ก๋วยเตี๋ยว! เมนูเด็ด ที่มาพร้อมกับ “อันตราย”

มีหลายคน ที่ชื่นชอบการทานก๋วยเตี๋ยวเป็นชีวิตจิตใจ ถ้าจะเปลี่ยน ก็เปลี่ยนแค่เพียงลักษณะเส้น และชนิดของก๋วยเตี๋ยวเท่านั้น เช่น เย็นตาโฟ น้ำตก ต้มยำ น้ำใส เป็นต้น แต่รู้หรือไม่ ว่าการทานก๋วยเตี๋ยวบ่อย ๆ อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพเราได้

วันนี้ “เชียงใหม่นิวส์” มีข้อมูลที่น่าสนใจ เกี่ยวกับสารอันตราย ที่อยู่ในก๋วยเตี๋ยว มาฝาก

วัตถุดิบที่เสี่ยงอันตรายในเมนูก๋วยเตี๋ยว

1.ลูกชิ้นเด้ง
ลูกชิ้นเด้ง ลูกชิ้นที่หลายคนชอบทาน ทำให้ผู้ผลิตบางคน เริ่มเอาเปรียบผู้บริโภค ด้วยการใส่สารบอแร๊กซ์ลงไป ถึงแม้จะใส่ไปในปริมาณที่ไม่มากนัก แต่ถ้าทานเข้าไปบ่อย ๆ ก็จะส่งผลให้ผู้ที่ได้รับสารบอแร็กซ์มีปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับสุขภาพ เช่น ผมร่วง มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ตับ และไตอักเสบ ไปจนถึงขั้นเสียชีวิตหากมีอาการแพ้ที่รุนแรง

2.ถั่วป่น
ใครที่ชอบทานก๋วยเตี๋ยวต้มยำ แล้วใส่ถั่วป่นเข้าไปในปริมาณมาก ๆ เพื่อให้เกิดความข้น และความอร่อย ต้องระวังไว้เลย เนื่องจากบางร้าน ไม่ได้ใช้ถั่วป่นที่คั่วใหม่ ๆ แบบวันต่อวัน จึงอาจทำให้เกิดเชื้อราที่ชื่อ “อะฟลาท็อกซิน” ปะปนไปกับถั่วป่น ที่เอามาใช้เป็นเครื่องปรุง หากได้รับเชื้อราชนิดนี้ไปมาก ๆ จะทำให้สุขภาพแย่ลงได้ เพราะจะทำให้เกิดโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ ในร่างกาย และยังมีผลต่อระบบทางเดินหายใจได้อีกด้วย

3.ถั่วงอก
หลายคนชอบทานก๋วยเตี๋ยวใส่ถั่วงอกดิบ แต่รู้หรือไม่ว่าถั่วงอกที่ขาว อวบ กรอบผิดปกตินั้น อาจจะเกิดจากใช้สารฟอกขาว ที่เป็นอันตรายสุด ๆ กับร่างกายได้ ผู้ที่รับประทานอาหาร ที่มีส่วนผสมของสารฟอกขาวมากเกินไป จะมีปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหารอักเสบ บางรายอาจคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง หายใจไม่ออก ใครที่กลัวเป็นแบบนี้ก็ให้สังเกตดูว่า ถั่วงอกนั้น มีสีสันเป็นอย่างไร ดูขาวอวบผิดปกติจากถ่วงอกทั่วไปหรือไม่

ซึ่งเมนูที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นจะมีสาร อะฟลาท็อกซิน ที่ปนเปื้อนอยู่ในวัตถุดิบอาหารทางการเกษตร มักจะพบอยู่ในอาหาร เช่น ถั่วลิสงบด ข้าว ข้าวโพด กระเทียม พริกแห้ง พริกป่น พริกไทย กุ้งแห้ง และพวกแป้งสำเร็จรูป เป็นต้น

