แพร่ ประกาศกำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันในปี 2562 ห้ามเผาเด็ดขาด 15 ก.พ.เป็นต้นไป

ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัดแพร่มาเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2562 นายวัฒนา สาคร หัวหน้า สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดแพร่ เผยว่า สำนักงาป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดแพร่ ร่วมกับ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดแพร่ สำนักบริหาร พื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 แพร่ สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 3 สาขาแพร่ และหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ร่วมรณรงค์( Kick Off) การป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันจังหวัดแพร่ ประจำปี 2562 ณ สถาบันประชารัฐพิทักษ์ป่า อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ โดยมีนายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ เป็นประธาน ในพิธีเปิดและปล่อยขบวนรณรงค์และปฏิบัติการป้องกันแก้ไขปัญหาไฟป่า

จังหวัดแพร่ ประกาศกำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันในปี 2562 ห้ามเผาเด็ดขาด ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ – 15 เมษายน 2562 ห้ามเผาป่า ขยะมูลฝอย เศษกิ่งไม้ ใบหญ้า ห้ามจุดไฟ สองข้างทาง กลางทุ่งนา ในเขตป่า เขตบ้านเรือน โดยเด็ดขาด ฝ่าฝืนระวางโทษทั้งจำคุกและปรับ เพื่อจังหวัดแพร่ สดใส ไร้หมอกควัน

นายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ เปิดเผยว่า ในช่วงฤดูแล้งระหว่างเดือนมกราคม – เมษายน ของทุกปี พื้นที่จังหวัดแพร่มักประสบปัญหามลพิษจากหมอกควัน ซึ่งมีสาเหตุจากการพื้นที่ป่า การเผาพื้นที่การเกษตรการ เผาวัชพืชริมทาง และการเผาขยะมูลฝอยชุมชน ประกอบกับลักษณะภูมิประเทศที่เป็นแอ่งกระทะ สภาวะอากาศที่แห้งแล้งและนิ่ง ความกดอากาศสูงแผ่เข้ามาปกคลุม ทำให้ฝุ่นละอองลอยอยู่ในบรรยากาศ ส่งผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมสุขภาพอนามัยของประชาชน ตลอดจนบดบังทัศนวิสัย และส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวอีกด้วย

ดังนั้น เพื่อให้การป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงกำหนดให้วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562 ถึงวันที่ 15 เมษายน 2562 เป็นช่วงวิกฤตหมอกควันและกำหนดให้ทุกพื้นที่ทุกหมู่บ้านในท้องที่จังหวัดแพร่เป็น “เขตควบคุมไฟป่า” โดยกำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันประจำปี 2562 ดังนี้(1) ห้ามเผาพื้นที่ป่า ขยะมูลฝอย เศษกิ่งไม้ ใบหญ้า ในทุกพื้นที่ตลอดจนห้ามจุดไฟเผาบริเวณสองข้างทางแบ่งพื้นที่ทางการเกษตรในช่วงวิกฤต(2) ให้จัดทำแนวกันไฟและบริหารจัดการเชื้อเพลิงในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ พื้นที่การเกษตร พื้นที่ดิน ทาง และพื้นที่เสี่ยงต่อการเผา ก่อนถึงช่วงวิกฤตหมอกควัน(3) ให้จัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรโดยการไถกลบ หรือนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ เช่นทำปุ๋ยหมัก อัดแท่งเป็นอาหารสัตว์ นำมาผลิตเป็นก้อนเชื้อเพลิงชีวมวล เป็นต้น (4) ให้ทุกหน่วยงานระดมสรรพกำลังในการประชาสัมพันธ์ รณรงค์ เฝ้าระวัง ป้องกันและลาดตระเวนพื้นที่เสี่ยงอย่างเข้มข้นในช่วงวิกฤตหมอกควัน

ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ กล่าวว่า ผู้ใดจุดไฟเผาป่า หรือกระทำให้เกิดเพลิงไหม้แต่วัสดุใด ๆ แม้เป็นของตนเองจนน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลอื่นหรือทรัพย์สินของผู้อื่น หรือกระทำใด ๆ อันเป็นเหตุให้เกิดกลิ่น ความร้อน สิ่งมีพิษ ฝุ่นละออง เขม่าเท่า หรือกรณีอื่นใดจนเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ หรือขัดค่ำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือกระทำการฝ่าฝืนกฎหมายดังนี้

1) พระราชบัญญัติป่าไม้ พ. ศ. 2484 มาตรา 54 ห้ามมิให้ผู้ใด ก่อสร้าง แผ้วถาง หรือเผาป่า หรือกระทำการด้วยประการใด ๆ อันเป็นการทำลายป่า หรือเข้ายึดถือหรือครอบครองป่าเพื่อตนเองหรือผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ในกรณีได้กระทำเป็นเนื้อที่เกินยี่สิบห้าไร่ผู้กระทำผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ สองปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท

2) พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ. ศ. 2504 มาตรา 16 ภายในเขตอุทยานแห่งชาติ ห้ามมิให้บุคคลใด ยึดถือหรือครอบครองที่ดิน รวมตลอดถึงก่อสร้าง แผ้วถาง หรือเผาป่า หรือทิ้งสิ่งที่เป็นเชื้อเพลิงซึ่งอาจทำให้เกิดเพลิง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

3) พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 14 ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ห้ามมิให้บุคคลใดยึดถือครอบครองทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในที่ดิน ก่อสร้าง แผ้วถาง เผาป่า ทำไม้ เก็บหาของป่า หรือกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปีและปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท ในกรณีได้กระทำเป็นเนื้อที่เกินยี่สิบห้าไร่ หรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่(1) ไม้สัก ไม้ยาง ไม้สนเขา หรือไม้หวงห้ามประเภท ข.ตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ หรือ(2) ไม้อื่นที่เป็นต้นหรือเป็นท่อนอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างรวมกันเกินยี่สิบต้นหรือท่อน หรือรวมปริมาณไม้เกินสี่ลูกบาศก์เมตร หรือ
(3) ต้นน้ำลำธาร หรือ
(4) พื้นที่ชายฝั่งต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงสองล้านบาท4) พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ. ศ. 2535 มาตรา 38 ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ห้ามมิให้ผู้ใดยึดถือ ครอบครองที่ดินหรือปลูก หรือก่อสร้างสิ่งหนึ่งสิ่งใด หรือตัด โค่น แผ้วถาง เผา หรือทำลายต้นไม้หรือพฤกษชาติอื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 5) พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ. ศ. 2535 มาตรา 27 ในกรณีที่มีเหตุรำคาญเกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้นในที่หรือทางสาธารณะ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้บุคคลซึ่งเป็นต้นเหตุหรือเกี่ยวข้องกับการก่อให้เกิดเหตุรำคาญนั้น ระงับหรือป้องกันเหตุรำคาญภายในเวลาอันสมควรตามที่ระบุไว้ในคำสั่งผู้ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินสองพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ 6) พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายอาญา พ. ศ. 2499 มาตรา 220 ผู้ใดกระทำให้เกิดเพลิงไหม้แก่วัตถุใด ๆ แม้เป็นของตัวเอง จนน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลอื่นหรือทรัพย์สินของผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นสี่พันบาท

ร่วมแสดงความคิดเห็น