พัฒนาขุมทรัพย์ ที่ดินการรถไฟ สถานีเชียงใหม่

ในอดีตโรงแรมรถไฟเชียงใหม่ เป็นอาคารไม้ชั้นเดียว เปิดบริการเป็นที่พัก เมื่อปีพศ.2464 อยู่ฝั่งตรงข้ามสถานีรถไฟเชียงใหม่ปัจจุบัน ที่นี่เคยเป็นที่ประทับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ร. 7 และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี เพื่อทอดพระเนตรขบวนแห่ช้างรับเสด็จระหว่างเสด็จประพาสนครเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ 2469ด้วย

ต่อมาปีพศ.2506 การรถไฟฯ (รฟท.)พัฒนา ก่อสร้าง อาคารทรงทันสมัยเพิ่มจากตึกเก่า เป็นอาคาร 6 ชั้น 76 ห้องนอน มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการโดย พล.ท.พงษ์ ปุณณกันต์ รมว.คมนาคม เมื่อ 21 พย.06 ราคาห้องเดี่ยวคืนละ 70 บาท ห้องพิเศษ 3 เตียงคืนละ 300 บาท นับเป็นโรงแรมแห่งแรกของเชียงใหม่

ราวๆปี 2531รื้ออาคารไม้ ซึ่งเป็นที่พักการรถไฟออกไป ในอดีตรร.รถไฟถือเป็นชุมนุมนักท่องเที่ยว จุดนัดพบ ย่านบันเทิงเริงใจของเมือง เชื่อว่า มุมรอยัลปาร์ค คงจำกันได้ หากเป็นนักเที่ยว จากนั้นช่วงปีพศ. 2546 มีการรื้อรร.ตามแผนพัฒนาเพื่อสร้างเป็น”ห้องรับแขกเมือง” มีสวนสาธารณะ มุมนันทนาการ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ,ศุนย์เรียนรู้ แต่สามารถดำเนินการได้เพียงสวนสาธารณะ

โดยรฟท.อนุญาติให้ ทน.เชียงใหม่ พัฒนาพื้นที่ 47 ไร่ เป็นสวนสาธารณะ มีการจัดสรรงบกว่า 90 ล้านบาท พัฒนาพื้นที่อย่างที่เห็น และต้องส่งคืนเมื่อ30 กย.57 เนื่องจากรฟท.มีแผนจะพัฒนาที่ดิน 130 ไร่ ในเชิงพาณิชย์ ตามแผนเมื่อปี 60-61 นั้น รฟท.จะดำเนินโครงการเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ คอมมิวนิตี้มอลล์ อาคารสำนักงานให้เช่า อาคารพักอาศัยพนักงานการรถไฟฯ เป็นต้น แต่ด้วยเหตุผลโครงการรถไฟความเร็วสูงชลอไป จึงปรับแผน ประกอบกับบริเวณด้านติดสนง.ชลประทานเชียงใหม่ที่ 1 จะถูกสถาปนาเป็นเขตพระราชฐาน สถานที่ประทับทุกครั้งที่มีพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จฯแปรพระราชฐาน ดังนั้นการพัฒนาจึงค่อนข้างละเอียดอ่อน

ทั้งนี้รฟท. ระบุว่าจะนำที่ดินที่มีทั่วประเทศราวๆ 234,976 ไร่ ที่สามารถพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยจะเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนพัฒนา เบื้องต้นปีนี้จะนำ 4 หมื่นกว่าไร่ ที่มีศักยภาพมาพัฒนาซึ่ง จ.เชียงใหม่ เป็น 1 ใน 13 แปลงที่มีศักยภาพสูง ล่าสุดพื้นที่ย่านสถานีขอนแก่นมูลค่า 8 พันล้าน มีแผนจะให้เอกชนพัฒนาเป็น สวนสนุก โมเดลยูนิเวอร์แซล หนุนการท่องเที่ยว

ปีนี้แผนพัฒนาที่ดิน 130 ไร่รอบสถานีรถไฟเชียงใหม่เชิงพาณิชย์ จะให้ เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนน่าจะได้ข้อสรุป ส่วนจะมีโครงการใดบ้างนั้น โดยภาพรวมคงไม่แตกต่างจากที่เคยจัดทำแผนแม่บทไว้แล้ว เพราะกระแสท้วงติง แนะนำ ให้จัดการพื้นทีซึ่งเปรียบเสมือนประตูสู่เมืองเชียงใหม่มีมานาน ทางรฟท.รับทราบปัญหามาโดยตลอด ซึ่งก็ไม่ได้ชี้แจงอะไร เนื่องจากต้องรอการพิจารณาอนุมัติตามขั้นตอน

ร่วมแสดงความคิดเห็น