เทศบาลเมืองน่าน จัดการประชุมการจัดทำแผนขับเคลื่อนการจัดการพื้นที่สีเขียวชุมชนเมือง เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในภูมิภาคอาเซียน

เทศบาลเมืองน่าน จัดการประชุมการจัดทำแผนขับเคลื่อนการจัดการพื้นที่สีเขียวชุมชนเมืองเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในภูมิภาคอาเซียน เทศบาลเมืองน่าน ครั้งที่ 1

เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 4 มีนาคม 2562 ที่ห้องประชุมใหญ่ สำนักงานเทศบาลเมืองน่านโดยมี นายสุรพล เธียรสูตร นายกเทศมนตรีเมืองน่าน เป็นประธานในพิธีเปิดการจัดการประชุมการจัดทำแผนขับเคลื่อนการจัดการพื้นที่สีเขียวชุมชนเมืองเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในภูมิภาคอาเซียน เทศบาลเมืองน่าน ครั้งที่ 1 พร้อมด้วย นายณกรณ์ ศิริรัตน์พิริยะ รองนายกเทศเมืองน่าน / นายประสงค์ มงคลวิสุทธิ์ รองนายกเทศมนตรีเมืองน่าน / นางอริสา บุญสม รองนายกเทศตรีเมืองน่าน / นางบัวผา แก้วมงคล ผอ.กอง สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม / นายบรรหาร ศิลาเพชร นักวิชาการสุขาภิบาลชำนาญการ

นายมานิต ธนะวงศ์ ผอ.ส่วนสิ่งแวดล้อม สนง.ทสจ.น่าน พร้อมคณะผู้บริหารเทศบาลเมือน่าน ตัวแทนชุมชนในเขตเมือง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับ ดร.สุรีย์พร เกิดแก่นแก้ว สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม / นส.พชรกรณ์ คงสอน สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม / ดร. วาทินี ถาวรธรรม
ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ / ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วันเพ็ญ เจริญตระกูลปิติ ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ / ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทวี ชัยพิมลผลิน ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ / ดร.ญาณิน จิวะกิดารหุยากรณ์ ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

นายสุรพล เธียรสูตร นายกเทศมนตรีเมืองน่าน กล่าวว่า จากที่สถานการณ์การพัฒนาเมืองในปัจจุบันและในอนาคต ส่งผลกระทบด้านลบต่อการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองและการพัฒนาพื้นที่สีเขียวชุมชนเมือง ดังนั้น การพัฒนาระบบบริหารจัดการ นโยบาย ยุทธศาสตร์ เครื่องมือและกลไกที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพประสิทธิผล ยังต้องการการดำเนินงานที่ต่อเนื่อง นอกจากนั้น

ดร.สุรีย์พร เกิดแก่นแก้ว สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า ในปี 2562 ประเทศไทยจะเป็นประธานอาเซียน สำนักงานนโยบายฯ ในฐานะหน่วยประสานงานกลาง (National Focal Point) ของประเทศไทยในคณะทำงาน อาเซียนด้านสิ่งแวดล้อมเมืองที่ยั่งยืน (ASEAN Working Group on Environmentally Sustainable Cities) จำเป็นต้องเตรียมการเพื่อสนับสนุนการนำเสนอประเด็นสำคัญเพื่อประเทศไทยมีบทบาทนำในภูมิภาคให้ทันสถานการณ์ในปัจจุบันและในอนาคต

ดังนั้น จึงมีความจำเป็นในการจัดทำโครงการจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองและพื้นที่สีเขียวชุมชนเมือง เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในภูมิภาคอาเซียน” เพื่อศึกษา วิเคราะห์ สิ่งแวดล้อมเมืองและพื้นที่สีเขียวชุมชนเมืองในประเทศไทยอย่างเป็นระบบ และถอดบทเรียนเพื่อใช้ในการเสริมสร้างบทบาทของประเทศไทยในระดับภูมิภาคให้มีความโดดเด่นมากยิ่งขึ้น โดยให้เมือง (เทศบาล) ในประเทศไทยได้มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมจัดทำเครื่องมือ กลไก แนวทางการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองและพื้นที่สีเขียว และการผลักดันไปสู่ระดับปฏิบัติ เพื่อจัดทำตัวอย่างพื้นที่นำร่องเพื่อผลักดัน ส่งเสริม และติดตามการขยายผลและต่อยอดแนวทางการยกระดับขีดความสามารถของท้องถิ่น หน่วยงาน เครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองและพื้นที่สีเขียวชุมชนเมืองให้มีมาตรฐานในระดับสากล

