“เหยี่ยวนกกระจอกเล็ก” นกพันธุ์หายากใน จ.เชียงใหม่

ในปัจจุบันนก มีสายพันธุ์อยู่กว่า 8,800-9,800 ชนิด นับว่าเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีความหลากหลายมากที่สุด ในกลุ่มบรรดาสัตว์มีกระดูกสันหลังที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน ตั้งแต่เรื่องของขนาดตัว สีสัน เสียงร้อง อาหารการกินและถิ่นที่อยู่อาศัย ซึ่งถือว่าเป็นสัตว์อีกชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศ

จังหวัดเชียงใหม่ จัดเป็นหนึ่งพื้นที่ของประเทศไทยที่มีนกพันธุ์หายากอาศัยอยู่หลากหลายชนิด รวมถึง “เหยี่ยวนกกระจอกเล็ก”

วันนี้ “เชียงใหม่นิวส์” จะพาทุกคนไปรู้จัก “นกเชียงใหม่” กัน

ชื่ออังกฤษ Besra, Besra Sparrowhawk

ชื่อวิทยาศาสตร์ Accipiter virgatus (Temminck, 1822)

เป็นนกในวงศ์ Accipitridae  วงศ์เหยี่ยวและนกอินทรี

ลักษณะโดยทั่วไปของเหยี่ยวนกกระจอกเล็ก


ภาพจาก : http://oknation.nationtv.tv/blog/plains-wanderer/2016/10/02/entry-1

 “เหยี่ยวนกเขา” มีหางที่ค่อนข้างยาวคล้ายของนกเขาส่วนใหญ่ ขนาดตัวค่อนข้างเล็ก ดูเผิน ๆ ขณะบินผ่านอาจเข้าใจว่าเป็นนกเขา แทนที่จะเป็นนกล่าเหยื่อ อีกสมมติฐานหนึ่งคือ อาจเป็นเพราะพวกมันหลายชนิดเป็นนักล่าที่มักจับนกกินเป็นอาหารหลัก (ชื่อ sparrowhawk ที่แปลตรงตัวได้ว่า “เหยี่ยวนกกระจอก” นั้นมาจากการที่ชอบล่านกขนาดเล็กเป็นอาหาร) มีเพียงสองชนิดที่ถูกตั้งชื่อไทยว่า “เหยี่ยวนกกระจอก” ซึ่งก็ไม่ได้สอดคล้องทุกกระเบียดนิ้วกับชื่ออังกฤษ ดังจะเห็นว่าแทบทุกชนิดที่มีชื่ออังกฤษว่า sparrowhawk ก็ล้วนถูกตั้งชื่อไทยว่า “เหยี่ยวนกเขา”


เหยี่ยวนกกระจอกเล็ก เพศเมีย

เป็นที่ทราบกันดีในแวดวงอนุกรมวิธานว่ามันเป็นญาติสนิทของเหยี่ยวนกเขาพันธุ์ญี่ปุ่น (Japanese Sparrowhawk) แต่สีสันและลวดลายของมันดูคล้ายกับเหยี่ยวนกเขาหงอน (Crested Goshawk) มาก โดยเฉพาะนกเพศเมีย ราวกับเป็นการวิวัฒนาการเลียนแบบชุดขน ซึ่งน่าจะมีส่วนทำให้มันปลอดภัยจากการถูกล่าโดยเหยี่ยวนกเขาหงอนซึ่งมีขนาดใหญ่และก้าวร้าวกว่า

เหยี่ยวนกกระจอกเล็ก เพศผู้

เพศผู้มีขนาดตัวเล็กกว่าเพศเมียพอสมควร นอกจากนี้ด้านบนลำตัวยังเป็นสีเทามากกว่า ม่านตาสีออกส้ม และมีลวดลายที่ด้านล่างลำตัวสีออกส้ม แทนที่จะเป็นน้ำตาลเข้มแบบเพศเมีย ส่วนการจำแนกชนิดนกวัยเด็กนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเสมอไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งแต่ละชนิดมีความหลากหลายของชุดขน จำแนกได้จากการที่เหยี่ยวนกกระจอกเล็กมีแถบสีดำที่ใต้ขนปีกและหางหนากว่าชนิดอื่น มีขีดหนาตรงกลางลำคอ นอกจากนี้หางยังยาวกว่าเล็กน้อยและลำตัวด้านบนก็เข้มกว่า ลายอกของนกวัยเด็กก็ดูไม่เป็นระเบียบเท่าของเหยี่ยวนกเขาพันธุ์ญี่ปุ่นด้วย

แหล่งที่อยู่อาศัยในเชียงใหม่

สามารถพบนกชนิดนี้ได้ที่ อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ และภูเขาสูงในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผางต่อเนื่องกับอุทยานแห่งชาติแม่วงศ์ จ.เชียงใหม่

เรียบเรียงโดย : “เชียงใหม่นิวส์”

ขอบคุณภาพจาก : Mark King

อ้างอิงข้อมูลจาก : http://oknation.nationtv.tv/blog/plains-wanderer/2016/10/02/entry-1

บทความที่เกี่ยวข้อง

“นกกินปลีหางยาวเขียว” นกพันธุ์หายากใน จ.เชียงใหม่

นกปีกแพรสีเขียว (Green Cochoa)

“นกจู๋เต้นจิ๋ว” นกพันธุ์หายากใน จ.เชียงใหม่

“นกกินปลีหางยาวคอสีฟ้า” นกพันธุ์หายากใน จ.เชียงใหม่

“นกติ๊ดแก้มเหลือง” นกพันธุ์หายากใน จ.เชียงใหม่

“นกเขนสีฟ้าท้ายสีน้ำตาล” นกพันธุ์หายากใน จ.เชียงใหม่

“นกคัคคูมรกต” นกพันธุ์หายากใน จ.เชียงใหม่

ร่วมแสดงความคิดเห็น