“ไทยเชื้อจีนในล้านนา” ความเป็นมาของลูกหลานเลือดมังกร

เชื่อว่าทุกวันนี้ เราได้รับวัฒนธรรมจากจีนอย่างมากในเรื่องของ วัฒนธรรม และความเชื่อด้านต่าง ๆ ของคนไทยก็ได้รับมาจากจีน เช่น วันตรุษจีน วันสารทจีน และคนไทยเชื้อสายจีนก็มีมากมายหาได้ทั่วไป และเจ้าของกิจการที่ร่ำรวยส่วนมากก็มีเชื้อจีนเสียด้วย

ซึ่งวันนี้ “เชียงใหม่นิวส์” จะพาผู้อ่านไปรู้ถึงที่มาของชาวไทยเชื้อสายจีนในภาคเหนือเราด้วย

ชาวไทยเชื้อสายจีน

คือ ชาวจีนที่เกิดในประเทศไทย และเป็นเชื้อสายของผู้อพยพชาวจีน หรือชาวจีนโพ้นทะเล คนไทยเชื้อสายจีน มีจำนวนมากจนไม่สามารถนับได้ เพราะที่กลมกลืนกับคนไทยไปแล้วโดยการแต่งงานข้ามเชื้อชาติ ซึ่งบรรพบุรษของชาวไทยเชื้อสายจีนส่วนมากมาจากจังหวัดแต้จิ๋ว ในมณฑลกวางตุ้ง ทางตอนใต้ของจีน พูดภาษาแต้จิ๋ว ซึ่งเป็นภาษากลุ่มหมินหนาน รองลงมาคือมาจาก แคะ ฮกเกี้ยน และไหหลำ

ชาวจีนอพยพในอดีต

ประวัติศาสตร์ของการที่ชาวจีนอพยพมาประเทศไทย ต้องย้อนกลับไปหลายร้อยปีตั้งแต่ชาวจีนได้เริ่มเดินเรือสำเภามาค้าขายในดินแดนสุวรรณภูมิตั้งแต่ก่อนสมัยอาณาจักรสุโขทัย แต่หลักฐานที่ชัดเจนที่สุดคือ เมื่อชาวจีนมาสอนการทำเครื่องถ้วยชาม โดยเฉพาะเครื่องสังคโลก

การอพยพของชาวจีนในสมัยกรุงธนบุรี

ชาวไทยเชื้อสายจีนที่มีอิทธิพลมากที่เห็นได้ชัดคือ ขุนพลไทยนาม “สิน” หรือ “สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช” แห่งกรุงธนบุรี ซึ่งมีบิดาเป็นคนจีน และมารดานาม นกเอี้ยง ชาวจีนขนามนามว่า “แต้อ๊วง” ด้วยความที่ว่าบิดาสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเป็นคนจีน เมื่อได้ครองราชย์แล้ว ชาวจีนแต้จิ๋วได้เริ่มเข้ามาทำการค้า และอพยพมายังกรุงธนบุรีเป็นจำนวนมาก ทำให้ประชากรชาวจีนโพ้นทะเลในไทย เพิ่มขึ้นจาก 230,000 คนใน พ.ศ. 2368 เป็น 792,000 คนใน พ.ศ. 2453 และใน พ.ศ. 2475 ประชากรไทยถึง 12.2% เป็นชาวจีนโพ้นทะเล

ชาวจีนและฝิ่น

การอพยพของชาวจีนในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

ส่วนมากเป็นผู้ชาย เมื่อเข้ามาตั้งรกรากแล้วก็จะแต่งงานกับผู้หญิงไทย และกลายเป็นค่านิยมในสมัยนั้น ลูกหลานจากการแต่งงานข้ามเชื้อชาตินี้เรียกว่า “ลูกจีน” จากนั้นผู้หญิงจีนก็ได้เริ่มอพยพเข้ามาในสยามมากขึ้นด้วย

ในรัชสมัยปลายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3)

ชาวจีนจากมณฑลยูนนานเริ่มไหลเข้าสู่ประเทศไทย กลุ่มชาวไทยชาตินิยมจากทุกระดับจึงได้เกิดความคิดต่อต้านชาวจีนขึ้น เพราะเมื่อหลายร้อยปีก่อนหน้านี้ ชาวจีนกุมเศรษฐกิจการค้าส่วนใหญ่ไว้ ในสมัยรัชกาลที่ 3 และขณะนั้นอิทธิพลทางการค้าของชาติตะวันตกก็สูงขึ้น ทำให้พ่อค้าขาวจีนหันไปขายฝิ่นและเป็นนายอากรมากขึ้น นอกจากนั้นยังเป็นพ่อค้าข้าวรวมไปถึงเจ้าของโรงสีอีกด้วย

