ช่วง ก.ค – ธ.ค.ปีนี้ มีเลือกตั้งท้องถิ่น ไม่ครบทุกแบบ

นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมส่งเสริมปกครองท้องถิ่น (สถ.) กล่าวว่าจากการติดตามความเคลื่อนไหวด้านการเลือกตั้งท้องถิ่นนั้น ขอสรุปเบื้องต้นว่า สนช.เห็นชอบร่าง กม.เกี่ยวกับการเลือกตั้งท้องถิ่น 6 ฉบับ แล้ว เมื่อ 24 และ 25 ม.ค. 2562 ต้องนำขึ้นทูลเกล้าภาย ใน 90 วัน ประกาศในราชกิจจานุเบกษา (ก.พ. – เม.ย.2562)

ทั้งนี้ กกต. แถลงว่าการเลือกตั้งทั่วไป และการเลือกตั้งท้องถิ่น จะต้องมีระยะเวลาห่างกัน ไม่น้อยกว่า 90 วัน นับจากจากการเลือกตั้งทั่วไป (24 มี.ค.2562) เพื่อมีระยะเวลาเตรียมตัว (เม.ย. – มิ.ย. 2562) ประกอบกับการกำหนดให้อำนาจ คสช. หรือ ครม.แจ้งให้ กกต. กำหนดให้มีการเลือกตั้งท้องถิ่น (รวมถึง กรณี ทต.ด้วย) คาดว่าน่าจะอยู่ในช่วง ก.ค. -ธ.ค.2562

สำหรับเขตเลือกตั้งของ ทต.แบ่งเป็น 2 เขต เหมือนเดิม ตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาล ในส่วนการควบรวมหรือยุบรวม อปท. ไม่มีการแก้ไขเช่นกัน ซึ่งประเด็นดังกล่าวกำหนดไว้ในร่างกฎหมาย อปท. ซึ่งอยู่ระหว่างรับฟังความเห็นจากผู้เกี่ยวข้อง และประชาชนผู้สนใจทั่วไป สามารถเข้าไปตอบแบบสอบถาม และให้ความเห็นได้ทางเว็บไซด์ของ สถ. ได้ถึง 23 ก.พ.นี้ เมื่อได้รับฟังความเห็นในระบบเสร็จสิ้นแล้ว สถ. จะสรุปวิเคราะห์ผลกระทบและความเห็นต่างๆเสนอ มท.พร้อมกับร่างประมวลกฎหมาย อปท. เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนการเสนอกฎหมายในลำดับต่อไป

ด้านร่างกฎหมายจัดตั้ง อบต. กำหนดให้มีสมาชิก อบต.หมู่บ้านละ 1 คน (เดิมหมู่บ้านละ 2 คน) กฎหมายจัดตั้ง อปท. กำหนดให้ในระหว่างไม่มีนายก อปท. ให้ปลัด อปท. ปฏิบัติหน้าที่ของนายก อปท. เท่าที่จำเป็นได้เป็นการชั่วคราว จนถึงวันประกาศผลเลือกตั้งนายก อปท. ดังนั้น นายก อปท.พ้นตำแหน่ง เมื่อมีประกาศให้มีการเลือกตั้งท้องถิ่น

ส่วนการเลือกตั้ง อปท. รูปแบบใด (กทม. , เมืองพัทยา, อบจ. , เทศบาล, อบต.) ป็นอำนาจ กกต. กำหนดซึ่งผู้แทน กกต. ได้ชี้แจงต่อคณะกรรมการของกฤษฎีกา และกรรมาธิการ สนช. แล้วว่า เลือกตั้งไม่พร้อมกันทุกรูปแบบ กกต. จะพิจารณาตามเหมาะสม จึงไม่อาจสรุปให้ชัดเจนได้ในขณะนี้ ว่าจะเลือกรูปแบบใดก่อน

ร่วมแสดงความคิดเห็น