เช้านี้ อ.แม่ริม อ.หางดง คุณภาพอากาศแย่ ย้ำประชาชนดูแลตัวเอง

คุณภาพอากาศภาคเหนือประจำวันที่ 28 มกราคม 2562 เวลา 10.00 น. ChiangMai Air Quality Health Index แผนที่ดัชนีคุณภาพอากาศของทุกอำเภอจังหวัดเชียงใหม่(AQI PM2.5 เฉลี่ยรายชั่วโมง)

จากการตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) อำเภอ แม่ริม คุณภาพอากาศ อยู่ในเกณฑ์ “อากาศไม่ดีอย่างยิ่ง” แนะนำ ประชาชนทั่วไป: ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมนอกอาคารที่ใช้แรงหนักหรือเป็นเวลานาน ทำกิจกรรมในอาคารแทน ส่วนอำเภอหางดง อำเภอดอยหล่อ คุณภาพอากาศ อยู่ในเกณฑ์ “อากาศไม่ดี”

ประชาชนในกลุ่มเสี่ยง เด็ก ผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ ผู้ที่อยู่ใกล้แหล่งกำเนิดมลพิษ ทำงาน ออกกำลังกาย เล่นกีฬา กลางแจ้ง หรือผู้ที่มีโรคภูมิแพ้ ภูมิต้านทานต่ำ ระบบการหายใจ หัวใจ และหลอดเลือดสมอง ควรลดกิจกรรมนอกอาคารที่ใช้แรงหนักหรือเป็นเวลานาน โดยอาจพักเป็นระยะๆ หมั่นสังเกตอาการไอ ล้า ใจสั่น และแน่นหน้าอกของตัวเอง หากมีโรคประจำตัวให้ปฎิบัติตามที่แพทย์แนะนำ

PM 10 เรียกโดยทั่วไปว่า ฝุ่นหยาบ (Course Particle) เป็นอนุภาคที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5 – 10 ไมครอน มีแหล่งกำเนิดจากการจราจรบนท้องถนนที่ไม่ได้ลาดยาง การเผาป่า ใช้ฟืนถ่านหุงต้มอาหาร เผาขยะและหญ้า การเผาเชื้อเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่พบได้ตามต่างจังหวัด

PM 2.5 เรียกโดยทั่วไปว่า ฝุ่นละเอียด (Final Particles) จัดเป็นอนุภาคที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่า 2.5 ไมครอน มีแหล่งกำเนิดมาจากควันเสียของรถยนต์ โรงไฟฟ้า โรงงานอุตสาหกรรม ควันที่เกิดจากการหุงต้มอาหารโดยใช้ฟืน โดยรวมฝุ่นขนาดเล็กจิ๋วนี้ เกิดขึ้นจากกิจกรรมหลายชนิด ส่วนการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ และการก่อสร้าง เป็น 2 สาเหตุหลักของมลพิษทางอากาศในเมืองใหญ่

หน่วยวัด ของ PM. คือ ไมครอน ซึ่ง 10,000 ไมครอน เท่ากับ 1 เซนติเมตร ซึ่ง 10,000 ไมครอน เท่ากับ 1 เซนติเมตร เพื่อให้เห็นภาพง่าย เมื่อเทียบกับเส้นผมปกติของมนุษย์ ที่มีขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 50 – 70 ไมครอน จะเห็นได้ว่า ฝุ่นละเอียด (PM2.5) มีขนาดเล็กกว่าเป็นอย่างน้อย 20 เท่าของเส้นผม ทำให้ฝุ่นละเอียดขนาด PM2.5 สามารถเล็ดลอดผ่านขนจมูกเข้าสู่ร่างกายได้โดยง่าย

