ศิลปินแห่งชาติ ชาวเชียงใหม่

ยิ่งใกล้วันสำคัญอย่างวันศิลปินแห่งชาติ “เชียงใหม่นิวส์” เราก็ได้รวบรวมศิลปิน ที่สร้างสรรค์ผลงานที่ทรงคุณค่า และได้รับรางวัลศิลปินแห่งชาติ ในจังหวัดเชียงใหม่ มาฝากกันค่ะ

นายมานพ ยาระณะ

สาขา : ศิลปะการแสดง

สาขาย่อย : การแสดงพื้นบ้านช่างฟ้อน

ปีที่ได้รับ : พ.ศ.2548

ผลงาน :การฟ้อนดาบ

ประวัติ : เกิดวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2474 ที่จังหวัดเชียงใหม่ ปัจจุบันอายุ 88 ปี

ประวัติการศึกษา: สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่โรงเรียนวัดศรีดอนไชย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

มีความสนใจและศึกษาศิลปะการแสดงพื้นบ้านล้านนามาตั้งแต่เด็ก จนมีความเชี่ยวชาญ ศิลปะการฟ้อน ศิลปะการต่อสู้ การตีกลองสะบัดชัยโบราณ การตีกลองปู่จา การตีกลองปู่จา ดนตรีพื้นบ้านล้านนา และดนตรีไทย

ผลงาน : เป็นผู้ประดิษฐ์กระบวนท่า “ฟ้อนผาง” ขึ้นใหม่ จนเป็นแบบฉบับของการทำตำราเรียนของวิทยาลัยนาฏศิลป์เชียงใหม่

วิสัยทัศน์ : เป็นผู้มีความมุ่งมั่นที่จะถ่ายทอดภูมิปัญญาที่ตนเองมีอยู่ให้กับลูกหลาน เพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟู และสืบสาน ศิลปะการแสดงล้านนาให้ยั่งยืนคงอยู่เป็นสมบัติของชาติ

คุณงามความดี : เป็นผู้แสดงและนำลูกศิษย์ไปแสดงในงานบุญประเพณีต่าง ๆ ที่หน่วยงานราชการและเอกชนในจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี และยังให้ความรู้แก่นักเรียน นักศึกษา ตามสถาบันการศึกษา และโรงเรียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนาบ้านของตนเอง เป็นเวลามากกว่า 60 ปี โดยไม่มีการเรียกร้องค่าเล่าเรียนใด ๆ ทั้งสิ้น

จุลทัศน์ กิติบุตร

สาขา : ทัศนศิลป์

สาขาย่อย : ศิลปะสถาปัตยกรรม(แบบร่วมสมัย)

ปีที่ได้รับ : 2547

ผลงาน : โรงแรม The Reagent Chiang Mai

ประวัติ: เกิดเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พุทธศักราช 2487 ที่จังหวัดเชียงใหม่

ประวัติการศึกษา : ปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผลงาน : สร้างสรรค์ผลงานทางสถาปัตยกรรมอย่างต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 30 ปี

วิสัยทัศน์ : การสร้างสรรค์และสืบทอดภูมิปัญญาสถาปัตยกรรมร่วมสมัยให้เป็นมรดกของชาติสืบไป

คุณงามความดี : นอกจากนั้นยังทำหน้าที่ถ่ายทอดวิชาความรู้และประสบการณ์ในการออกแบบสถาปัตยกรรมในแนวทางประยุกต์ให้แก่นักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตภาคพายัพ จังหวัดเชียงใหม่

มณี พยอมยงค์

สาขา : วรรณศิลป์

ปีที่ได้รับ : 2549

ผลงาน : ด้านกวีนิพนธ์

ประวัติ : อาจารย์มณีสำเร็จการศึกษาในทางธรรมโดย เป็นนักธรรมเอก ปธ.6 จากนั้นสำเร็จการศึกษาในทางโลก ศึกษาศาสตร์บัณฑิต จากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ การศึกษามหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ตามลำดับ

