นอนดึก โรคเยอะ อันตรายแยะ

มีหลายคนคิดว่า “การนอนดึก” เป็นเรื่องปกติ โดยเฉพาะวัยรุ่น และวัยทำงาน ส่วนใหญ่คงทราบกันแล้วว่า การนอนดึกทำให้ตื่นมาไม่สดชื่น ง่วงระหว่างวัน ขอบตาคล้ำบ้างเป็นเรื่องปกติ แต่ปัญหาของการนอนดึกมีมากกว่านั้น ทั้งโรคมะเร็งลำไส้ โรคหัวใจ โรคเบาหวาน และอีกหลายๆ โรคที่เกิดขึ้น เพราะร่างกายปรับการทำงานไม่ทัน

การนอนดึก ทำเกิดโรคได้อย่างไร วันนี้ “เชียงใหม่นิวส์” จะเล่าให้ฟัง

การนอนดึก แบ่งกลุ่มตามอาการได้ดังนี้

1.กลุ่มของผู้มีอาการนอนหลับไม่เพียงพอ

2.กลุ่มของผู้มีอาการนอนมากจนเกินไป

การหาว เป็นการปรับให้ร่างกายเตรียมพร้อม

นอนหลับไม่เพียงพอคืออะไร

นอนหลับไม่เพียงพอ คือ การนอนน้อย นอนไม่หลับ หรือทำงานและอ่านหนังสือสอบจนดึก เมื่อสะสมนานเข้าก่อให้เกิดปัญหาตามมามากมาย ไม่ว่าจะตื่นสาย กลิ่นตัวแรง เครียด หงุดหงิดง่าย และสุดท้ายก็คืออาการนอนไม่หลับเรื้อรัง

นอนมากเกินไปคืออะไร

นอนมากเกินไป หรือโรคนอนเกิน (Hypersomnia) เป็นโรคที่หลับเกินพอดี หรือโรคขี้เซา ยิ่งนอนมากเท่าไหร่ ยิ่งรู้สึกไม่พอ และจะนอนหลับยาวนานเกิน 8 ชม.ขึ้นไป มีอาการเฉื่อยชา ไร้ชีวิตชีวา ทานน้อยอ้วนง่าย เพราะกระเพาะอาหารไม่ย่อย และเกิดไขมันสะสม นอกจากนี้ยังทำให้เกิดอาการ โรคซึมเศร้า ได้ง่ายถึง 49% ถือว่ามากกว่าคนปกติ

ควรแบ่งเวลาหลับให้เพียงพอต่อร่างกาย

โรคที่มาในกลุ่มผู้ที่นอนหลับไม่เพียงพอ

1.โรคมะเร็งลำไส้
เมื่อนอนดึกเราจะตื่นสาย ทำให้ไม่มีเวลาทานอาหารเช้าที่มีประโยชน์ ส่งผลให้เกิดความเสื่อมของระบบภายใน โดยเฉพาะลำไส้ จนกลายเป็นลำไส้อักเสบ และลุกลามจนกลายเป็นมะเร็งลำไส้ในที่สุด

2.โรคหลอดเลือดหัวใจ
สารโปรตีนจะสะสมมากขึ้นในหัวใจ หากเราตื่นโดยธรรมชาติ แต่ถ้าเรานอนดึกสารโปรตีนเหล่านี้ จะเข้าไปเกาะที่หลอดเลือดหัวใจแทน ทำให้เกิดการอุดตัน และมีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจถึง 2 เท่า

3.โรคเบาหวาน
คนที่เป็นเบาหวาน หากพักผ่อนไม่เพียงพอ จะทำให้ระดับกลูโคสในเลือดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว 23% ทั้งระดับอินซูลินในเลือด ก็สูงขึ้นอย่างรวดเร็วถึง 48 %

4.ระบบร่างกายรวน
ระบบย่อยอาหารทำงานผิดปกติ ทำให้เกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และถ่ายไม่เป็นปกติ เพราะกระเพาะอาหารเกิดการล้า ทำให้ย่อยอาหารได้ไม่ดีเท่าที่ควร

