การประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อติดตามการดำเนินงาน ตามอนุสัญญาระหว่างประเทศ และรับฟังประเด็นปัญหา ในการให้ความช่วยเหลือกลุ่มชาติพันธุ์

การประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อติดตามการดำเนินงานตามอนุสัญญาระหว่างประเทศ ว่าด้วย การขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (International Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination – CERD) และรับฟังประเด็นปัญหา ในการให้ความช่วยเหลือกลุ่มชาติพันธุ์

เมื่อเวลา 09.00 น.วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2562 ห้องแกรนด์บอลลูม 2 โรงแรมเทวราช อ.เมือง จ.น่าน นายภูชิชญ์ จารุวัฒน์ ผอ.สำนักงานคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพภาคเหนือ กล่าวว่าการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อติดตามการดำเนินงานตามอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (International Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination – CERD) และรับฟังประเด็นปัญหาในการให้ความช่วยเหลือกลุ่มชาติพันธุ์ โดยมี นางเอมอร เสียงใหญ่ รองอธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ / นายมนตรี ศรีสมบัติ ผอ.ศูนย์พัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูง จ.น่าน

ด้วยภารกิจของกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ เป็นองค์กรหลักในการส่งเสริม คุ้มครอง และสร้างหลักประกันด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งรวมถึงการเป็นหน่วยงานหลักรับผิดชอบการดำเนินงานตามพันธ กรณีสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ซึ่งหนึ่งในอนุสัญญาฯ สำคัญ คือ อนุสัญญาระหว่างประเทศ ว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (International Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination – CERD)

ซึ่งประเทศไทย เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2546 และอนุสัญญาฯ มีผลบังคับใช้กับประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2546 เป็นต้นมา ทั้งนี้ อนุสัญญาฯ มีวัตถุประสงค์ เพื่อปกป้องและคุ้มครองสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ให้สามารถเข้าถึงสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่พึงจะได้รับ เช่น สิทธิในการเข้าถึงการรักษาพยาบาล การเข้าถึงการศึกษา การมีสัญชาติ ฯลฯ

การเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ ดังกล่าว ส่งผลให้ประเทศไทย ต้องปฏิบัติตามพันธกรณีที่กำหนดไว้ในอนุสัญญาฯ ซึ่งหนึ่งในพันธกรณีที่สำคัญ คือ การจัดทำรายงานประเทศ ซึ่งเป็นการนำเสนอรายงานผลการดำเนินงานของประเทศไทยตามอนุสัญญาฯ เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการสหประชาชาติ ว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ ตามที่กำหนดไว้ในข้อบทที่ 9 ของอนุสัญญาฯ ทั้งนี้ ที่ผ่านมาประเทศไทยได้จัดทำรายงานประเทศฯ และนำเสนอต่อคณะกรรมการสหประชาชาติฯ แล้วเมื่อปี 2555 ซึ่งคณะกรรมการสหประชาชาติฯ ได้มีข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะให้กับประเทศไทยหลายประการ

นางเอมอร เสียงใหญ่ รองอธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กล่าวว่าการประชุมฯ ในวันนี้ จึงเป็นโอกาสอันดีที่ผู้เข้าร่วมประชุมฯ จะได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและสาระสำคัญของอนุสัญญาฯ ข้อเสนอแนะที่ไทยได้รับจากคณะกรรมการสหประชาชาติฯ ตลอดจนพัฒ นาการ และปัญหาข้อท้าทายในทางปฏิบัติ โดยสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลการดำเนินงานของหน่วยงานท่าน ให้กับที่ประชุมเพื่อที่จะได้ทราบถึงพัฒนาการ ปัญหา อุปสรรค ข้อท้า ทายในการให้ความช่วยเหลือกลุ่มชาติพันธุ์ เพื่อให้เข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานต่าง ๆ ที่พึงจะได้รับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันนี้

ร่วมแสดงความคิดเห็น