สงสัยจะมีปัญหากับโพรงจมูก “ไซนัส” ร้ายแรงกว่าที่คิด เป็นแล้วเป็นอีกได้!!!

ในแต่ละวัน เราไม่สามารถรู้ได้เลยว่า เรารับสารพิษหรือสิ่งที่ทำให้เกิดโทษต่อร่างกายมากน้อยเพียงใด และสิ่งเหล่านั้นอาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของเรา จากที่เห็นได้ชัดคือ การเกิดโรคภัยไข้เจ็บ ซึ่งเป็นปัญหาที่ใครหลายๆคนไม่อยากเจอ

วันนี้ “เชียงใหม่นิวส์” จะมาพาคุณไปรู้จักกับ “โรคไซนัส” ที่เป็นภัยใกล้ตัว ร้ายแรงกว่าที่คิด รวมถึงบอกวิธีการป้องกันการเกิดซ้ำของโรค

ไซนัสคืออะไร ?

ไซนัส (Sinusitis) คือ โพรงอากาศหรือช่องว่างภายในโพรงจมูก มี 4 ตำแหน่ง ได้แก่ โพรงไซนัสบริเวณโหนกแก้ม โพรงไซนัสรอบโพรงจมูก  โพรงไซนัสระหว่างเบ้าตา และ โพรงไซนัสที่หน้าผากระหว่างคิ้ว

โพรงไซนัสช่วยให้เวลาพูดเสียงของเราก้องกังวาน ช่วยปรับสภาพอากาศที่เราหายใจเข้าไปให้เหมาะสมกับร่างกาย เช่น อุณหภูมิ ความชื้น  ความบริสุทธิ์ต่างๆ ช่วยป้องกันอันตรายของสมองหากถูกกระทบกระเทือน

ไซนัสอักเสบได้อย่างไร ?

เกิดจากเชื้อโรคที่เข้าสู่โพรงจมูกขณะที่หายใจ เมื่อเชื้อโรคที่อยู่ในจมูกเข้าไปในโพรงอากาศของไซนัสทำให้เกิดการติดเชื้อขึ้น และมีการอักเสบของเยื่อบุจมูก คนที่มีอาการจากภูมิแพ้ที่มีอาการจาม คัดแน่นจมูก และคันจมูกเป็นประจำ มักจะทำให้ทางเชื่อมระหว่างไซนัสกับโพรงจมูกมีอาการบวมและเกิดการอุดตัน นำไปสู่การเป็นสาเหตุอันหนึ่งที่จะเป็น “โรคไซนัสอักเสบ” ได้

ไซนัสอักเสบมี 3 ชนิด

  1. โรคไซนัสอักเสบแบบเฉียบพลัน (Acute sinusitis) เป็นชนิดหลักๆ ที่พบได้ทั่วไป ซึ่งอาการผู้ป่วยจะค่อนข้างแย่ในช่วง 10 วันสุดท้าย แต่ส่วนใหญ่แล้วอาจจะไม่ได้เกิดจากสาเหตุที่อันตรายหรือรุนแรง
  2. โรคไซนัสอักเสบแบบเรื้อรัง (Chronic sinusitis) อาการจะเป็นน้อยกว่าโรคไซนัสอักเสบแบบเฉียบพลัน โดยจะมีระยะเวลาอยู่มากกว่า 12 สัปดาห์ และอาจจะต้องใช้ระยะเวลาพอสมควรในการรักษา
  3. โรคไซนัสอักเสบกึ่งเฉียบพลัน (Subacute sinusitis) จะมีระยะเวลาในการติดเชื้อไม่เกิน 8 สัปดาห์ และมีวิธีที่สามารถรักษาให้หายได้ง่าย

สาเหตุที่ทำให้ไซนัสอักเสบ

  1. การติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย เช่น โรคหวัด ไข้หวัดใหญ่ หัด
  2. สิ่งแปลกปลอมเข้าจมูก เช่น การสำลักทำให้สิ่งแปลกปลอมติดโพรงจมูก
  3. สารเคมีเข้าจมูก ควัน หรือ ฝุ่นละอองที่มีปริมาณมากจนระคายเคืองเยื่อบุและโพรงจมูก
  4. โรคภูมิแพ้ โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจ จะทำให้มีสารคัดหลั่งออกมามากผิดปกติ
  5. ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ทำให้ เกิดการติดเชื้อได้ง่าย เช่น ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ  โลหิตจาง เป็นต้น
  6. โรคเนื้องอกในระบบทางเดินหายใจ หรือ มะเร็งจมูก เป็นต้น

อาการของไซนัสอักเสบ

โดยทั่วไปอาการไซนัสอักเสบ จะมีอาการหวัดนำมาก่อน หรือ อาการของโรคภูมิแพ้ เช่น ไอ มีน้ำมูก คัดจมูก และอาการที่บ่งชี้ว่ามีความผิดปกติที่ไซนัส หรือ ไซนัสอักเสบ ได้แก่