ผลงาน : งานกวี งานเขียน งานวิจัย

วิสัยทัศน์ : ผู้สร้างสรรค์ อนุรักษ์ ส่งเสริม สืบสาน และเผยแพร่ผลงานทางด้านวัฒนธรรม

คุณงามความดี : ผู้สืบสานและสร้างสรรค์วรรณกรรมล้านนาร่วมสมัย ทั้งวรรณกรรมพุทธศาสนา วรรณกรรมประวัติศาสตร์ วรรณกรรมพิธีกรรม เป็นผู้เชี่ยวชาญทั้งวรรณกรรมลายลักษณ์และวรรณกรรมมุขปาฐะ ทั้งยังเป็นผู้ปฏิบัติงานด้านวัฒนธรรมล้านนา ที่มีบทบาทในการชี้แนะสังคมเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมมาอย่างสม่ำเสมอ เป็นเวลากว่า 50 ปี ด้วยผลงานอันหลากหลายและสืบเนื่อง

บัวซอน ถนอมบุญ

สาขา : ศิลปะการแสดง

ปีที่ได้รับ : 2555

ผลงาน : การแสดงพื้นบ้าน

ประวัติ : เกิดเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2487 ที่บ้านต้นรุง หมู่ 3 ตำบลป่าตุ้ม อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

ประวัติการศึกษา : เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนบ้านต้นรุง เมื่ออายุได้ 13 ปี ได้ไปเรียนซอกับนางคำปัน ช่างซอบ้านทุ่งหลวง เรียนได้ 3 เดือน ก็ไปประกวดซอที่อำเภอพร้าวและได้รับรางวัลที่ 1 จึงย้ายเข้ามาอยู่ในตัวเมืองเชียงใหม่

ผลงาน : บันทึกแผ่นเสียง ชุดแรกเรื่อง “น้ำตาเมียหลวง” ซอคู่กับ บุญศรี สันเหมือง

วิสัยทัศน์ :ความมีปฏิภาณไหวพริบดี ใช้ถ้อยคำได้ไพเราะคมคาย มีน้ำเสียง ไพเราะจับใจผู้ฟัง

คุณงามความดี : ปัจจุบันแม่บัวซอนได้ทำการสอนให้กับผู้ที่มีความสนใจการซอทั้งที่บ้านและสอนในโครงการสืบสานตำนานซอ ตามโรงเรียนต่างๆ ในจังหวัดเชียงใหม่

จันทร์สม สายธารา

สาขา: ศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย)

สาขาย่อย: เพลงพื้นบ้าน-ขับซอ

ปีที่ได้รับ: 2539

ผลงาน : ด้านการแสดง

ประวัติ : เกิดวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2475 บ้านชะเยือง ต. ดอนแก้ว อ.แม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

ประวัติการศึกษา : ภาคบังคับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนบ้านชะเยือง เรียนซอกับแม่ครูคำบานที่บ้านสบยาว อ.จอมทอง จ. เชียงใหม่ เมื่อปี 2491 ขณะอายุได้ 16 ปี เป็นการเรียนแบบท่องจำตามที่ครูบอกและติดตามแม่ครู ไปในงานแสดงต่างๆ เพื่อฟังเครือซอและนำมาปรับใช้กับการซอของตน แม่ครูจันทร์สมเรียนซออยู่ประมาณ 1 ปี ก็สามารถออกซอได้และเพียงไม่นานก็ได้รับความนิยมจากผู้ฟังจนมีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป

ผลงาน : ด้านการแสดงละครวิทยุโดยใช้ภาษาถิ่น คือ “ละครวิทยุกำเมือง” ของคณะสายธาราวิทยุ รวมทั้งเป็นวิทยากรถ่ายทอดภูมิปัญญาให้แก่ประชาชนทั่วไปตามสถานที่ต่าง ๆ นอกเหนือจากการแสดงทั่วไป

