ทำไมชาวไทยภูเขาในสมัยก่อนถึงติดฝิ่น

ในอดีตนั้น “ชาวไทยภูเขา” อาศัยอยู่บนพื้นที่ราบสูงตามธรรมชาติ ดังนั้นชีวิตความเป็นอยู่จึงเป็นแบบเรียบง่าย เพราะคลุกคลีอยู่กับธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่เท่านั้น ชีวิตการทำงานของผู้คนส่วนใหญ่เป็นการปลูกพืชไร่ตามบนภูเขาการเดินทางไปมาค่อนข้างลำบากยากที่จะเข้าถึงชาวเขาเหล่านั้นไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึงด้านการรักษา เครื่องมือทางการแพทย์

เมล็ดดอกฝิ่น

ทำไมชาวไทยภูเขาถึงต้องปลูกฝิ่น
สาเหตุที่ทำให้ชาวไทยภูเขานิยมหันมาปลูก “ฝิ่น” เพราะคนเหล่านี้มีความเชื่อกันว่าฝิ่นเป็นยารักษาหรือบรรเทาความเจ็บปวดไม่ว่าจะเป็นแผลภายนอกหรือภายใน เชื่อว่าฝิ่นนั้นจะช่วยระงับความเจ็บปวดนั้นได้ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ชาวบ้านเหล่านั้นเกิดการใช้ฝิ่นในปริมาณที่มากขึ้นและเกินความจำเป็นต่อร่างการ จึงทำให้ชาวไทยภูเขาในอดตีเกิดการติดฝิ่นเป็นจำนวนมาก เพราะยังไม่รู้ถึงผลข้างเคียงหรือผลกระทบหากใช้ในปริมาณมากฝิ่นก็สามารถให้โทษกับผู้ที่ได้รับสารชนิดนั้นเข้าสู่ร่างกายได้มากเพราะสารที่ได้รับจากฝิ่นจะทำให้ระบบประสาทถูกทำลาย ขาดความรู้สึกตัว และอาจถึงแก่ความตาย ได้เช่นกัน

ฝิ่นคืออะไร
ฝิ่นคือ สารประกอบชนิดหนึ่ง ซึ่งได้จากยางของผลฝิ่น ในเนื้อฝิ่นมีสารเคมีผสมอยู่มากมาย ซึ่งประกอบด้วย โปรตีน เกลือแร่ ยางและกรดอินทรีย์ เป็น แอลคะลอยด์ (Alkaloid) ซึ่งเป็นตัวการสำคัญ ที่ทำให้ฝิ่นกลายเป็นสารเสพติดให้โทษที่ร้ายแรง

ฝิ่นมี 2 ประเภท ได้แก่
ประเภทที่ 1 ออกฤทธิ์ทำให้เกิดอาการมึนเมา และเป็นยาเสพติดให้โทษโดยตรงแอลคะลอยด์ประเภทนี้ทางเภสัชวิทยาถือว่า เป็นยาทำให้นอนหลับ (Hypnotic) แอลคะลอยด์ที่เป็นสารเสพติดซึ่งออกฤทธิ์ตัวสำคัญที่สุดในฝิ่น คือ มอร์ฟีน (Morphine)

ประเภทที่ 2 ออกฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อเรียบหย่อนคลายตัว ซึ่งในทางเภสัชวิทยาถือว่าแอลคะลอยด์ในฝิ่นประเภทนี้ไม่เป็นสารเสพติด แต่มีฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อของร่างกายหย่อนคลายตัว ซึ่งมีปาปาเวอร์รีน (Papaverine) เป็นตัวสำคัญ

ดอกฝิ่น

ผลกระทบของการเสพฝิ่น
ฤทธิ์ในทางเสพติด
ฝิ่นออกฤทธิ์กดระบบประสาท มีอาการเสพติดทั้งทางร่างกายและจิตใจ มีอาการขาดยาทางร่างกาย

อาการผู้เสพ
จิตใจเลื่อนลอย ง่วง ซึม แก้วตาหรี่ พูดจาวกวน ความคิดเชื่องช้า ไม่รู้สึกหิว ชีพจรเต้นช้า

ปัจจุบันการปลูกฝิ่นได้ออกกฎหมายห้ามไม่ให้ปลูกและจัดเป็นพืชไร่ที่ผิดกฎหมาย หากผู้ใดฝ่าฝืนก็จะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย หากไม่ได้รับอนุญาตให้ปลูกเพื่อใช้ประกอบในการรักษาทางการแพทย์

ร่วมแสดงความคิดเห็น