โดยมี เทศบาลนำร่อง 2 เทศบาล คือ เทศบาลนครพิษณุโลกและเทศบาลเมืองน่าน ที่มีพื้นที่มีเครื่องมือ กลไก การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองและพื้นที่สีเขียว ชุมชนเมืองสู่มาตรฐานในระดับสากล ที่เทศบาลจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ได้อย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ โดยการมีส่วนร่วม อาทิ แผนขับเคลื่อนการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมเมือง และพื้นที่สีเขียวชุมชนเมืองสู่มาตรฐานระดับสากล ต่อไป

ดร.ญาณิน จิวะกิดารหุยากรณ์ ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หัวหน้าโครงการ จัดการสิ่งแวดล้อม เมืองและพื้นที่สีเขียว ชุมชนเมืองเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ในภูมิภาคอาเซียน กล่าวว่า การประชุมย่อย แนะนำโครงการ กิจกรรมระดมความคิดเห็นเพื่อจัดทำแผนขับเคลื่อนการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนเมืองเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในภูมิภาคอาเซียน โดยผู้เข้าร่วมและทีมงานผู้จัดเวทีตามหลักการ สถานการณ์การพัฒนาเมืองในปัจจุบันและในอนาคต ส่งผลกระทบด้านลบต่อการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองและการพัฒนาพื้นที่สีเขียวชุมชนเมือง

ดังนั้น การพัฒนาระบบบริหารจัดการ นโยบาย ยุทธศาสตร์ เครื่องมือและกลไกที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพประสิทธิผล ยังต้องการการดำเนินงานที่ต่อเนื่อง นอกจากนั้น ในปี 2562 ประเทศไทยจะเป็นประธานอาเซียน สำนักงานนโยบายฯ ในฐานะหน่วยประสานงานกลาง (National Focal Point) ของประเทศไทยในคณะทำงาน อาเซียนด้านสิ่งแวดล้อมเมืองที่ยั่งยืน (ASEAN Working Group on Environmentally Sustainable Cities) จำเป็นต้องเตรียมการเพื่อสนับสนุนการนำเสนอประเด็นสำคัญเพื่อประเทศไทยมีบทบาทนำในภูมิภาคให้ทันสถานการณ์ในปัจจุบันและในอนาคต

ดังนั้น จึงมีความจำเป็นในการจัดทำโครงการจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองและพื้นที่สีเขียวชุมชนเมือง เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในภูมิภาคอาเซียน” เพื่อศึกษา วิเคราะห์ สิ่งแวดล้อมเมืองและพื้นที่สีเขียวชุมชนเมืองในประเทศไทยอย่างเป็นระบบ และถอดบทเรียนเพื่อใช้ในการเสริมสร้างบทบาทของประเทศไทยในระดับภูมิภาคให้มีความโดดเด่นมากยิ่งขึ้น โดยให้เมือง (เทศบาล) ในประเทศไทยได้มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมจัดทำเครื่องมือ กลไก แนวทางการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองและพื้นที่สีเขียว และการผลักดันไปสู่ระดับปฏิบัติ เพื่อจัดทำตัวอย่างพื้นที่นำร่องเพื่อผลักดัน ส่งเสริม และติดตามการขยายผลและต่อยอดแนวทางการยกระดับขีดความสามารถของท้องถิ่น หน่วยงาน เครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองและพื้นที่สีเขียวชุมชนเมืองให้มีมาตรฐานในระดับสากล

ร่วมแสดงความคิดเห็น