บวชแบบไม่ลำบากใคร! ปอยส่างลอง ประเพณีบรรพชาสามเณรของล้านนา

“ปอยส่างลอง” หรือประเพณีการบวชลูกแก้ว คือ การบวชเณรของชาวล้านนา ประเพณีนี้ถือว่าเป็นงานที่ใหญ่พอสมควรจึงเรียกอีกอย่างว่า “ปอยหน้อย” ในล้านนามีรูปแบบการบวชอยู่ 2 อย่าง การบรรพชาบวชเณรนั้น นิยมเรียกว่า “บวชพระ” หรือ “บวชลูกแก้ว” ส่วนการอุปสมบทหรือบวชเป็นพระภิกษุนั้นเรียกว่า “บวชเป็กข์” หรือ “เป็กข์ตุ๊” ซึ่งคำเรียก เณร ทางล้านนานิยมเรียกว่า พระ ส่วน ภิกษุนั้น เรียกว่า “ตุ๊เจ้า”

การแต่งกายของสามเณรในวันแห่ลูกแก้ว

วันนี้ “เชียงใหม่นิวส์” ขอพาทุกคนไปรู้จักกับประเพณีการบรรพชาสามเณรของชาวล้านนาที่มีเสน่ห์ และไม่ซ้ำใครมาให้ทุกท่านได้รู้จักขอพาทุกคนไปรู้จักกับประเพณีการบรรพชาสามเณรของชาวล้านนาที่มีเสน่ห์ และไม่ซ้ำใครมาให้ทุกท่านได้รู้จัก

ปอยหน้อยเป็นงานเฉลิมฉลองในประเพณีพิธีการบรรพชาหรือบวชเณรในภาคเหนือ ซึ่งจะทำกันในเดือน 5,6,7,8 ของภาคเหนือ คือ ราวเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม จัดงานประมาณ 3 วัน หรือ 5 – 7 วัน เป็นช่วงที่ชาวบ้านเว้นว่างจากทำนาทำไร่ และปิดเทอม ในการบรรพชาเป็นสามเณรครั้งนั้นก็เพื่อศึกษาพุทธธรรมเป็นการทดแทนคุณบิดามารดา ก่อนถึงวันส่างลองหนึ่งวัน เด็กผู้ชายที่เข้าร่วมต้องปลงผมและอาบน้ำ เจิมด้วยน้ำหอม แต่งกายด้วยชุดเสื้อผ้าเครื่องประดับต่าง ๆ

  • วันแรกของปอยส่างลองจะเริ่มด้วยขบวนแห่ลูกแก้วไปรอบ ๆ เมืองตามถนนหนทาง ขบวนแห่ประกอบด้วยเสียงดนตรีของชาวไทใหญ่ ได้แก่ มองเซิง (ฆ้องชุด) ฉาบ และกลองมองเซิง (กลองสองหน้า) แต่เดิมลูกแก้วจะขี่ม้า แต่ม้าหายากจึงเปลี่ยนมาเป็นการนั่งเก้าอี้แทน เพราะลูกแก้วเปรียบเสมือนเทวดา ต้องใส่ถุงเท้าขาวตลอด 3 วัน ห้ามมิให้ลูกแก้วเหยียบพื้น
  • วันที่สอง ก็ตั้งเป็นขบวนแห่ด้วยเครื่องสักการะเพื่อถวายพระพุทธและเครื่องจตุปัจจัยถวายพระสงฆ์
  • วันที่สาม เป็นวันบวช จะเริ่มด้วยการนำลูกแก้วไปวัดเพื่อทำการบรรพชาจากพระผู้ใหญ่ จากนั้นก็เปลี่ยนเป็นผ้ากาสาวพัตร์สีเหลือง เป็นสามเณรโดยสมบูรณ์

ประเพณีการบวชนี้ที่มีการแห่ลูกแก้วหรือผู้บวชที่แต่งตัวอย่างสวยงามนั้น เป็นการเลียนแบบเจ้าชายสิทธัตถะ เพราะถือคตินิยมว่าเจ้าชายสิทธัตถะได้เสด็จออกบวชจนตรัสรู้ และนิยมให้ลูกแก้วขี่ม้า ขี่ช้าง หรือขี่คอคน เปรียบเหมือนม้ากัณฐกะม้าทรงของเจ้าชายสิทธัตถะ ปัจจุบันประเพณีบวชลูกแก้วที่มีชื่อเสียง คือ ประเพณีบวชลูกแก้ว ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ชาวบ้านช่วยกันแห่สามเณรน้อย

ครั้งหนึ่งในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ได้รับผลกระทบกันในวงกว้าง ครอบคลุมทุกทวีปและประเทศส่วนใหญ่รวมทั้งประเทศไทยในปี พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1938) สิ้นสุดในปี พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) ผลจากการประสบปัญหาต่าง ๆ ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม ทำให้งดประเพณีปอยส่างลอง และเลิกไปในที่สุด

กระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2525 ซึ่งเป็นปีที่ไทยฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครอบ 200 ปี จึงมีการฟื้นฟูและจัดงานประเพณีปอยส่างลอง หรือบวชลูกแก้ว ทำให้ประเพณีนี้ได้ขยายไปถึงจังหวัดเชียงราย และเชียงใหม่ด้วย

เรียบเรียงโดย : “เชียงใหม่นิวส์”
ข้อมูลจาก : Chiang Mai City, iafarmwife.com, thaiculturebuu.wordpress.com
ภาพจาก : Chiang Mai City, iafarmwife.com,

ร่วมแสดงความคิดเห็น