5.โรคนอนไม่หลับเรื้อรัง
บางคนใช้เวลาเกิน 30 นาที ถึงจะสามารถหลับได้ หรืออาจหลับๆ ตื่นๆ ทั้งคืน บางทีตื่นกลางดึก แล้วไม่นอนไม่หลับอีก โรคนอนไม่หลับส่งผลต่อการเข้าห้องน้ำบ่อยขึ้น ในเวลากลางคืน เพราะร่างกายจะดูดซับน้ำมากกว่าคนปกติ หากเป็นโรคนอนไม่หลับเรื้อรัง จะต้องมีอาการแบบนี้เกิน 1 เดือน

6.สมรรถภาพทางเพศเสื่อมลง
การนอนไม่หลับทำให้ฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนต่ำลง ส่งผลให้ความต้องการทางเพศลดต่ำลงด้วย ผู้ที่เสื่อมสรรถภาพทางเพศส่วนใหญ่ มักมีสาเหตุมาจากการพักผ่อนน้อย หรือนอนไม่หลับนั่นเอง

7.อารมณ์แปรปรวนง่าย
เมื่อนอนไม่ค่อยหลับ จะมีอาการอ่อนเพลีย ทำให้รู้สึกหงุดหงิด อารมณ์เสียง่าย และตัดสินใจพลาด เพราะสมองไม่ได้พักจึงทำงานได้ไม่เต็มที่

การอ่านหนังสือก่อนนอน ช่วยให้ร่างกายผ่อนคลายขึ้น

โรคที่มาในกลุ่มผู้ที่นอนหลับมากเกินไป

1.โรคกระดูกพรุน
เมื่อนอนมากไปส่งผลให้คิดเชื่องช้า เป็นคนไร้ชีวิตชีวา ขยับตัวน้อย เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนได้

2.เป็นโรคอ้วนได้ง่าย
หากนอนมากเกินไป กระเพาะอาหารจะไม่ค่อยทำงาน แม้กินนอนก็อ้วนง่าย ส่งผลให้เป็นโรคอื่นตามมา ทั้งโรคหัวใจ โรคความดัน โรคเบาหวานเป็นต้น

3.โรคซึมเศร้า
คนที่นอนมากกว่าวันละ 9 ชม. และน้อยกว่าวันละ 5 ชม. สมองจะทำงานแย่ลงในระยะเวลา 2 ปี เพราะฮอร์โมนในร่างกาย ที่เป็นสารแห่งความสุขลดลง

4.ภาวะมีบุตรยาก
คนที่นอนในระยะเวลา 7-8 ชม. ต่อวัน โอกาสมีลูกมากกว่าคนที่นอนนานเกินวันละ 9 เพราะฮอร์โมน และรอบเดือนของผู้หญิง จะเป็นปกติก็ต่อเมื่อต้องได้รับการพักผ่อนที่พอดี

5.สาเหตุให้เสียชีวิตเร็ว
คนที่นอนนานเกินกว่า 9 ชม.ต่อวัน จะเสียชีวิตเร็วกว่าคนที่นอน 7 – 8 ชม. ถึง 1.3 % เพราะผู้ที่นอนมากเกินไปจะหลับง่าย ทำให้ร่างกายไม่ค่อยขยับ และไม่สามารถเพิ่มออกซิเจนแก่อวัยวะภายในได้ จึงเป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิตได้ง่าย

6.เสี่ยงต่อสภาวะการหยุดหายใจแบบเฉียบพลัน (ไหลตาย)
เนื้อสมองตายเร็ว เนื่องจากการดับไปของสัญญาณสมอง ที่นานเกินเวลานอนของคนปกติ

วิธีแก้ปัญหาการนอนดึก

1.พยายามจัดการงานที่เครียดในช่วงต้นของวัน และให้เก็บงานที่ไม่ใช้ความคิดไว้ทำในตอนท้าย

2.กำหนดเวลานอนให้เป็นกิจวัตร โดยมีช่วงเวลาผ่อนคลายก่อนเข้านอน

3.ควรหยุดเล่นโทรศัพท์มือถือก่อนนอน ประมาณ 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง

4.สวมแว่นตาเลนส์สีเหลือง หรือสีส้มอ่อนเมื่อต้องทำงานดึก เพื่อป้องกันแสงสีน้ำเงินมากระทบดวงตา

