นอภ.เชียงแสน ตรวจเยี่ยมโครงการสถานีเกษตรที่สูงฯ บ้านธารทอง เตรียมทำถนน คสล.สู่โครงการฯ ระยะทาง 6 กม.

เมื่อวันที่ 14 ม.ค. 2562 นายประสงค์ หล้าอ่อน นายอำเภอเชียงแสน จ.เชียงราย ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโครงการสถานีเกษตรที่สูงตามพระราชดำริบ้านธารทอง และเป็นประธานประชุมติดตามโครงการสถานีฯ โดยมีมติในที่ประชุมให้ดำเนินการทำโครงการถนน คสล. ความกว้าง 5 เมตรเข้าสู่สถานีฯ ระยะทางโดยประมาณ 6 กม. แบ่งเป็น 2 ช่วง สำหรับงบประมาณในปี 2564 และ 2565 และได้ให้ทางหลวงชนบทเชียงราย สำรวจและออกแบบ โครงการถนนดังกล่าวนี้ พร้อมนี้นายอำเภอเชียงแสนได้ร่วมปลูกต้นพญาเสือโคร่งกับผู้เข้าร่วมประชุม ณ พื้นที่สถานีฯ ด้วย

เกี่ยวกับโครงการสถานีเกษตรที่สูงตามำระราชดำริบ้านธารทอง เป็นโครงการที่ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการใช้พื้นที่ที่เสื่อมโทรมจากการบุกรุกของราษฎรเข้าแผ้วถางป่าและทำไร่เลื่อนลอยไปใช้ให้เกิดประโยชน์ โดนดำเนินการในลักษณะ “วิทยาลัยชาวบ้าน” ด้วยการฝึกอบรมการเกษตรแบบครบวงจรให้แก่ราษฎร และฟื้นฟูสภาพป่าไม้ที่เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร ให้กลับอุดมสมบูรณ์ รวมทั้งการเกษตรแบบครบวงจรให้แก่ราษฎร และฟื้นฟูสภาพป่าไม้ที่เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร ให้กลับอุดมสมบูรณ์ รวมทั้งป้องกันป่าไม้มิให้ถูกทำลาย

ตลอดจนส่งเสริมให้ราษฎรมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาป่าไม้ ในลักษณะคนกับป่าอยู่ร่วมกันแบบพึ่งพาอาศัยกันได้อย่างยั่งยืน อันจะทำให้ราษฎรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ปัจจุบันกองทัพภาคที่ 3 และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการสนองพระราชดำริโดยการจัดทำแผนการดำเนินงาน ได้แก่ การจัดตั้งสถานีทดลองเกษตรในพื้นที่สูงตามพระราชดำริ จัดทำแผนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ราษฎรได้รับความรู้ มีอาชีพ และรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีพ จัดทำแผนงานส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ รวมทั้งให้ราษฎรรู้จักการป้องกันโรคระบาดของสัตว์จัดทำแผนพัฒนาการเกษตร

ด้วยการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ ด้านการส่งเสริมการปลูกข้าวไร่ พืชผักสวนครัว และไม้ผลเมืองหนาวที่ปลอดสารเคมีและสารฆ่าแมลง จัดทำแผนงานป่าไม้ เพื่อให้ราษฎรมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าจัดทำแผนส่งเสริมการเลี้ยงปลา เพื่อเป็นการแพร่ขยายพันธุ์ สำหรับเป็นแหล่งอาหารโปรตีนให้แก่ราษฎรในพื้นที่จัดทำแผนงานสาธารณสุขขั้นมูลฐาน จัดทำแผนการส่งเสริมการศึกษา เพื่อให้ราษฎรได้รับความรู้ และจัดทำแผนพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งเพื่อช่วยป้องกันและสกัดกั้นการแพร่ระบาดของยาเสพติด เพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎรให้ดีขึ้น ทำให้ราษฎรมีอาชีพและที่ทำกินเป็นหลักแหล่ง รวมทั้งเป็นการอนุรักษ์สภาพป่าในพื้นที่ไม่ให้ถูกทำลาย และฟื้นฟูสภาพป่าที่ถูกทำลายให้คืนสภาพตามธรรมชาติที่สมบูรณ์ดังเดิม

ร่วมแสดงความคิดเห็น