“นกเดินดงอกเทา” นกพันธุ์หายากใน จ.เชียงใหม่

ในปัจจุบันนก มีสายพันธุ์อยู่กว่า 8,800-9,800 ชนิด นับว่าเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีความหลากหลายมากที่สุด ในกลุ่มบรรดาสัตว์มีกระดูกสันหลังที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน ตั้งแต่เรื่องของขนาดตัว สีสัน เสียงร้อง อาหารการกินและถิ่นที่อยู่อาศัย ซึ่งถือว่าเป็นสัตว์อีกชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศ

จังหวัดเชียงใหม่ จัดเป็นหนึ่งพื้นที่ของประเทศไทยที่มีนกพันธุ์หายากอาศัยอยู่หลากหลายชนิด รวมถึง “นกเดินดงอกเทา” วันนี้ “เชียงใหม่นิวส์” จะพาทุกคนไปรู้จัก “นกเชียงใหม่” กัน

ชื่ออังกฤษ Grey-sided Thrush, Fea’s Thrush
ชื่อวิทยาศาสตร์ Turdus feae (Salvadori, 1887)
เป็นนกในวงศ์ Turdidae (วงศ์นกเดินดง)

ลักษณะโดยทั่วไปของนกเดินดงอกเทา

นกเดินดงอกเทามักรวมฝูงหากินร่วมกับนกเดินดงชนิดอื่นๆตามต้นไม้ที่มีลูกไม้สุก หรือจุดทิ้งเศษอาหารบนภูเขา โดยเฉพาะนกเดินดงสีคล้ำ (Eyebrowed Thrush) ที่มีลักษณะเด่นคือแถบคิ้วสีขาวคล้ายๆกัน ต่างกันตรงที่นกเดินดงอกเทามีบริเวณข้างลำตัวเป็นสีเทาอ่อนๆ ไม่ออกส้มหรือน้ำตาลอมส้มแบบนกเดินดงสีคล้ำ แต่นกเดินดงอกเทาที่ยังโตไม่เต็มวัยดูเผินๆมีหน้าตาคล้ายนกเดินดงสีคล้ำมาก เพราะยังคงมีสีน้ำตาลเรื่อๆที่อก โดยเฉลี่ยเพศเมียมีลายขีดที่คอเยอะกว่าเพศผู้และมีสีเทาจางกว่าเล็กน้อย

แหล่งที่อยู่อาศัยในเชียงใหม่

สามารถพบนกชนิดนี้ได้ที่ อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ และภูเขาสูงในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผางต่อเนื่องกับอุทยานแห่งชาติแม่วงศ์ จ.เชียงใหม่

เรียบเรียงโดย : “เชียงใหม่นิวส์”
ขอบคุณภาพจาก : Mark King
อ้างอิงข้อมูลจาก : http://oknation.nationtv.tv/blog/plains-wanderer/2016/02/07/entry-1

บทตวามที่เกี่ยวข้อง

“นกกินปลีหางยาวเขียว” นกพันธุ์หายากใน จ.เชียงใหม่

นกปีกแพรสีเขียว (Green Cochoa)

“นกจู๋เต้นจิ๋ว” นกพันธุ์หายากใน จ.เชียงใหม่

“นกกินปลีหางยาวคอสีฟ้า” นกพันธุ์หายากใน จ.เชียงใหม่

“นกติ๊ดแก้มเหลือง” นกพันธุ์หายากใน จ.เชียงใหม่

ร่วมแสดงความคิดเห็น