5. จำกัดการบริโภคคาเฟอีน หรือหลีกเลี่ยงการบริโภคคาเฟอีนในช่วงบ่าย

6.หลีกเลี่ยงการบริโภคแอลกอฮอล์ก่อนนอน เพราะจะทำให้ตื่นระหว่างคืนง่าย แต่หากดื่มแอลกอฮอล์ ในตอนเย็น จะช่วยให้หลับง่ายขึ้น

7.ควรลุกจากเตียง หากไม่หลับภายใน 15-20 นาที ควรเปลี่ยนไปทำกิจกรรมอื่น เช่น อ่านหนังสือ

การนอนให้เพียงพอ ในคนแต่ละวัย

1.เด็กแรกเกิด อายุ 0-3 เดือน ควรนอน 14-17 ชั่วโมง/วัน
2.เด็กเริ่มคลาน อายุ 4-12 เดือน ควรนอน 12-15 ชั่วโมง/วัน
3.เด็กอ่อน อายุ 1-2ปี ควรนอน 11-14 ชั่วโมง/วัน
4.เด็กอนุบาล อายุ 3-5ปี ควรนอน 10-13 ชั่วโมง/วัน
5.เด็กประถม อายุ 6-13ปี ควรนอน9-11 ชั่วโมง/วัน
6.เด็กมัธยม อายุ 14-17 ปี ควรนอน 8-10 ชั่วโมง/วัน
7.เด็กมหาลัย อายุ 18-25 ปี ควรนอน 7-9 ชั่วโมง/วัน
8.ผู้ใหญ่ อายุ 26-64 ปี ควรนอน 7-9 ชั่วโมง/วัน
9.คนแก่ อายุ 65 ปีขึ้นไป ควรนอน 7-8 ชั่วโมง/วัน

สรุป

การนอนหลับไม่เพียงพอ หรือนอนมากจนเกินไป ไม่มีแบบไหนส่งผลดีต่อสุขภาพ เพราะทั้ง 2 แบบล้วนแล้วแต่เป็นสัญญาณร้าย ที่ทำให้สุขภาพร่างกายของเราแย่ลง โดยปกติการนอนที่ถูกต้องตามหลักสากล คือการนอนให้ครบ 6–8 ชั่วโมงต่อวัน เราสามารถบวกลบเวลานอนได้ 1 ชั่วโมงบ้างในบางกรณี การนอนดึกยังส่งผลให้เรามีเครียดง่ายขึ้น และเป็นต้นเหตุของกลิ่นตัวตามจุดต่างๆ อีกด้วย

ร่างกายอ่อนแอ

อย่างไรก็ตาม หากอาการนอนดึกรุนแรงขึ้น หรือเป็นติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ควรปรึกษากับแพทย์ทันที

เรียบเรียงโดย : “เชียงใหม่นิวส์”

ขอบคุณข้อมูลจาก

pobpad.com

บทความที่เกี่ยวข้อง

เบาหวานเป็นโรคของคนอ้วนจริงหรือ ?

บำรุงผิวใต้ตาให้ดูกระจ่างใส

โรคซึมเศร้าคืออะไร? ทำไมใครๆก็เป็น

สายปาร์ตี้ควรระวัง พิษจากสุรา ส่งผลถึงตาย!!!

อารมณ์ขึ้นๆลงๆ นี่เรากำลังเป็นโรคไบโพลาร์รึเปล่า?

ความโกรธทำให้ความดันขึ้นจริงหรือ ?

ความกลัวกับโรคกลัวต่างกันอย่างไร ?

หนักเค็ม! ทำให้ไตพัง เสี่ยงเสียชีวิตก่อนวัยอันควร

สายปาร์ตี้ควรระวัง พิษจากสุรา ส่งผลถึงตาย!!!

โซเดียมสูง! เสี่ยงโรค ปรับวิถีการกินเลี่ยงเกิดโรค

น้ำเปล่า ดื่มน้อย เสี่ยงติดเชื้อในท่อปัสสาวะ

เบาหวานเป็นโรคของคนอ้วนจริงหรือ ?

เต้าหู้ ประโยชน์ล้นตัว อย่ามัวเมิน

ร่วมแสดงความคิดเห็น