สัญลักษณ์ของวัฒนธรรใจีนที่เห็นได้ทั่วโลก

ชาวจีนกับจังหวัดเชียงใหม่

เป็นที่รู้กันดีว่าจังหวัดเชียงใหม่นั้นมีชาวจีนและคนเชื้อสายจีนเข้ามาตั้งถิ่นฐานเป็นจำนวนมากที่สุดในดินแดนล้านนา โดยชาวจีนที่เข้ามาเชียงใหม่จะเป็นกลุ่มแต้จิ๋วมากสุด พวกเขายึดมั่นในขนบประเพณี มีความอดทน มุ่งมั่น ไม่เลือกงานกล้าได้กล้าเสีย แรกตั้งถิ่นฐานของชาวจีนในเชียงใหม่ มีการศึกษา วิจัยของนักวิชาการ นักโบราณคดี ทั้งในไทยและต่างประเทศบ่งชี้ในทิศทางเดียวกันว่า มีบทบาทด้านเศรษฐกิจ สังคม และอีกหลายมิติที่เกี่ยวข้องกับคนเมือง โดยช่วงแรกเป็นระยะบุกเบิก วางรากฐาน เคารพต่อกฎดั้งเดิม ประมาณ พ.ศ.2350 – 2425

การสร้างเนื้อสร้างตัวของชาวจีนอพยพ

เมื่อพวกเขาสร้างตัวได้ จะเชื่อมสายสัมพันธ์แบบศักดินา การถือครองสิทธิ์ร่วมในที่ดิน สัมปทานในเขตเมือง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการค้าขาย ค้าไม้ การแลกเปลี่ยนราว ๆ พ.ศ.2426 – 2463 กลุ่มชาวจีนในรุ่นนี้รอคอย สั่งสมความมั่งคั่งในรุ่นต่อ ๆ ไป คือช่วงการลงทุนระยะเปลี่ยนผ่านทางสังคมบนแผ่นดินไทยตั้งแต่ปี พ.ศ.2475-2500 ที่มีการพัฒนา ปรับปรุง เชิงโครงสร้าง ในระบบเศรษฐกิจ สังคม ทำให้ชาวจีน บางตระกูลของเชียงใหม่ กลายเป็นผู้ครอบครองอาคาร ที่พัก ที่ดินของเจ้านาย และต่อมากลายเป็นอาคารพาณิชย์ ตึกแถว ตลาด

วัฒนธรรมจีนที่ใครๆก็ต่างรู้จัก

มรดกจากชาวจีนสู่เมืองเชียงใหม่

พ่อค้าชาวจีนที่ประสบผลสำเร็จด้านเศรษฐกิจ ได้พลิกบทบาทสู่สังคม มีการบริจาค สร้างวัด, โรงเรียน และอื่นๆอีกมากมาย จนกลายเป็นคหบดีผู้ที่มีบรรดาศักดิ์ชั้นหลวงและขุนจำนวนมาก ก่อนจะมีการยกเลิกบรรดาศักดิ์ไปในปี พ.ศ.2481 ถิ่นฐานชาวจีนในเชียงใหม่สะท้อนผ่านงานสถาปัตยกรรม อาคารต่าง ๆ กระจัดกระจาย 2 ฟากฝั่งถนนสายสำคัญๆในเชียงใหม่ โดยเฉพาะ ท่าแพ, ราชดำเนิน, ช้างม่อย แม้จะไม่มีบรรดาศักดิ์ แต่สถานะทางสังคมที่โดดเด่นในตำแหน่งเกียรติยศของลูกหลานชาวจีน ในรุ่นต่อ ๆ มา ยังคงปรากฏให้เห็นในเชียงใหม่ เช่น ย่านถนนมูลเมือง,พระเกล้า,ราชมรรคา ในเชียงใหม่ ที่พวกเขาได้สรรสร้างเป็นของขวัญไว้ให้คนปัจจุบันได้เชยชม

สรุป

ชาวจีนได้อพยพเข้ามาในประเทศไทยเป็นเวลาช้านาน พวกเขาได้ตั้งรกราก และสร้างสิ่งต่าง ๆ ทิ้งไว้เป็นมรดกให้คนรุ่นหลังได้เห็น ซึ่งปัจจุบันนี้ชาวไทยเชื้อสายจีนเป็นเจ้าของกิจการมากมายในประเทศ ทุกวันนี้จังหวัดเชียงใหม่มีชาวจีนมาท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังมีผู้ประกอบการจีนรุ่นใหม่เข้ามาในจังหวัดเชียงใหม่มากมายซึ่งมาจากทั่วทุกภาคของจีน เพราะการเดินทางที่สะดวกขึ้นจากเส้นทางการบิน ทำให้พวกเขาสามารถจัดการการเดินทางเพื่อธุรกิจการค้ากับไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งนับได้ว่าไทยและจีนนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างแน่นแฟ้นตั้งแต่ในอดีตมาจนถึงปัจจุบัน

เรียบเรียงโดย : “เชียงใหม่นิวส์”
อ้างอิงข้อมูลจาก : Somkiat Trikhunwattana, hugchiangkham.com, judprakai.com
รูปภาพจาก : thatsmags.com และ oknation.nationtv.tv

บทความที่เกี่ยวข้อง

ร่วมแสดงความคิดเห็น