โรคแพ้ถั่วปากอ้า G6PD โรคร้ายที่คนเชียงใหม่…ไม่รู้จัก

ใครเคยได้ยิน “โรคแพ้ถั่วปากอ้า G6PD” บ้าง รู้ไหมในปี 2013 มีคนเสียชีวิตเพราะโรคนี้ ประมาณ 4,000 คน จาก 400 ล้านคนทั่วโลก ส่วนใหญ่เสียชีวิตเพราะไม่รู้ว่าตัวเองป่วยเป็นโรคนี้ ซึ่งจริงๆ แล้วโรคแพ้ถั่วปากอ้า G6PD ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด ถ้าหากเรารู้จักป้องกันตัวเองให้ดี

เมื่อเป็นโรคแพ้ถั่วปากอ้า G6PD ควรปฏิบัติตัวอย่างไร วันนี้ “เชียงใหม่นิวส์” จะเล่าเรื่องให้ฟัง

ถั่วปากอ้า ต้นเหตุของโรค

โรคแพ้ถั่วปากอ้า G6PD คืออะไร

โรคแพ้ถั่วปากอ้า G6PD คือ ภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD เป็นโรคที่มีการถ่ายทอดจากพันธุกรรม พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง ถ้าร่างกายขาดเอนไซม์ G6PD เมื่อถูกกระตุ้นด้วยของแสลง โดยเฉพาะการทานยาบางชนิด หรือทานถั่วปากอ้า จะทำให้เม็ดเลือดแดงแตกตัวง่าย ซึ่งเป็นที่มาของชื่อโรคอีกอย่างหนึ่งว่า “โรคแพ้ถั่วปากอ้า”

ภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD คืออะไร

เอนไซม์ G6PD เป็นเอนไซม์สำคัญที่อยู่ในเซลล์ทั่วไป ทำหน้าที่สร้างสารที่ช่วยป้องกันไม่ให้เม็ดเลือดแดงแตกตัว หรือเกิดภาวะเม็ดเลือดแดงเสียหาย

อาการของโรคแพ้ถั่วปากอ้า G6PD

เด็ดที่เป็นโรคนี้จะตัวเหลืองตั้งแต่เกิด

ปกติแล้วผู้ป่วยโรคแพ้ถั่วปากอ้าจะไม่แสดงอาการ แต่หากได้รับสารกระตุ้น หรือมีการติดเชื้อบางอย่างก็จะเกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตกเฉียบพลัน ซึ่งอาการจะเกิดขึ้นใน 24-48 ชั่วโมง หลังจากได้รับสารกระตุ้น โดยมีอาการไข้ขึ้นสูง หนาวสั่น ซีดเหลือง อ่อนเพลียมาก ปัสสาวะมีสีดำคล้ายน้ำปลา หรือโคล่า

โรคแพ้ถั่วปากอ้า G6PD เป็นแล้วหายขาดไหม

โรคแพ้ถั่วปากอ้า G6PD เป็นความผิดปกติทางพันธุกรรม ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ฉะนั้นแพทย์จะแนะนำวิธีป้องกันโรค G6PD ด้วยการให้เราดูแลตัวเองอย่างถูกวิธี เพื่อหลีกเลี่ยงอาการของโรคแทน และอย่างที่ทราบกันดีว่า เมื่อเราเป็นโรคแพ้ถั่วปากอ้า G6PD การหยิบถั่วปากอ้าขึ้นมากิน ถือเป็นเรื่องต้องห้ามทันที

โรคแพ้ถั่วปากอ้า G6PD กินถั่วเหลืองได้ไหม

หลายคนสงสัยว่าโรคแพ้ถั่วปากอ้าสามารถกินถั่วชนิดอื่นได้ไหม เช่น ถั่วเหลืองแปรรูป ตั้งแต่นมถั่วเหลือง เต้าหู้ หรือของว่างที่มีส่วนผสมของถั่ว ผู้ป่วยโรค G6PD สามารถกินถั่วเหลือง และถั่วชนิดอื่น ๆ ได้ แต่ความรุนแรงของโรคแพ้ถั่วปากอ้า G6PD จะไม่เท่ากัน ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยแนะนำให้กินถั่วเหลือง หรือผลิตภัณฑ์ถั่วเหลืองในปริมาณน้อย ๆ แต่ทางที่ดีควรปรึกษาแพทย์ก่อนจะทานผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของถั่ว

