๊ดขี้หมู”

นกกระติ๊ดขี้หมู ชื่อสามัญ : scaly-breasted munia or spotted muniaชื่อวิทยาศาสตร์ : Lonchura punctulata (Linnaeus, 1758)

ลักษณะทั่วไป นกกระติ๊ดขี้หมู เป็นนกขนาดเล็กมาก 11-12 ซม. ตัวเต็มวัยสีเป็นสีน้ าตาลอ่อน ตะโพก ขนคลุมโคนขน หางด้านบนและหางเป็นสีน้ำตาล มักมีสีเหลืองแซม อก ท้อง และขนคลุมโคนขนหางด้านล่างสีขาวมีลายเกล็ดสีน้ำตาลเข้ม ยกเว้นบริเวณตรงกลางท้อง คางมีขนสีเข้มกว่าสีล าตัว ปากเป็นปากแบบกรวยสีเข้มปลายแหลม ตัวไม่เต็มวัยลำตัวด้านบนสีน้ำตาล ลำตัวด้านล่างสีออกเป็นสีเนื้อไม่มีลายเกล็ด ขากรรไกรบนสีดำ

กระจายพันธุ์อยู่ในเขตร้อนของซีกโลกเก่า และประเทศออสเตรเลีย พบทั้งหมด 141 ชนิด ใน 29 สกุล พบในประเทศไทย 8 ชนิด ในอนุทวีปอินเดียมีโอกาสถูกแยกชนิดโดยใช้ชื่อว่า Chequered Munia ต่างจากชนิดย่อยอื่นตรงที่มีลำตัวสีออกน้ำตาลแดง หางสีเหลืองสดกว่า และมีลายเกล็ดเป็นเม็ดกลม ๆ ที่ “บวม”ออกทางด้านข้าง แทนที่จะเป็นทรงยาวแน่น ๆ แล้วมีขีดคล้ายหัวลูกศรตรงกลางแบบในเมืองไทย อย่างไรก็ตาม มีการพบนกที่มีลักษณะคล้ายลูกผสมระหว่างชนิดย่อยในบางพื้นที่ด้วย ที่มาก็น่าจะเป็นนกเลี้ยงที่หลุดกรงนั่นเอง
ถื่นอาศัยของนกกระติ๊ดขี้หมูพบได้ทั่วไปทุกภาคของประเทศไทย อาศัยตามทุ่งหญ้า ป่าโปร่ง พื้นที่เกษตรกรรม และชุมชน จากที่ราบจนถึงความสูง 1,500 เมตรจากระดับน้ำทะเล เป็นนกประจำถิ่นที่พบบ่อยมาก

รังมีลักษณะรูปร่างเป็นโดม หรือ ทรงกลม นกกระติ๊ดขี้หมูสามารถทำรังวางไข่ได้ตลอดทั้งปี แต่ช่วงที่พบว่ามีการทำรังวางไข่สูงอยู่ระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนสิงหาคม แม่นกวางไข่ครั้งละ 1-8 ฟองต่อรัง จำนวนไข่ที่พบบ่อยที่สุดคือ 6 ฟอง พ่อแม่นกช่วยกันกกไข่ 10 วันลูกนกจึงฟัก เป็นตัวลูกนกแรกเกิดเป็นแบบ altricial และพ่อแม่นกช่วยกันเลี้ยงลูกนกอีก 13-15 วัน ลูกนกจึงบินออกจากรัง

นกกระติ๊ดขี้หมู ในปัจจุบันมีสถานภาพเป็นนกประจำถิ่นของประเทศไทย สามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ สถานภาพทางกฎหมายมีสถานภาพทางกฎหมายไทยเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า และสถานภาพทางการอนุรักษ์ในระดับสากลตามบัญชีรายชื่อของ IUCN หรือ IUCN Red list 2014 นกกระติ๊ดขี้หมูจัดอยู่ในสถานภาพยังไม่น่าเป็นห่วง

“ที่น่าเป็นห่วงเรายังพบการจับนกกระติ๊ดใส่กรงเพื่อรอให้ผู้คนมาไถ่ชีวิต…ปล่อยนก…วงจรที่ยังปรากฏให้ได้เห็น การกระทำเช่นนี้ย่อมเป็นบาปกรรมที่ส่งผลเสียต่อไปในที่สุด”

เรื่องและภาพ : ทับทิม มั่นมาก

ร่วมแสดงความคิดเห็น