“นกเขนน้อยข้างสีส้ม” นกพันธุ์หายากใน จ.เชียงใหม่

ในปัจจุบันนก มีสายพันธุ์อยู่กว่า 8,800-9,800 ชนิด นับว่าเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีความหลากหลายมากที่สุด ในกลุ่มบรรดาสัตว์มีกระดูกสันหลังที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน ตั้งแต่เรื่องของขนาดตัว สีสัน เสียงร้อง อาหารการกินและถิ่นที่อยู่อาศัย ซึ่งถือว่าเป็นสัตว์อีกชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศ

จังหวัดเชียงใหม่ จัดเป็นหนึ่งพื้นที่ของประเทศไทยที่มีนกพันธุ์หายากอาศัยอยู่หลากหลายชนิด รวมถึง “นกเขนน้อยข้างสีส้ม”

วันนี้ “เชียงใหม่นิวส์” จะพาทุกคนไปรู้จัก “นกเชียงใหม่” กัน

ชื่ออังกฤษ Red-flanked Bluetail, Orange-flanked Bush Robin, Bluestart
ชื่อวิทยาศาสตร์ Tarsiger cyanurus (Pallas, 1773)
เป็นนกในวงศ์ Muscicapidae วงศ์นกเขนและนกจับแมลง

ลักษณะโดยทั่วไปของนกเขนน้อยข้างสีส้ม

ชื่อ Bluetail ซึ่งหมายถึงหางสีฟ้าอันเป็นลักษณะเด่นของทั้งสองชนิดถูกนำมาใช้แทน Bush Robin น่าจะเป็นเพราะทำให้ชื่อของมันกระชับมากขึ้น ส่วนตัวผู้เขียนชอบชื่อ orange-flanked มากกว่า red-flanked เพราะสีข้างมันออกส้มๆไม่ใช่แดง แต่ที่น่าสับสนคือชื่อไทยซึ่งนักดูนกส่วนใหญ่เรียกกันจนติดปากไปแล้ว นั่นเป็นเพราะชนิดที่พบเห็นได้บ่อยๆในเมืองไทยคือ “นกเขนน้อยพันธุ์หิมาลัย” ในขณะที่ “นกเขนน้อยข้างสีส้ม” ซึ่งเป็นชื่อที่คุ้นเคยสำหรับนักดูนก นั้นเป็นชนิดที่หายากกว่ามากในไทย

ด้วยเหตุนี้เราจึงยังคงได้ยินหลายคนขานชื่อ นกเขนน้อยข้างสีส้ม เมื่อเจอนกเขนน้อยพันธุ์หิมาลัย ซึ่งพบได้ง่ายบนตามพื้นป่าดิบเขาทางภาคเหนือในช่วงฤดูหนาว ส่วนนกเขนน้อยข้างสีส้ม เป็นนกที่พบได้ยากเอาการในเมืองไทย ทั้งสองชนิดมีสถานภาพเป็นนกอพยพนอกฤดูผสมพันธุ์ โดยพันธุ์หิมาลัยนั้นทำรังวางไข่บนภูเขาในแถบเทือกเขาหิมาลัยสมชื่อ แต่นกเขนน้อยข้างสีส้มนั้นมีแหล่งทำรังวางไข่ที่กว้างมาก พบได้ตั้งแต่ทางเหนือของทวีปยุโรป ไปจนถึงเอเชียตะวันออก

แหล่งที่อยู่อาศัยในเชียงใหม่

สามารถพบนกชนิดนี้ได้ที่ อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ และภูเขาสูงในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผางต่อเนื่องกับอุทยานแห่งชาติแม่วงศ์ จ.เชียงใหม่

เรียบเรียงโดย : “เชียงใหม่นิวส์”
ขอบคุณภาพจาก : Mark King
อ้างอิงข้อมูลจาก : http://oknation.nationtv.tv/blog/plains-wanderer/2015/11/01/entry-1

บทความที่เกี่ยวข้อง

“นกกินปลีหางยาวเขียว” นกพันธุ์หายากใน จ.เชียงใหม่

นกปีกแพรสีเขียว (Green Cochoa)

“นกจู๋เต้นจิ๋ว” นกพันธุ์หายากใน จ.เชียงใหม่

ร่วมแสดงความคิดเห็น