“นกพญาไฟคอเทา” นกพันธุ์หายากใน จ.เชียงใหม่

ในปัจจุบันนก มีสายพันธุ์อยู่กว่า 8,800-9,800 ชนิด นับว่าเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีความหลากหลายมากที่สุด ในกลุ่มบรรดาสัตว์มีกระดูกสันหลังที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน ตั้งแต่เรื่องของขนาดตัว สีสัน เสียงร้อง อาหารการกินและถิ่นที่อยู่อาศัย ซึ่งถือว่าเป็นสัตว์อีกชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศ

จังหวัดเชียงใหม่ จัดเป็นหนึ่งพื้นที่ของประเทศไทยที่มีนกพันธุ์หายากอาศัยอยู่หลากหลายชนิด รวมถึง “นกพญาไฟคอเทา”

วันนี้ “เชียงใหม่นิวส์” จะพาทุกคนไปรู้จัก “นกเชียงใหม่” กัน

ชื่ออังกฤษ Grey-chinned Minivet
ชื่อวิทยาศาสตร์  Pericrocotus solaris (Blyth, 1846)
เป็นนกในวงศ์ Campephagidae วงศ์นกเฉี่ยวบุ้งและนกพญาไฟ

ลักษณะโดยทั่วไปของนกกะรางหัวแดง

นกพญาไฟคอเทา (Minivet) มักถูกยกให้เป็นหนึ่งในตัวแทนของนกป่าดิบเขตร้อน เพราะพวกมันมีสีสวยงามสะดุดตา โดยเฉพาะตัวผู้ที่มีสีแดงสดสลับดำ แต่ไม่ใช่นกพญาไฟทุกชนิดจะมีสีสันฉูดฉาดบาดตาเช่นนั้น ชนิดที่ทำรังวางไข่ในเขตอบอุ่นและอพยพมาอาศัยอยู่ในเมืองไทยช่วงฤดูหนาวมักจะมีสีแลดูจืดชืดไม่สวยงาม ชนิดที่เป็นนกประจำถิ่นตามป่าดิบในบ้านเราเกือบทั้งหมดมีสีดำ-แดงตามแบบฉบับของนกพญาไฟที่เราคุ้นเคย มีเพียงนกพญาไฟคอเทา (Grey-chinned Minivet) ที่ตัวผู้มีสีเทาสลับกับส้ม แทนที่จะเป็นดำ-แดง เรียกได้ว่ามันผสานโทนสีเย็นๆของนกเขตหนาวกับโทนสีร้อนแรงของนกป่าดิบเขตร้อนได้อย่างลงตัว

ลักษณะของนกกะรางหัวแดงเพศผู้

เพศผู้ของนกชนิดนี้มีลำตัวด้านบนสีเทา ส่วนสีส้มที่ด้านล่างของลำตัวเริ่มตั้งแต่ใต้คอ ไม่แดงสดเหมือนนกพญาไฟประจำถิ่นชนิดอื่น ๆ ลำตัวด้านบนก็ออกจะสีเทา ๆ เหมือนกับบรรดานกพญาไฟอพยพทั้งหลาย นกพญาไฟคอเทาตัวผู้จึงมีสีสันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวและจำแนกชนิดได้ง่าย แต่ชนิดย่อยที่พบทางภาคใต้ตอนล่างมีสีเข้มกว่าทางตอนเหนือของประเทศมากจนดูคล้ายนกพญาไฟประจำถิ่นชนิดอื่น ๆ

ลักษณะของนกกะรางหัวแดงเพศเมีย

เพศเมียมีสีเหลืองตั้งแต่ใต้คอลงไป กระหม่อมป็นสีเทา แลดูคล้ายตัวเมียของนกพญาไฟพันธุ์เหนือ (Long-tailed Minivet) ทั้งสองชนิดต่างกันที่รูปทรงของแถบปีก นกพญาไฟพันธุ์เหนือมีหางยาวกว่าและมีแถบสีเหลืองที่ขอบหางด้านนอกแคบกว่า นอกจากนี้ชนิดย่อยอพยพของนกพญาไฟพันธุ์เหนือยังมีสีเหลืองตุ่น ๆ บริเวณหัวตาด้วย ซึ่งนกพญาไฟคอเทาไม่มี

แหล่งที่อยู่อาศัยในเชียงใหม่

สามารถพบนกชนิดนี้ได้ที่ อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ และภูเขาสูงในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผางต่อเนื่องกับอุทยานแห่งชาติแม่วงศ์ จ.เชียงใหม่

เรียบเรียงโดย : “เชียงใหม่นิวส์”
ขอบคุณภาพจาก : Mark King
อ้างอิงข้อมูลจาก : http://oknation.nationtv.tv

บทความที่เกี่ยวข้อง

“นกกินปลีหางยาวเขียว” นกพันธุ์หายากใน จ.เชียงใหม่

นกปีกแพรสีเขียว (Green Cochoa)

“นกจู๋เต้นจิ๋ว” นกพันธุ์หายากใน จ.เชียงใหม่

“นกกินปลีหางยาวคอสีฟ้า” นกพันธุ์หายากใน จ.เชียงใหม่

“นกติ๊ดแก้มเหลือง” นกพันธุ์หายากใน จ.เชียงใหม่

“นกเขนสีฟ้าท้ายสีน้ำตาล” นกพันธุ์หายากใน จ.เชียงใหม่

ร่วมแสดงความคิดเห็น