แหล่งที่มาของฝุ่นละอองในบรรยากาศ โดยทั่วไปจะแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 1.)ฝุ่นละอองที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ (Natural Particle)เกิดจากกระแสลมที่พัดผ่านตามธรรมชาติ ทำให้เกิดฝุ่น เช่น ดิน ทราย ละอองน้ำ เขม่าควันจากไฟป่า ฝุ่นเกลือจากทะเล และ 2)ฝุ่นละอองที่เกิดจากกิจกรรมที่มนุษย์ (Man-made Particle) ได้แก่ 2.1)การคมนาคมขนส่ง ได้แก่ รถบรรทุกหิน ดิน ทราย ซีเมนต์หรือวัตถุที่ทำให้เกิดฝุ่น หรือดินโคลนที่ติดอยู่ที่ล้อรถ ขณะแล่นจะมีฝุ่นตกอยู่บนถนน แล้วกระจายตัวอยู่ในอากาศ ไอเสียจากรถยนต์ เครื่องยนต์ดีเซลปล่อยเขม่า ฝุ่น ควันดำ ออกมา รวมทั้งถนนที่สกปรก มีดินทรายตกค้างอยู่มาก หรือมีกองวัสดุข้างถนนเมื่อรถแล่น จะทำให้เกิดฝุ่นปลิวอยู่ในอากาศ การก่อสร้างถนนใหม่ หรือการปรับปรุงผิวจราจร ทำให้เกิดฝุ่นมาก และฝุ่นที่เกิดจากยางรถยนต์ และผ้าเบรก 2.2.)การก่อสร้าง ได้แก่การก่อสร้างหลายชนิด มักมีการเปิดหน้าดินก่อนการก่อสร้าง ซึ่งทำให้เกิดฝุ่นได้ง่าย เช่น อาคาร สิ่งก่อสร้าง การปรับปรุงสาธารณูปโภค รวมทั้งการก่อสร้างอาคารสูง ทำให้ฝุ่นปูนซีเมนต์ถูกลมพัดออกมาจากอาคาร และการรื้อถอน ทำลาย อาคารหรือสิ่งก่อสร้าง และ2.3)โรงงานอุตสาหกรรม ได้แก่ การเผาไหม้เชื้อเพลิง เช่น น้ำมันเตา ถ่านหิน ฟืน แกลบ เพื่อนำพลังงานไปใช้ในการผลิต กระบวนการผลิตที่มีฝุ่นออกมา เช่น การปั่นฝ้าย การเจียรโลหะ การเคลื่อนย้ายวัตถุดิบ

ฝุ่นละอองดังกล่าวส่งผลกระทบต่อ
1)สภาพบรรยากาศทั่วไป โดยฝุ่นละอองจะลดความสามารถในการมองเห็น ทำให้ทัศนวิสัยไม่ดี
2)ส่งผลต่อวัตถุและสิ่งก่อสร้าง โดยฝุ่นละอองที่ตกลงมา นอกจากจะทำให้เกิดความสกปรกเลอะเทอะแก่บ้านเรือน อาคาร สิ่งก่อสร้างแล้ว ยังทำให้เกิดการทำลายและกัดกร่อนผิวหน้าของโลหะ หินอ่อน หรือวัตถุอื่น ๆและที่สำคัญ
3)ฝุ่นละอองส่งผลต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ฝุ่น PM2.5 เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เพราะสามารถเดินทางผ่านทางเดินหายใจสู่ปอดและกระแสเลือดได้ง่าย เพิ่มโอกาสของโรคหัวใจและโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ และต้องป้องกันด้วยการสวมใส่หน้ากากอนามัยที่ได้มาตรฐานป้องกันฝุ่นขนาดเล็กโดยเฉพาะ

นอกจากฝุ่นละอองจะทำให้เกิดอาการคายเคืองตาแล้ว ยังทำอันตรายต่อระบบหายใจ เมื่อเราสูดเอาอากาศที่มีฝุ่นละอองเข้าไป โดยอาการระคายเคืองนั้นจะเกิดขึ้นตามส่วนต่าง ๆ ของระบบทางเดินหายใจขึ้นอยู่กับขนาดของฝุ่นละออง โดยฝุ่นที่มีขนาดใหญ่ร่างกายจะดักไว้ได้ ที่ขนจมูก ส่วนฝุ่นที่มีขนาดเล็กนั้นสามารถเล็ดลอดเข้าไปในระบบหายใจ ทำให้ระคายเคือง แสบจมูก ไอ จาม มีเสมหะ หรือมีการสะสมของฝุ่นในถุงลมปอด ทำให้การทำงานของปอดเสื่อมลงฝุ่นเหล่านี้มีผลกระทบต่อประชาชนกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ และผู้ที่มีโรคประจำตัว

ร่วมแสดงความคิดเห็น