ควรรู้ เคี้ยวช้า ส่งผลดีต่อร่างกายมากกว่าที่คิด

หรือไม่ “การเคี้ยวช้าๆ” ส่งผลให้ระบบย่อยอาหารและระบบอื่นๆ ในร่างกายทำงานได้ดีขึ้น คนส่วนใหญ่คิดว่าการเคี้ยวช้าๆ ส่งผลดีแค่กับกระเพาะอาหาร และระบบขับถ่าย แต่น้อยคนนักที่รู้ว่า “การเคี้ยวช้าๆ” ยังส่งผลให้ระบบการทำงานอื่นๆ ในร่างกายดีขึ้นด้วย

วันนี้ “เชียงใหม่นิวส์” จะเล่าเรื่องประโยชน์ของ “การเคี้ยวอาหารช้าๆ” ให้ฟัง

การเคี้ยวอาหารให้ถูกต้อง

1. เคี้ยวประมาณ 10 ครั้งต่อคำ สำหรับอาหารนิ่มๆ เช่น ข้าว ขนมปัง
2. เคี้ยวประมาณ 20-30 ครั้งต่อคำ สำหรับอาหารที่มีความเหนียวเล็กน้อย อย่างเช่น เนื้อสัตว์ หรือผักทั่วไป
3. เคี้ยวนานกว่าปกติ หรือประมาณ 30-40 ครั้ง สำหรับอาหารที่มีความเหนียวมากกว่าปกติ เช่น ไส้หมูย่าง หรืออาหารที่เคี้ยวละเอียดยาก

แคบหมู ถือเป็นอาหารที่มีความแข็ง ควรเคี้ยว 20-30 ครั้ง

ประโยชน์ของการเคี้ยวอาหารช้าๆ

1. ทำให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารได้ดี
การเคี้ยวช่วยบดอาหารให้ชิ้นเล็กลง เพื่อง่ายต่อลำไส้และการย่อยอาหาร เมื่ออาหารละเอียด ร่างกายจะสามารถดูดซึมสารอาหารได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะใช้เวลาการย่อยอาหารน้อยลง
2. ช่วยควบคุมน้ำหนัก
การเคี้ยวข้าวแบบไม่ละเอียดมีผลทำให้เราอ้วนขึ้นได้ เพราะติดนิสัยการรับประทานเร็ว ทำให้รับประทานอาหารมากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ ดังนั้นการใช้เวลานานในการเคี้ยว ช่วยทำให้รู้สึกอิ่มได้เร็วขึ้น
3. ช่วยย่อยอาหารได้ง่ายขึ้น
เมื่ออาหารละเอียดก็จะย่อยได้ง่าย ร่างกายก็ไม่ต้องทำงานหนักจนเกินไป เพราะหากร่างกายต้องทำงานหนักกว่าปกติแล้ว ในระยะยาวอาจทำให้ร่างการทรุดโทรมเร็วดูแก่ก่อนวัย
4. ลดปัญหาท้องอืด ท้องเฟ้อ และท้องผูก
คนที่กินเร็วมักเลือกทานอาหารที่อิ่มง่าย ซึ่งส่วนมากประกอบด้วยแป้ง น้ำตาล เนื้อสัตว์ และไขมัน เมื่อเคี้ยวไม่ละเอียด ทำให้ย่อยยาก และเกิดเป็นอาการท้องอืด ท้องเฟ้อในภายหลัง
5. ช่วยให้ฟันแข็งแรง
การเคี้ยว ทำให้น้ำลายออกมาก ลดการสะสมของคราบหินปูน ช่วยให้ฟันผุน้อยลง รวมทั้งยังเป็นการบริหารเหงือกและฟันให้แข็งแรงอีกด้วย

ลักษณะการเคี้ยวที่ดี 

1.การเคี้ยวอาหาร 30 ครั้งต่อ 1 คำ ช่วยให้เหงือกแข็งแรง และช่วยรักษาอาการอารมณ์หงุดหงิด เครียด และโมโหง่าย
2. การเคี้ยวอาหาร 50 ครั้งต่อ 1 คำ ช่วยลดความวิตกกังวลของอารมณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลากินอาหาร
3. การเคี้ยวอาหาร 60 ครั้งต่อ 1 คำ เหมาะสำหรับการเคี้ยวอาหารที่มีกากไยมาก ช่วยลดอาการท้องผูก การทำงานของสมอง และช่วยให้สมองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. การเคี้ยวอาหาร 80 ครั้งต่อ 1 คำ ช่วยให้ประสาทสัมผัสไวขึ้น ความจำดี สามารถจดจำ และจำแนกรสชาติของอาหาร ทั้งจากธรรมชาติและสารปรุงอาหารที่มีพิษ ต่อร่างกายได้อย่างรวดเร็ว
5. การเคี้ยวอาหาร 100 ครั้งต่อ 1 คำ ทำให้คุณจัดการ แก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว สงบ เยือกเย็น กินน้อยลง แต่ร่างกายดูดซึมสารอาหารได้มาก ทั้งช่วยลดการอยากอาหารประเภทเนื้อด้วย
6. การเคี้ยวอาหาร 150 ครั้งต่อ 1 คำ ทำให้ระบบการทำงานของกระเพาะ และลำไส้ดีขึ้น ขณะเดียวกันก็ช่วยควบคุมอารมณ์ให้เป็นปกติ
7. การเคี้ยวอาหาร 200 ครั้งต่อ 1 คำทุกมื้อ ช่วยให้หายจากโรคกระเพาะเรื้อรัง และโรคกระเพาะอาหารเป็นแผลอย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกันก็ช่วยให้คาดการณ์และวินิจฉัยปัญหาต่างๆ ได้แม่นยำมากขึ้น

คำบรรยายคือ ไส้ทอด อาหารที่มีความเหนียวมากกว่าเนื้อสัตว์

สรุป

การเคี้ยวอาหารของคน แต่ละวัย ถือเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงด้วย คนที่มีนิสัยเคี้ยวช้าๆ เป็นจังหวะสม่ำเสมอตั้งแต่เด็กๆ จะมีขนาดสมองที่ใหญ่กว่าคนที่เคี้ยวเร็ว ทั้งความปราดเปรื่อง พลังงาน การคิด และสมาธิ ที่จะมีมากกว่าคนที่ทานอาหารเร็ว

จะเห็นได้ว่า แค่เราใส่ใจกับเรื่องเล็กๆ น้อยๆ อย่างการเคี้ยวอาหาร การมีสุขภาพที่ดี ก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป อย่ามองข้ามสิ่งเล็กๆ ใกล้ตัวนะคะ

ร่วมแสดงความคิดเห็น