  1. อาการปวดศีรษะ และปวดบริเวณโพรงไซนัสที่อักเสบ เช่น ปวดโหนกแก้ม ปวดหัวตาทั้ง 2 ข้าง หรือหน้าผาก ปวดบริเวณโพรงจมูกร่วมด้วย เป็นต้น
  2. คัดและแน่นจมูก หายใจลำบาก หายใจลำบากต้องหายใจทางปากช่วย มีน้ำมูกหรือเสมหะสีเขียวเหลืองได้  มีความรู้สึกน้ำมูกไหลงลงคอเรื่อยๆ บางรายมีกลิ่นเหม็นในจมูก หรือ เหม็นคาวในลำคอ
  3. มีไข้ร่วมกับอาการปวดบริเวณโพรงไซนัส และปวดศีรษะ
  4. เบื่ออาหาร ไม่ได้กลิ่นหรือ รสชาติอาหาร
  5. เจ็บคอมาก มีเสมหะ หรือกลืนลำบาก
  6. มีอาการได้ยินลดลง หูอื้อ ปวดในหู

ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากไซนัสอักเสบ

  1. การติดเชื้อ ผู้ป่วยโรคไซนัสอักเสบ การติดเชื้อถือเป็นอาการของภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นได้เป็นปกติ แต่การติดเชื้อก็จะค่อยๆ ดีขึ้นตามลำดับตามระยะเวลาของโรค
  2. การรับรู้ด้านการสัมผัสลดลง โดยเฉพาะการสัมผัสกลิ่น ซึ่งประสิทธิภาพในการรับรู้กลิ่นจะลดลง หากก็เกิดขึ้นแค่เพียงชั่วคราวเท่านั้น หรือบางรายก็อาจจะสูญเสียแบบถาวร ในกรณีที่เกิดการอุดตันบริเวณรูจมูก จะทำให้เส้นประสาทสำหรับการดมกลิ่นอักเสบตามมา
  3. ต่อมน้ำลายอุดตัน สาเหตุมาจากเมือกที่อยู่ในโพรงไซนัสมาอุดตันต่อมน้ำลาย ทำให้กลายเป็นไวรัส ซึ่งสามารถขยายไปสู่โครงสร้างทั่วไปภายในระบบหายใจ

การรักษา มี 3 วิธี

  1. การใช้ยารักษา
  2. การล้างไซนัส
  3. การผ่าตัด

ผู้ที่มีความเสี่ยงเกี่ยวกับไซนัส

ที่จริงแล้วไม่ว่าใครก็สามารถเป็นไซนัสอักเสบได้แม้แต่เด็กแรกเกิดซึ่งมีไซนัสขนาดเล็กๆ แต่บุคคลที่มีโอกาสเป็นไซนัสอักเสบได้ง่ายกว่าคนทั่วไป ได้แก่

  1. คนที่เป็นโรคภูมิแพ้ทางจมูก เมื่อเกิดอาการแพ้จะเหมือนคนเป็นหวัด เยื่อบุจมูกจะบวม รูเปิด ไซนัสจะตีบตันทำให้เกิดการอักเสบในไซนัสได้
  2. คนที่มีความผิดปกติของช่องจมูก เช่น ผนังกั้นระหว่างช่องจมูกคด ทำให้ช่องจมูกแคบกว่าปกติเกิดอาการแน่นคัดจมูก และขัดขวางการไหลเวียนตามปกติของน้ำมูกที่จะไปทางด้านหลังทำให้มีโอกาสเกิดการอักเสบติดเชื้อง่ายขึ้น
  3. คนที่สูบบุหรี่ และคนที่อยู่ในเขตมลภาวะเป็นพิษ จะมีผลทำให้ภูมิต้านทานต่อการติดเชื้อลดลง มีโอกาสเป็นไซนัสอักเสบมากขึ้น
  4. การว่ายน้ำสระที่ใส่น้ำยาคลอรีน หรือฆ่าเชื้อด้วยโอโซน อาจทำให้มีโอกาสเป็นไซนัสอักเสบเกิดขึ้น เพราะว่ามีการระคายเคืองของเยื่อบุเกิดขึ้น

สรุป

โรคไซนัสสามารถเป็นซ้ำได้ เกิดขึ้นได้ในทุกเพศทุกวัยและสร้างความไม่สุขสบายให้กับผู้ที่เป็น อย่างไรก็ตาม การดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ และทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย จะช่วยให้เราปลอดภัยจากโรคได้

เรียบเรียงโดย : “เชียงใหม่นิวส์”

บทความที่เกี่ยวข้อง 

บทความสุขภาพที่เกี่ยวข้อง

ระบบทางเดินหายใจ
สงสัยจะมีปัญหากับโพรงจมูก “ไซนัส” ร้ายแรงกว่าที่คิด เป็นแล้วเป็นอีกได้!!!
“ภูมิแพ้” คืออะไร ทำไมหลายคนเป็นแล้วไม่หาย
เลือกให้ถูก ! หน้ากากอนามัยแต่ละแบบใช้อย่างไร

ไข้หวัด
ฝนตกปรอยๆ…ระวังโรคตามมา
รู้ทันไข้หวัดใหญ่ ป้องกันไว้สบายใจกว่า
งูสวัด หรือที่ภาษาเหนือเรียกว่า “มะเฮ็ง” ร้ายแรงถึงตายได้จริงหรือ

ร่วมแสดงความคิดเห็น