การดูแลตัวเองเมื่อเป็น โรคแพ้ถั่วปากอ้า G6PD

  1. หากทราบว่าเป็นโรคแพ้ถั่วปากอ้า ควรหลีกเลี่ยงอาหารและยา ที่มีผลทำให้เกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตกเฉียบพลัน
  2. แจ้งให้แพทย์ พยาบาล และเภสัชกรทราบทุกครั้ง
  3. เมื่อมีอาการเจ็บป่วย ควรปรึกษาแพทย์ และไม่ควรซื้อยามากินเองไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
  4. เมื่อมีอาการซีดลง เหนื่อย อ่อนเพลีย มีปัสสาวะสีโคล่า ควรพบแพทย์โดยด่วน
  5. สำหรับผู้ป่วยเด็ก ควรแจ้งให้กับทางโรงเรียนได้ทราบว่าเด็กนั้นเป็นโรคแพ้ถั่วปากอ้า เพื่อหลีกเลี่ยงอาหารและยาบางชนิดที่มีส่วนทำให้เกิดอาการนี้ได้
  6. เมื่อโตขึ้น ควรสอนให้เขาหลีกเลี่ยงอาหาร หรือสารที่อาจทำให้เกิดการกระตุ้นภาวะเม็ดเลือดแดงแตก
  7. สอนให้สังเกตอาการผิดปกติ เช่น สีของปัสสาวะ สีผิวที่อาจซีดเหลืองเมื่อได้รับสารกระตุ้น เป็นต้น

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง

1.ไวน์แดง

ควรหลีกเลี่ยงไวน์แดง

2.พืชตระกูลถั่ว

ถั่วหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค

3.บลูเบอรี่

บลูเบอร์รี่ ผลไม้ที่ควรหลีกเลี่ยง

4.โยเกริตที่มีส่วนประกอบของถั่วปากอ้า ไวน์แดง พืชตระกูลถั่ว บลูเบอรี่

5.ถั่วเหลือง

ก่อนทานผลิตภัณฑ์ถั่วเหลือง ควรปรึกษาแพทย์

6.โทนิค (tonic)

เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของโทนิค

7.โซดาขิง

โซดาที่มีส่วนผสมของขิง

8.การบูร ลูกเหม็น

การบูร หรือลูกเหม็นมีสารที่ก่อให้เกิดการแพ้

ยาที่ควรหลีกเลี่ยง

  1. กลุ่มยาแก้ปวด ลดไข้
  2. กลุ่มยารักษาโรคมาเลเรีย
  3. กลุ่มยาปฏิชีวนะ และยาเคมีบำบัด
  4. กลุ่มยาโรคหัวใจ และหลอดเลือด
  5. ยาฏิชีวนะกลุ่มซัลฟา
  6. กลุ่มยาอื่นๆ เช่น Vitamin K, Ascorbic acid หรือ Vitamin C 100%

สรุป

โรคแพ้ถั่วปากอ้า G6PD ไม่ใช่โรคที่น่ากลัว หรือโรคที่รุนแรง อาการของโรคแพ้้ถั่วปากอ้าจะไม่เกิดขึ้น หากเรารู้จักวิธีป้องกัน และดูแลตัวเองอย่างถูกวิธี คนที่เป็นโรคแพ้ถั่วปากอ้าสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ ไม่ว่าจะเป็นการเล่นกีฬา ท่องเที่ยว หรือทำกิจกรรมต่างๆ ส่วนใหญ่โรคนี้เป็นกันตั้งแต่เกิด ผู้ปกครองควรสอนให้เด็กระมัดระวัง จดจำชื่อโรค และควรบอกเพื่อน หรือคนสนิทว่าเป็นโรคแพ้ถั่วปากอ้า เพื่อกันไม่ให้เกิดการกลั่นแกล้ง จนเป็นเรื่องราวใหญ่โต

เรียบเรียงโดย : “เชียงใหม่นิวส์”

ร่วมแสดงความคิดเห็น