ฟันผุก่อมะเร็ง! ต้องรีบรักษา อย่าทิ้งไว้นาน

ใครจะคิดกันหล่ะว่าแค่ “ฟันผุ” แล้วไม่ยอมรักษาปล่อยไว้เนิ่นนาน จนส่งผลกระทบตามมาทีหลัง

ฟันผุ จัดเป็นโรคติดต่อ เพราะเกิดจากเชื้อโรค และติดต่อกันได้ทางน้ำลาย โดยกระบวนการเกิดโรค จำเป็นจะต้องมีองค์ประกอบสำคัญ 3 อย่างด้วยกัน ได้แก่ ตัวฟัน เชื้อจุลินทรีย์ และสภาวะความเป็นกรดภายในช่องปาก

เกิดจากเชื้อโรค เป็นคราบขาวหรือเหลืองระหว่างโคนฟัน ซอกฟัน โดยเนื้อฟันถูกทำลายไป และมีการทำลายแร่ธาตุที่เป็น องค์ประกอบสำคัญของเนื้อเยื่อเหล่านี้ จนทำให้เกิดเป็นรูหรือโพรงที่ตัวฟัน ถ้าไม่ได้รับการรักษาจะลุกลาม ขยายใหญ่และลึกขึ้นเรื่อยๆ เกิดการเจ็บปวดทุกข์ทรมาน และสุดท้ายอาจต้องสูญเสียฟัน

ฟันผุ อย่าละเลย เพราะฟันผุสามารถเป็นสาเหตุของการติดเชื้อลุกลามเข้าสู่ไซนัสและลามมาในเบ้าตาด้านหลังลูกตาได้ และยังมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคต่างๆตามมา เช่น

1.ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน
เพื่อสุขอนามัยช่องปากที่ดีนั้น ผู้ป่วยโรคเบาหวานจำเป็นต้องดูแลเป็นพิเศษ เนื่องจากผู้ป่วยนั้นมักจะไม่เอาใจใส่อาการฟันผุ หากเป็นแล้วไม่ได้รับการรักษา อาจนำไปสู่ความเจ็บปวด,การติดเชื้อ หรือนำไปสู่การสูญเสียฟันในที่สุด

ไม่เพียงแค่นั้นผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่เคยเข้ารับการรักษาอาการฟันผุ ส่วนใหญ่จะเสียชีวิต เมื่ออาการติดเชื้อได้แพร่กระจายไปยังกระดูกขากรรไกร ซึ่งในที่สุดการติดเชื้อจะแพร่กระจายไปสู่คอ และขัดขวางช่องลม เนื่องจากมีหนองไปขวางมากเกินไป

2.ความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
โรคหัวใจในผู้ป่วยที่เป็นโรคปริทันต์หรือโรคเหงือก จะมีมากกว่าผู้คนที่สุขภาพดี 25 ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ ฟันผุและโรคปริทันต์เป็นสาเหตุที่ทำให้ภายในร่างกายเกิดการอักเสบ การอักเสบจะช่วยเร่งขั้นตอนการแข็งตัวของหลอดเลือดแดง ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เชื้อโรคเข้าไปก่อตัวในหลอดเลือดแดง ทำให้หลอดเลือดแดงมีผนังที่หนาขึ้น ซึ่งอาจทำให้เกิดโรคหัวใจล้มเหลวได้

3.การตายอันเกิดจากมะเร็งก่อนวัยอันควร
การไม่แปรงฟันอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการตายจากมะเร็ง จากการศึกษาแบคทีเรียชนิดที่อันตรายต่างๆในช่องปาก พบว่าผู้ป่วย 1,390 คนในการศึกษาตลอด 24 ปี เริ่มตั้งแต่ปี 1985 นักวิจัยพบว่าผู้ป่วยที่มีแบคทีเรียอยู่บนพื้นผิวฟันและร่องเหงือกมากๆ จะมีโอกาสเสียชีวิตจากโรคมะเร็งก่อนวัยอันควร โดยความเสี่ยงเพิ่มขึ้นสูงถึง 80 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับคนที่ดูแลสุขภาพช่องปากที่ดี

ร่วมแสดงความคิดเห็น