พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 14-20 ม.ค.62

กรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 15-16 ม.ค. 62 บริเวณประเทศไทยตอนบนมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในหลายพื้นที่ แต่ยังคงมีอากาศเย็นในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นในภาคเหนือ สำหรับภาคใต้มีฝนลดลง ส่วนในช่วงวันที่ 17-20 ม.ค. 62 บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศเย็น อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศา ส่วนภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น

ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 15-16 ม.ค. 62 มีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือ ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคเหนือ มีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น ในขณะที่บริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้มีกำลังอ่อน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในหลายพื้นที่ ส่วนมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคใต้มีฝนลดลง ส่วนในช่วงวันที่ 17-20 ม.ค. 62 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อุณหภูมิจะลดลง กับมีอากาศเย็นโดยทั่วไป สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น

คำเตือน ในช่วงวันที่ 15-16 ม.ค. 62 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระมัดระวังการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกหนาไว้ด้วย ส่วนในช่วงวันที่ 17-20 ม.ค. 62 ขอให้ประชาชนบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือดูแลสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไว้ด้วย

คําแนะนําสําหรับการเกษตร

ภาคเหนือ ในช่วงวันที่ 15-17 ม.ค. 62 อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 10 ของพื้นที่อุณหภูมิต่ำสุด 16-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-14 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 18-20 ม.ค. 62 อากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาอุณหภูมิต่ำสุด 14-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 5-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้จะมีอากาศเย็นและมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย รวมทั้งใช้รถใช้ถนนด้วยความระมัดระวังเมื่อต้องสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกหนา
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • อากาศเย็นและชื้นกับมีหมอกในตอนเช้า ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมที่เชื้อราสามารถเจริญเติบโตได้ดี เกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลงปลูก เมื่อพบการระบาดของโรคพืช ควรรีบควบคุมก่อนระบาดไปยังต้นอื่นๆ

ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ ในช่วงวันที่ 15-16 ม.ค. 62 อากาศเย็น กับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 11-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 17-20 ม.ค. 62 อากาศเย็น อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศา อุณหภูมิต่ำสุด 16-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-30 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้จะมีอากาศเย็นและมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย รวมทั้งใช้รถใช้ถนนด้วยความระมัดระวังเมื่อต้องสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกหนา
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงควรลดปริมาณอาหาร เนื่องจากอุณหภูมิที่ลดลง สัตว์น้ำจะกินอาหารได้น้อยลง อาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย
  • ระยะนี้มีอากาศแห้งกับมีแดดจัดในตอนกลางวันทำให้น้ำระเหยออกจากดินและพืชมาก เกษตรกรควรคลุมดินด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน และรักษาความชื้นภายในดิน

ภาคกลาง ในช่วงวันที่ 15-16 ม.ค. 62 มีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 17-20 ม.ค. 62 อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 19-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้อากาศเย็นและชื้นกับมีหมอกในตอนเช้า เหมาะกับการเกิดโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เกษตรกรควรหมั่นสำรวจ หากพบควรรีบกำจัด
  • สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งควรใช้เศษวัชพืชคลุมโคนต้นพืช เพื่อลดการระเหยของน้ำและรักษาความชื้นในดิน

ภาคตะวันออก ในช่วงวันที่ 15-16 ม.ค. 62 มีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 17-20 ม.ค. 62 อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้อากาศเย็นและชื้นกับมีหมอกในตอนเช้า เหมาะกับการเกิดโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เกษตรกรควรหมั่นสำรวจ หากพบควรรีบกำจัด
  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะติดผล เกษตรกรควรดูแลให้น้ำอย่างเพียงพอ รวมทั้งระวังศัตรูจำพวกหนอน ที่จะกัดกินส่วนที่อ่อนทำให้ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ

ภาคใต้ฝั่งตะวันออก(อ่าวไทย) ในช่วงวันที่ 14-15 และ 19-20 ม.ค. 62 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 16-18 ม.ค. 62 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ภาคใต้ฝั่งตะวันตก(อันดามัน) ในช่วงวันที่ 14-16 ม.ค. 62 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 17-20 ม.ค. 62 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 1 เมตร
อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้จะมีฝนลดลง บริเวณพื้นที่การเกษตรที่ถูกน้ำท่วมขังในช่วงที่ผ่านมา เกษตรกรควรรีบระบายน้ำออกจากแปลงปลูก รวมทั้งควรรีบพื้นฟูสภาพสวนและแหล่งน้ำให้ใช้ได้ดีดังเดิม
  • นอกจากนั้น เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ
  • เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตร ในช่วงแล้ง ซึ่งปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย

นายธาดา ศรัทธา ผอ.สถานีอุตุนิยมวิทยาสุโขทัย

ร่วมแสดงความคิดเห็น