ชาวพุทธจ.แพร่ร่วมประเพณีห่มผ้าพระธาตุปงสนุก หรือพระธาตุหนองเต่าคำ วัดพงษ์สุนันท์ อายุ 1089 ปี

ผู้สื่อข่าวรายงานมาจากจังหวัดแพร่มาเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2562 ในวันนี้เป็นมาฆบูชา วันเพ็ญ เดือน 3 ในจังหวัดแพร่ที่มีพระธาตุคู่วัดได้จัดงานประเพณีห่มผ้าพระธาตุ เช้นเดียวกันกับที่ วัดพงษ์สุนันท์ ตำบลฝนเวียง อ.เมือง จ.แพร่ พระครูโกวิทอรรถเวที เจ้าอาวาสวัดพงษ์สุนันท์ พร้อมคณะศรัทธาได้ตัดทำบุญประเพณีห่มผ้าพระธาตุปงสนุก หรือพระธาตุพงษ์สุนันท์มงคล หรือ พระธาตุหนองเต่าคำ และมีพิธีตานตุงเงินประจำราศี

พระครูโกวิทอรรถวาที เจ้าอาวาสวัดพงษ์สุนันท์ เจริญพร กับผู้สื่อข่าวถึงประวัติ พระธาตุปงสนุก หรือพระธาตุพงษ์สุนันท์มงคล หรือพระธาตุหนองเต่าคำว่า เป็นพระธาตุที่มีอายุ 1089 ปี บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า เจดีย์พระธาตุพงษ์สุนันมงคล หรือพระธาตุปงสนุก บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้ามาจากประเทศอินเดีย และ ศรีลังกา สร้างขึ้นราวปี พ.ศ.1472 อายุประมาณ 1089 ปีภายในองค์พระธาตุเจดีย์ บรรจุ “พระสกุลดำคูณ เป็นแสน ๆ องค์”

วัดพงษ์สุนันท์ เป็นวัดประจำตระกูลวงศ์บุรี เดิมเป็นวัดร้าง ชื่อ “วัดปงสนุก” ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2472 ได้มีการบูรณะวัด และสร้างวิหารใหม่ขึ้นโดยมีหลวงพงษ์พิบูลย์ หรือ พระยาบุรีรัตน์(เจ้าพรหม) และเจ้าสุนันตา เจ้าของบ้าน วงศ์บุรีเป็นศรัทธาหลัก วัดนี้จึงเปลี่ยนชื่อเป็น วัดพงษ์สุนันท์ ตามชื่อหลวงพงษ์พิบูลย์ และ เจ้าแม่สุนันตา
วัดพงษ์สุนันท์ ภายในวัด มีพระอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย ชื่อว่า “พระเจ้าแสนสุข” มีอายุราว 568 ปี เสนาสนะ ภายในบริเวณวัดมีพระนอน องค์ใหญ่สีทองอร่าม ซุ้มประตูมงคล 19 ยอด มีเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุพระพุทธรูปเก่าแก่สวยงาม

มีวิหารแก้วองค์พระธาตุเจดีย์ 108 ยอด ที่เป็นวิหารสีขาวทั้งหลัง มีความหมายทางพุทธศาสนา คือ บูชาพระพุทธคูณ โดยวิหารหลังนี้มี พระธาตุเจดีย์ทั้งหมด 108 องค์ ซึ่งล้อมรอบด้วยกำแพงลูกแก้วทั้งหมด 108 ลูก เมื่อมองลูกแก้วสามารถเห็น “วิหารแก้วองค์พระธาตุ เจดีย์ 108 ยอดกลับหัว” สวยงามและน่าอัศจรรย์มาก ภายในวิหารมีพระพุทธรูปองค์ใหญ่ นามว่า “พระสุรัสวดีประทานพร” และ องค์เล็กที่ทำจากไม้ขนุนทั้งองค์ มีภาพจิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับพระพุทธรูปในจังหวัดแพร่ ปีนักษัตร

นอกจากนี้ มี “พระเจ้าทันใจอยู่ในท่า ประทับยืนชี้นิ้ว” ถ้าจะขอพรต้องใช้หน้าผากประชิดที่นิ้วชี้ของพระเจ้าทันใจ ก็จะได้สมดังปรารถนา โดยมีนายช่างชาวพม่าและ พระมหาสิทธิชัย ชยสิทธิ (พระเถระช่างแกะสลักไม้) เป็นผู้ปั้น

ร่วมแสดงความคิดเห็น