ร่มบ่อสร้าง สายใยวัฒนธรรมของเผ่าพันธุ์และชนชาติ

หลายพันกว่าปีที่ผ่านมา เราได้รับรู้เส้นทางอารยธรรมระหว่างเผ่าพันธุ์และชนชาติ ที่เรียกขานกันว่า “เส้นทางสายไหม” ซึ่งมีที่มาจากการค้าขายผ้าไหมอันงดงามลือชื่อของประเทศจีนในอดีตกับนานา

อารายธรรมหลายพันกว่าปีเช่นกัน…ยังมีอีกเส้นทางหนึ่งที่เชื่อมสายใยวัฒนธรรมระหว่างเผ่าพันธุ์และชนชาติ ที่ไม่ได้ถูกกล่าวขานถึงรากเง้าและวิถีความมีอยู่จริงจากอดีตมาถึงปัจจุบัน…นั่นก้อคือเส้นทางวัฒนธรรมแห่งร่มโลก จากดินแดนอันไพศาลกว้างใหญ่ของประเทศจีน ทางตอนใต้ ซึ่งติดต่อกับอาณาเขตของประเทศพม่า, ลาวและไทย

ซึ่งในอดีตยังไม่มีพรมแดนแบ่งอาณาเขต สร้างรั้วหลักปักปันเหมือนเช่นทุกนี้ แคว้นสิบสองปันนา, เมืองเชียงรุ้งประเทศจีน มีชนเผ่าไทยลื้อดำรงเผ่าพันธุ์อย่างปึกแผ่นแน่นหนา ด้วยทรัพยากรป่าไผ่อันอุดมสมบูรณ์หนาแน่ จึงเป็นที่มาของผลิตภัณฑ์หลากหลายที่ทำจากต้นไผ่…รวมทั้งการก่อกำเนิดของร่มไม้ไผ่คันแรกที่ได้เริ่มอุบัติ ณ ที่แห่งนี้

รัฐฉาน, เมืองเชียงตุง, หมู่บ้านปะเตงประเทศพม่า มีชนเผ่าไทยใหญ่ดำรงเผ่าพันธุ์อย่าเป็นปึกแผ่นหนาแน่นเช่นกัน

ด้วยเหตุพรมแดนที่ไม่ได้แบ่งกั้นอย่างทุกวันนี้ ชนต่างชาติต่างเผ่าพันธุ์เดินทางไปมาหาสู่แบ่งปันวัฒนธรรมกันอย่างเสรี ร่มไม้ไผ่กระดาษสาที่ผลิตขึ้นที่สิบสองปันนาของประเทศจีนได้ถูกผสมผสานเป็นร่มฉานแห่งบ้านปะเตงของพม่าได้อย่างสนิทใจ

ร่ม…วัฒนธรรมการแบ่งปันของเผ่าพันธุ์

ณ ที่แห่งหนึ่งซึ่งอยู่ใกล้กัน คืออาณาจักรล้านนาในเขตประเทศสยาม หลังจากที่เมืองเชียงใหม่ได้ถูกถูกสถาปนาขึ้นเป็นเมืองเอก และเป็นศูนย์กลางวัฒนธรรมและการปกครองทางเหนือสุดของประเทศไทยกว่า 700 ปีที่ผ่านมา ชนเผ่าไทลื้อและไทยใหญ่จากสิบสองปันนาและเมืองเชียงตุงประเทศพม่า ได้นำวิถีและวัฒนธรรมปฏิบัติของชุมชนเข้ามาฝังรกรากในดินแดนล้านนาอย่างกลมกลืน

เส้นการเดินทางของวัฒนธรรมการผลิตและการใช่ร่มไม้ไผ่จากเมืองจีนมายังพม่าและมาถึงไทยได้ ก็เป็นไปได้ เพราะวัฒนธรรมที่ได้มาจากการเผยแพร่ของชนเผ่าต่างชนชาตินี่เอง

ร่มบ่อสร้าง…นวัตกรรมพื้นบ้านร่วมสมัย

หลายพันกว่าปีที่ผ่านมา การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของชนเผ่าต่างๆในเขตสิบสองปันนาในประเทศจีน ได้ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ของใช้ในครัวเรือนที่ทำมาจากไม้ไผ่ที่มีอยู่ในจำนวนมากในประเทศจีน หนึ่งในนวัตกรรมขณะนั้นก้อคือ การคิดค้นลักษณะการทำร่มโครงไม้ไผ่ที่สามารถหุบได้กางได้ขึ้นมา เพราะลักษณะของร่มในยุคเริ่มต้นก่อนหน้าที่ใช้กันอยู่แพร่หลายในที่ต่างๆกันทั่วโลก เป็นเพียงการใช้วัสดุทำเป็นรูปแบบต่างๆ นำมาเป็นที่กำบังกำบังฝนเท่านั้น จึงถือได้ว่าคนจีนเป็นชนชาติแรกที่ได้คิดค้นทำให้ร่มโครงไม่ไผ่ที่สามารถกางและหุบพับเก็บได้สะดวกอย่างที่เราได้เห็นกันอยู่ในปัจจุบันทั่วไป

วัฒนธรรมการใช้ร่มโครงไม้ไผ่กระดาษสาจากสิบสองปันนาประเทศจีน เริ่มไหลบ่ากระจายออกสู่นานาอารยธรรมประเทศ เพราะพ่อค้าต่างถิ่นเข้ามาแลกเปลี่ยนทำมาค้าขายระหว่างกัน ประกอบกับการเดินทางไปมาหาสู่แลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมต่างเผ่าพันธุ์ชนชาติมีมากมายขึ้นเม่ากับเป็นการกระจายวัฒนธรรมการใช้ร่มจากสิบสองปันนาได้แพร่หลายรวดเร็วขึ้น

ในประเทศแถบเอเชีย ญี่ปุ่น เกาหลี พม่า ไทย ลาว ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เกือบทั้งหมดทวีปล้วนแล้วแต่ได้รับอิทธิพลร่มโครงไม้ไผ่จากประเทศจีนด้วยกันทั้งสิ้น

ในประเทศไทยเช่นกัน เมื่อกว่า 200 ปีที่ผ่านมา มีพระภิกษุธุดงค์องค์หนึ่งนามว่าหลวงพ่ออินถา มีวัตรกิจไปมาหาสู่ระหว่างเมืองล้านนาแห่งสยามกับเมืองพุกามแห่งพม่าอยู่เนืองนิตย์

ได้นำกรดหรือร่มโครงไม้ไผ่ที่ทำจากหมู่บ้านปะเตงในประเทศพม่าเข้ามาในเชียงใหม่กรดเกิดชำรุดเสียหายขณะที่พำนักอยู่ที่หมู่บ้านเล็กๆแห่งหนึ่ง มีชื่อว่าหมู่บ้านบ่อซาง (บ่อน้ำที่มีต้นไผ่ล้อมลรอบ – ปัจจุบันเพี้ยนชื่อเป็นบ่อสร้าง) ชาวบ้านได้ช่วยกันซ่อมแซมกรดจนใช้ได้ดีดังเดิม หลวงพ่อจึงแนะนำให้ลองทำขึ้นเองใช้ในครัวเรือน โดยใช้วัสดุพื้นบ้านที่มีอยู่

ลองผิดลองถูกอยู่หลายครั้งหลายคราว จนท้ายที่สุดก็กำเนิดและพัฒนากลายมาเป็นร่มบ่อสร้างอย่างที่เราท่านได้เห็นกันอยู่เท่าทุกวันนี้.

ร่วมแสดงความคิดเห็น