วิสัยทัศน์ : สร้างสรรค์พัฒนาศิลปะการซอให้เป็นที่ยอมรับของสังคม

คุณงามความดี : เป็นผู้ที่สร้างสรรค์งานศิลปะการซอแนวอนุรักษ์นิยมมาเป็นเวลานานกว่า 49 ปี จนมีผู้เห็นประโยชน์และคุณค่า จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม สาขาวรรณศิลป์ (วรรณกรรมมุขปาฐะ) เมื่อปีพุทธศักราช 2436 เป็นศิลปินพื้นบ้านที่อนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นบ้านอันเป็นมรดกการแสดงภาคเหนือที่มีความสามารถผู้หนึ่ง

คำ กาไวย์

สาขา: ศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์ไทย)

สาขาย่อย: การแสดงพื้นบ้าน-ช่างฟ้อน

ปีที่ได้รับ: 2535

ผลงาน : ด้านการแสดง

ประวัติ : เกิดเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ.2477 ที่อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่

ประวัติการศึกษา : จบการศึกษาชั้นประถม แต่เนื่องจากมีความสนใจในการแสดงพื้นบ้าน และมีความสามารถในการตีกลองสะบัดชัย ซึ่งเป็นศิลปะพื้นบ้านล้านนา และได้มีโอกาสเข้าประกวดแข่งขันศิลปะพื้นบ้าน เมื่อปี พ.ศ. 2504 และได้รับรางวัลชนะเลิศ ทำให้เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป

ผลงาน : พ่อครูคำ ได้คิดค้นและประดิษฐ์ชุดการแสดงจำนวนมาก และผลงานที่โดดเด่นคือ การคิดค้นท่ารำ ร่วมกับอาจารย์ของวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่

วิสัยทัศน์ : สืบสานพัฒนาสร้างสรรค์ศิลปะการแสดงพื้นบ้านล้านนา

คุณงามความดี : บุคคลที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้สืบสานพัฒนาสร้างสรรค์ศิลปะการแสดงพื้นบ้านล้านนาด้วยความรัก และทุ่มเทจนเป็นที่ประจักษ์แก่บุคคลทั่วไปว่าเป็นศิลปินที่มีความเชี่ยวชาญอย่างสูง

บุญศรี รัตนัง

สาขา: ศิลปะการแสดง

สาขาย่อย: ดนตรีพื้นบ้านล้านนา

ปีที่ได้รับ: 2560

ผลงาน : ดนตรีพื้นบ้าน

ประวัติ : เกิดเมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2496 ที่บ้านป่าเหมือด ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่

ประวัติการศึกษา : สำเร็จการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนบ้านป่าเหมือด เมื่อปี พ.ศ. 2506 เริ่มเรียนเป่าปี่กับพ่อสม บุญเรือง ช่างเป่าปี่ มีชื่อในขณะนั้น พ.ศ. 2515 หันมาเรียนขับซอกับพ่อหนานตา ตันเงิน ที่บ้านป่าแงะ ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

ผลงาน : ชนะการแข่งขันการประกวดวงดนตรีพื้นเมืองประยุกต์ ในนามวง “ลูกทุ่งลานทอง”

วิสัยทัศน์ : ตั้งปณิธานอุทิตตนสร้างความสุขความบันเทิงใจให้แก่ผู้คนไปตราบนานเท่านาน

คุณงามความดี : นอกจากร้อง บรรเลง ยังใช้ทุนส่วนตัวก่อตั้งศูนย์สืบสานรอยล้านนาภูมิปัญญาท้องถิ่น เปิดสอนเด็กๆ เพราะอยากให้ลูกหลานเรียนรู้ ปลูกฝังให้ตระหนักคุณค่าและร่วมกันอนุรักษ์เอาไว้ชาวสันทราย เชียงใหม่

เรียบเรียงโดย : “เชียงใหม่นิวส์”

ร่วมแสดงความคิดเห็น