แพ้อาหารทะเล โรคภูมิแพ้ที่ไม่หายขาด

“แพ้อาหารทะเล” สามารถเกิดขึ้นได้ทุกช่วงวัยใด ไม่จำเป็นต้องแพ้ตั้งแต่เด็ก มีผู้ใหญ่หลายคนที่พึ่งรู้ตัวว่าแพ้อาหารทะล ทั้งที่ก่อนหน้านั้นทานได้ตามปกติ การแพ้อาหารทะเลในผู้ใหญ่ พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย แต่อาการแพ้อาหารทะเลของเด็ก มักพบในเด็กผู้ชายมากกว่า

ทำไมเราถึงแพ้อาหารทะเล วันนี้ “เชียงใหม่นิวส์” จะเล่าให้ฟัง

แพ้อาหารทะเล คืออะไร

การแพ้อาหารทะเล ถือเป็นโรคภูมิแพ้ชนิดหนึ่ง เกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันได้รับปฏิกิริยาตอบสนองผิดปกติ ต่อโปรตีนในสัตว์น้ำทะเล และสัตว์น้ำจืดบางชนิด ได้แก่ สัตว์น้ำมีเปลือกทั้งหลาย เช่น กุ้ง ปู หอยนางรม หอยแครง ล็อบสเตอร์ หรือปลาหมึกชนิดต่าง ๆ ในแต่ละคนจะมีอาการแพ้แตกต่างกัน ตั้งแต่ระดับที่ไม่รุนแรงจนถึงขั้นเป็นอันตรายต่อชีวิต

อาหารทะเล

สาเหตุของการแพ้อาหารทะเล

อาการแพ้ที่เกิดจากอาหารทั้งหลาย มีสาเหตุจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดยอาหารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ดังกล่าว จะถูกตรวจจับว่าเป็นอันตราย จึงมีการกระตุ้นให้เกิดการผลิตสารภูมิต้านทาน (Antibodies) เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันต่อสารชนิดนั้นขึ้น ระบบภูมิคุ้มกันจะจำไว้ว่าสารดังกล่าวเป็นอันตราย จึงปล่อยสารฮีสทามีน และสารเคมีอื่นๆ ออกมาเพื่อป้องกัน และจู่โจม ซึ่งสารเหล่านี้คือสาเหตุของอาการแพ้ที่ตามมา

อาการของการแพ้อาหารทะเล

1.เกิดลมพิษ รู้สึกคัน หรือมีผื่นขึ้นตามผิวหนัง
2.คัดจมูก หายใจเสียงดังวี้ด หรือหายใจลำบาก
3. มีอาการบวมที่ใบหน้า ลำคอ ริมฝีปาก ลิ้น หรือส่วนอื่นๆ ของร่างกาย เช่น หู ฝ่ามือ นิ้วมือ
4. ปวดท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน
5. รู้สึกมึนงง วิงเวียน บ้านหมุน คล้ายจะเป็นลม หรือหมดสติ
6. ปวดคล้ายเข็มทิ่มในปาก
7. ชีพจรเต้นเร็ว
8.มีอาการช็อก เนื่องจากความดันโลหิตลดต่ำลงมาก
9. บางรายมีอาการแพ้รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต

ผื่นที่เกิดจากการแพ้

การป้องกัน การแพ้อาหารทะเล

สำหรับใครที่รู้ตัวว่าแพ้อาหารทะเล ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานสัตว์น้ำมีเปลือก รวมถึงอาหาร ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมจากอาหารทะเล

