สสว.จับมือ จ.แม่ฮ่องสอน และส่วนราชการในพื้นที่ เดินหน้าโครงการต้นแบบ การแก้ไขปัญหาความยากจน

สสว.จับมือจังหวัดแม่ฮ่องสอน และส่วนราชการในพื้นที่ เดินหน้าโครงการต้นแบบการแก้ไขปัญหาความยากจน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนเมืองสามหมอก ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และความมั่นคง รวม 6 กิจกรรม

เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ศูนย์ศิลปาชีพ จ.แม่ฮ่องสอน ได้จัดให้มีพิธีลงนามโครงการต้นแบบการแก้ไขปัญหาความยากจน จ.แม่ฮ่องสอน โดยมีนายสุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล ผอ.สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ( สสว.) ร่วมกับ นายสิริรัฐ ชุมอุปการ ผวจ. และ 5 หน่วยงาน ได้แก่ ม.เกษตรศาสตร์ , มช. , ม.ขอนแก่น , อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ และ ม.ราชภัฎชียงใหม่ ร่วมกันเสวนาในหัวข้อ “ แนวทางการดำเนินงาน ภายใต้โครงการต้นแบบ การแก้ไขปัญหาความยากจน จ.แม่ฮ่องสอน ตามข้อสั่งการของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในคราวเดินทางมาตรวจราชการ ณ จ.แม่ฮ่องสอน เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2561 ที่ผ่านมา

นายสิริรัฐ ชุมอุปการ ผวจ. กล่าวว่า โครงการต้นแบบการแก้ไขปัญหาความยากจน จ.แม่ ฮ่องสอน พ.ศ.2562 เป็นโครงการที่รัฐบาลให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก และได้มอบหมายให้สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.)เป็นหน่วยงานหลักในการบริหารโครงการและสนับสนุนงบประมาณ ทั้งนี้คาดว่า เมื่อเสร็จสิ้นโครงการ จะทำให้มีต้น แบบและแนวทางการแก้ไขปัญหาความยากจน นำไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำ ยกระดับรายได้ และพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนชาว จ.แม่ฮ่องสอน ให้ดียิ่งขึ้น

นายสุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล ผอ.สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ( สสว.) กล่าวว่า จากสถานการณ์ความยากจนของ จ.แม่ฮ่องสอน โดยสำนักงานคณะกรรม การพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สศช. ได้ใช้เส้นความยากจนสะท้อนมาตร ฐานการครองชีพขั้นต่ำของสังคม โดยคำนวณจากต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิต เฉลี่ยของปัจเจกบุคคลในระดับครัวเรือน พบว่า จ.แม่ฮ่องสอน เป็นจังหวัดที่มีปัญหาความยากจนเรื้อรัง และมีสัดส่วนคนจนอยู่ในลำดับสูงสุด เป็นอันดับแรกของประเทศ ต่อเนื่องกว่า 10 ปี ในช่วงปี 2549-2559 ยกเว้นปี 2558 เท่านั้น

จึงได้มีการจัดทำโครงการต้นแบบ ในการแก้ไขปัญหาความยากจนในพื้นที่ ก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน จากการสร้างงาน สร้างรายได้ที่มั่นคง รวมทั้งส่งเสริมให้ชุมชนและทรัพยากรธรรมชาติ โดยสามารถพัฒนาร่วมกันอย่างเกื้อกูล รวม 6 กิจกรรม ได้แก่ ส่งเสริมต้นแบบการรวมกลุ่มวิสาหกิจ เพื่อการปลูกบุกผสมผสานพืชอื่น ,พัฒนายกระดับการผลิตผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่ากลุ่มโครงการสร้างป่าสร้างรายได้ตามพระราชดำริ ฯ , เพิ่มศักยภาพในการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร กลุ่มเกษตร กรแปลงใหญ่ , ยกระดับการนำผลผลิตจากวนเกษตร (ไผ่) มาแปรรูปเพิ่มมูลค่าเป็นผลิต ภัณฑ์เชิงพาณิชย์ , เพิ่มศักยภาพกลุ่มผู้เลี้ยงไก่แม่ฮ่องสอน กลุ่มผลิตภัณฑ์จากแกะ ตามแนวพระราชดำริ และส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่า กลุ่มสมาชิกศูนย์ศิลปาชีพจ.แม่ฮ่องสอนในพระบรมราชูปถัมภ์

สำหรับโครงการดังกล่าว ดำเนินงานภายใต้วงเงิน 16 ล้านบาท สิ้นสุดระยะเวลาการดำเนินงาน วันที่ 30 กันยายน 2562 ด้วยการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน ตามแนว ทางประเทศไทย 4.0 เพื่อให้การขับเคลื่อนการพัฒนา จ.แม่ฮ่องสอน และการแก้ไขปัญหาความยากจนบรรลุผลสำเร็จตามเป้าประสงค์ เชื่อมโยงความสอดคล้องทั้งโครงการเร่งด่วนและโครงการพัฒนา โดยใช้องค์ความรู้ งานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรม ควบคู่กับการสร้างและขยายช่องทางการตลาด เพื่อเพิ่มรายได้ ลดปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน

ร่วมแสดงความคิดเห็น