“พระนางวิสุทธิเทวี” กษัตริย์หญิงคนสำคัญแห่งล้านนา

หลังจากที่ “พระเจ้าบุเรงนอง” ถอดพระเมกุฏิสุทธิวงศ์ออกจากพระราชบัลลังก์ล้านนาและพาตัวไปหงสาวดีเป็นการลงทัณฑ์ ด้วยที่ทรงพระราชฐานะที่พระนางเป็นเจ้านายอาวุโสตำแหน่งพระมหาเทวี หรือกษัตรีย์แห่งล้านนาที่ให้ความร่วมมือแก่พม่า นั่นจึงทำให้ “พระนางมหาเทวีวิสุทธิ” ได้ให้การยอมรับอำนาจของพม่า และสนองนโยบายการขยายอำนาจจากล้านนาไปสู่กรุงศรีอยุธยา และล้านช้าง โดยใช้ล้านนาเป็นที่มั่น

ซึ่งในวันนี้ “เชียงใหม่นิวส์” จะมานำเสนอประวัติและพระราชกรณียกิจของพระองค์ที่มีความน่าสนใจ และไม่เหมือนกับกษัตริย์องค์อื่น ๆ ในราชวงศ์มังราย

พระนางวิสุทธิเทวี กษัตริย์หญิงคนสำคัญแห่งล้านนา

พระราชประวัติโดยกำเนิด

“พระนางวิสุทธิเทวี” เป็นเจ้านายสืบเชื้อสายมาจากผู้ใดไม่เป็นที่ทราบ ซึ่งใน จารึกวัดชัยพระเกียรติ ที่กล่าวถึงการสร้างพระพุทธรูปเมืองรายเจ้าโดยขุนนางพม่าของพระเจ้าบุเรงนอง พระราชประวัติอันมืดมนซึ่งปรากฏบทบาทของพระองค์เพียงช่วงครองราชย์เท่านั้น ทำให้ไม่ทราบและไม่มีข้อมูลที่แน่นอนเกี่ยวกับพระประวัติตอนต้นของพระองค์เสวยราชย์

การก้าวขึ้นสู่อำนาจของพระนางวิสุทธิเทวี

“พระเจ้าเมกุฏิสุทธิวงศ์” และ “พระยากระมล” เจ้าผู้ครองเมืองเชียงแสนร่วมกันคิดกบฏต่อกรุงหงสาวดี เพราะไม่ยอมส่งทัพช่วยพม่ารบกับอาณาจักรอยุธยาเมื่อคราวสงครามช้างเผือกในปี พ.ศ. 2016 โดยมีเจ้าเมืองเชียงราย เจ้าเมืองน่าน และเจ้าเมืองลำปางร่วมก่อกบฏด้วยโดยมี “สมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช” พระมหากษัตริย์ล้านช้างทรงสนับสนุน

พระเมกุฏิสุทธิวงศ์

หลังพม่าเสร็จศึกที่อาณาจักรอยุธยาก็ยกทัพขึ้นมาปราบล้านนาอีกครั้ง บรรดาเจ้าเมืองต่าง ๆ ที่เคยลุกขึ้นมาต่อต้านกลับพากันหลบลี้ไปล้านช้างเสียหมด

พระเจ้าบุเรงนองแห่งอาณาจักรพม่า

เว้นพระเจ้าเมกุฏิที่ยอมสวามิภักดิ์แต่โดยดี และจัดบรรณาการมาถวาย ทว่าความผิดที่พระเจ้าเมกุฏิฝ่าฝืนการปฏิบัติคำสั่งถือเป็นโทษร้ายแรง เป็นเหตุให้ “พระเจ้าบุเรงนอง” ถอดพระเจ้าเมกุฏิสุทธิวงศ์ออกจากพระราชบัลลังก์ล้านนาและพาตัวไปหงสาวดีเป็นการลงทัณฑ์ แล้วพระราชทานตำหนักขาวให้ประทับ

แม้จะอยู่ภายใต้การปกครองของพม่า แต่พระองค์ยังมีบทบาททางการเมืองค่อนข้างสูง โดยพระนางวิสุทธิเทวีมีพระสถาภาพเป็นมหาเทวีผู้ทรงอำนาจสูง ทรงผ่านการราชาภิเษกสองครั้ง พระองค์มีพระราโชบายเพื่อประคับประคองบ้านเมืองให้อยู่รอดตลอดรัชสมัยของพระนางที่ให้ความร่วมมือกับพม่า พระนางจึงได้รับการยอมรับจากกษัตริย์พม่า รวมทั้งขุนนางพม่าที่รั้งเมืองเชียงใหม่

ในช่วงรัชสมัยของพระนาง พระนางได้ยอมรับและสนับสนุนพระราชอำนาจของราชสำนักบุเรงนองตลอดรัชกาลซึ่งแตกต่างจากนโยบายของท้าวแมกุ มีหลักฐานปรากฏอย่างชัดเจนว่าพระนางได้จัดทัพล้านนาไปช่วยพม่าทำศึก ในคราวตีกรุงศรีอยุธยาด้วย ในปี พ.ศ. 2112 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า พระนางวิสุทธิเทวีทรงยึดมั่นในความจงรักภักดีต่อพระเจ้าบุเรงนองที่สอดประสานกับนโยบายของผู้ปกครองพม่าที่มุ่งประคับประคองมิตรภาพของสองอาณาจักรให้ยั่งยืน

พม่าจึงไม่แทรกแซงปรับเปลี่ยนจารีตท้องถิ่น แต่ยังศึกษาและปกปักจารีตท้องถิ่น ซึ่งส่งผลทางอ้อมต่อการคงไว้ซึ่งความอยู่รอดของบ้านเมือง อาณาราษฎร และคงอยู่ซึ่งอำนาจของพระนางเอง ถึงแม้ว่าพระราชอำนาจของพระนางจะมีขีดจำกัด

สิ้นสุดรัชสมัย พระนางวิสุทธิเทวีได้พิราลัย เมื่อ พ.ศ. 2121 พระนางได้รับการถวายเกียรติยศโดยสร้างปราสาทเป็นที่ตั้งพระศพตั้งบนหลังนกหัสดีลิงค์ และใช้ช้างลากปราสาทศพ โดยเจาะกำแพงเมืองออกไปฌาปนกิจที่วัดโลกโมฬี ถือกันว่าการทำศพครั้งนี้เป็นแบบอย่างการปลงศพเจ้านายเมืองเหนือสืบมา

เรียบเรียงโดย : “เชียงใหม่นิวส์”
ข้อมูลจาก : หนังสือ ประวัติศาสตร์ล้านนา, หนังสือ พม่ารบไทย
ภาพจาก : th.wikipedia.org, siriparpablog.wordpress.com

บทความที่เกี่ยวข้อง

ร่วมแสดงความคิดเห็น