1.ระมัดระวังเมื่อรับประทานอาหารนอกบ้าน โดยแจ้งให้ทางร้านทราบเสมอ
2. อ่านฉลากที่ผลิตภัณฑ์ก่อนทุกครั้ง เพื่อหลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนผสมของอาหารทะเล
3. เด็กที่แพ้อาหารทะเล ควรแจ้งให้ทางโรงเรียนทราบ เพื่อป้องกันการรับประทาน และการสัมผัส
4. ผู้ที่แพ้รุนแรง ควรอยู่ให้ห่างสถานประกอบการที่เกี่ยวกับทะเล เช่น ตลาดสด ร้านอาหารทะเล
5. ควรพกยาแก้แพ้ติดตัวเสมอ
6. ผู้ป่วยที่แพ้รุนแรง แพทย์จะให้พกยาเอพิเนฟรินติดตัวไว้ตลอดเวลา

ยาเอพิเนฟริน (Epinephrine) คืออะไร

อิพิเนฟริน (Epinephrine) หรืออะดรีนาลีน (Adrenaline) เป็นยาที่ใช้ในกรณีฉุกเฉินทางการแพทย์ โดยมักใช้รักษาภาวะแพ้อย่างรุนแรง ที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต เช่น แพ้แมลงกัดต่อย แพ้อาหาร แพ้ยา หรือแพ้สารชนิดอื่น ใช้รักษาภาวะช็อก หรือความดันโลหิตต่ำรุนแรง ทั้งกระตุ้นการทำงานของหัวใจเมื่อหัวใจหยุดเต้น

แพ้อาหารทะเล หายขาดได้หรือไม่

การแพ้อาหารทะเล มีโอกาสหายขาดน้อยกว่า 10-20% บางครั้งทานแล้วไม่มีอาการแพ้ เพราะผู้ป่วยมีอาการแพ้อาหารทะเลแค่บางชนิด เมื่อทานสิ่งที่ไม่แพ้จึงไม่เกิดอาการ ซึ่งไม่ได้แปลว่าหายแพ้ อย่างเช่น มีประวัติแพ้กุ้งชัดเจน แต่ทานกุ้งบางพันธุ์แล้วไม่เกิดอาการ เป็นต้น

สรุป

“แพ้อาหารทะเล” จะเรียกว่าเป็นโรคทางพันธุกรรมก็ไม่เชิง เพราะหากบุคคลในครอบครัว เคยมีอาการแพ้ยา อาหาร หรือสารใดๆ ก็ตาม สมาชิกในครอบครัวมีโอกาสเสี่ยงต่อการแพ้อาหารทะเลมากกว่าปกติด้วย แต่ละคนมีความเสี่ยงต่อการแพ้อาหารไม่เท่ากัน บางคนแพ้น้อยเป็นแค่ผื่นขึ้น แต่สำหรับบางคนแพ้ถึงขั้นเสียชีวิต การป้องกันตัวเองที่ดีคือการหลีกเลี่ยงการทานอาหารทะเลทุกชนิด หากใครที่แพ้รุนแรง และเกิดอาการขึ้น ควรฉีดยาเอพิเนฟริน เพื่อรักษาอาการแพ้รุนแรงก่อนไปโรงพยาบาล

เรียบเรียงโดย : “เชียงใหม่นิวส์”

ขอบคุณข้อมูลจาก
Pobpad.com
Theasianparent.com

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคภูมิแพ้

โรคความดัน

ความโกรธทำให้ความดันขึ้นจริงหรือ?

สงสัยจะมีปัญหากับโพรงจมูก “ไซนัส” ร้ายแรงกว่าที่คิด เป็นแล้วเป็นอีกได้!!!

“ภูมิแพ้” คืออะไร ทำไมหลายคนเป็นแล้วไม่หาย

โซเดียมสูง! เสี่ยงโรค ปรับวิถีการกินเลี่ยงเกิดโรค

ไขมันทรานส์ ความเสี่ยงที่มากับอาหาร

น้ำเปล่า ดื่มน้อย เสี่ยงติดเชื้อในท่อปัสสาวะ

ควรรู้ เคี้ยวช้า ส่งผลดีต่อร่างกายมากกว่าที่คิด

เต้าหู้ ประโยชน์ล้นตัว อย่ามัวเมิน


ร่วมแสดงความคิดเห็น