สารอะฟลาท็อกซิน คืออะไร

สารอะฟลาท็อกซิน เป็นสารที่ทนความร้อนได้สูงถึง 260 องศาเซลเซียส ดังนั้น ความเชื่อที่ว่า ความร้อนจากการปรุงอาหารสามารถฆ่าเชื้อโรค หรือสารพิษในอาหารได้ ไม่ว่าจะเด็ก หรือผู้ใหญ่ เมื่อได้รับสารนี้เข้าไป อาจจะเกิดความผิดปกติขึ้นในร่างกาย จำแนกตามระดับความรุนแรงได้ 3 ระดับ คือ
1.รุนแรงเล็กน้อยถึงปานกลาง
ถ้ารับประทานอาหาร ที่มีการปนเปื้อนของอะฟลาท็อกซิน ในปริมาณมาก ๆ จะทำให้ อาเจียน ท้องเดิน

2.รุนแรงมาก
หากรับประทานน้อย แต่บ่อยครั้ง อะฟลาท็อกซิน จะไปสะสมทำให้เกิดพิษเรื้อรัง โดยไปยับยั้งไม่ให้ร่างกายสร้างโปรตีน ส่งผลให้ร่างกายสร้างเซลล์ที่ผิด หรือทำให้เกิดมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งตับ

3.รุนแรงมากที่สุด
หากเด็กได้รับสารอะฟลาท็อกซิน เข้าไปในปริมาณที่มาก จะมีอาการชัก หมดสติ เกิดความผิดปกติของเซลล์ตับ และเซลล์สมอง เด็กอาจจะเสียชีวิตภายใน 2-3 วันเท่านั้น ซึ่งนับว่าเป็นภาวะเฉียบพลัน

วิธีเลี่ยงสารอะฟลาท็อกซิน

1.อะฟลาท็อกซิน จะสลายตัวเมื่อถูกรังสีอัลตราไวโอแลต ซึ่งอยู่ในแสงแดดจัด ดังนั้นการที่ทำ ถั่วลิสง หรืออาหารแห้งไปตากแดด ก่อนที่จะนำมาเก็บรักษา ความร้อนจากแสงอาทิตย์ จะช่วยลดความชื้น ทำให้เชื้อราไม่สามารถเจริญเติบโตได้ ส่งผลให้อะฟลาท็อกซินลดลงตามไปด้วย

2.ในการเลือกซื้ออาหารประเภทถั่วลิสงบด กุ้งแห้ง พริกแห้ง พริกไทย พริกป่น ต้องเลือกที่อยู่ในสภาพที่สดใหม่ ไม่แตกหัก ไม่ขึ้นรา หากมีกลิ่นเหม็นอับ ไม่ควรซื้อมารับประทาน

3.อย่าประหยัดผิดวิธี โดยการนำอาหารที่ขึ้นรา มาตัดส่วนมี่ขึ้นราทิ้งไป แล้วนำอาหารส่วนที่เหลือขึ้นมารับประทาน เพราะอาหารชิ้นนั้น อาจมีสารอะฟลาท็อกชินกระจายไปทั่วชิ้นแล้ว ดังนั้นอาหารที่ขึ้นราแล้วไม่ควรนำมารับประทาน

4.สำหรับใครที่มีเวลาว่าง ควรทำเครื่องปรุงรสด้วยตัวเอง และไม่เก็บไว้ในที่อับชื้น รวมทั้งต้องหมั่นตรวจสอบว่ามีความผิดปกติหรือไม่

5.สำหรับคุณแม่ ควรระวังเรื่องสารอะฟลาท็อกซินเป็นพิเศษ ในส่วนของคุณแม่ลูกอ่อน ที่ต้องให้นมลูก ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีความเสี่ยง ต่อการปนเปื้อนของอะฟลาท็อกซิน ส่วนคุณแม่ที่มีลูกเล็ก ๆ ก็ควรระมัดระวังในเรื่องอาหารของลูก เพราะอาจได้รับอันตรายหลังได้รับสารพิษ

สรุป
ทั้งนี้ควรเลือกร้านที่สะอาด ดูมีมาตรฐาน และหมั่นสังเกตวัตถุดิบที่ร้านทุกครั้ง ก่อนรับประทานค่ะ

เรียบเรียงโดย: “เชียงใหม่นิวส์”

ขอบคุณข้อมูลจาก: www.sanook.com

บทความที่เกี่ยวข้อง

วุ้นเส้น เห็นใส ๆ แต่ร้ายไม่เบา

ร่วมแสดงความคิดเห็น