จ.น่าน เปิดโครงการฝึกการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดน่าน

เวลา 09.00 น. วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ.2562 ที่ห้องประชุมเทศบาลเมืองน่าน อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน นายสัมฤทธิ์ สวามิภักดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการฝึกการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดน่าน ร่วมกับนายณรงณ์ อินโส หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดน่าน / นายสุรพล เธียรสูตร นายก เทศมนตรีเมืองน่าน / พ.ท.ไพรัช ศรีไชยวาล ผบ.ม.2 พัน.10 / พ.ท.ประยุทธ กุตตะนันท์ รองหัวหน้ากองกิจการพลเรือน มทบ.38 /ร.ท.วราวุธ ชาญชัยวีระพันธุ์ กกร. ฉก.ทพ.32 และ หัวหน้าส่วนราชการ คณะกรรมการศูนย์บัญชาการเหตุการณ์จังหวัดน่าน มีผู้เข้าร่วมการฝึกการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดน่านในครั้งนี้ จำนวน 180 คน

นายสัมฤทธิ์ สวามิภักดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน กล่าวว่า
ด้วยรัฐบาล ได้ตระหนักถึงมหันตภัยทางธรรมชาติที่นับวันจะทวีความรุนแรง มากยิ่งขึ้น ซึ่งมาจากปัจจัยต่างๆไม่ว่าจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกจากปัจจัยแวดล้อมอันเกิดจากการกระทำของมนุษย์ที่ ได้สร้างความสูญเสียอย่างมากมายมหาศาล ไม่ว่าจะเป็นความปลอดภัยในการดำรงชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ซึ่งเป็นผลกระทบโดยตรงและผลกระทบทางอ้อม คือ สูญเสียเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ เนื่องจากต้อง นำงบประมาณไปใช้ในการช่วยเหลือ/รักษาพยาบาลผู้ประสบภัย ฟื้นฟูบูรณะถนนหนทางสิ่งปลูกสร้าง และระบบสาธารณูปโภคเป็นจำนวนมาก ประกอบกับปัจจุบันการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ถูกกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ว่าการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเป็นหน้าที่ของปวงชนชาวไทยทุกคน ประกอบกับเป็นราโชบายของรัชกาลที่ 10 ที่ให้หน่วยงานภาครัฐ ดำเนินการปรับปรุงการบริหารจัดการภัยพิบัติเพื่อให้เกิดกระบวนการให้ความช่วยเหลือประชาชนได้ทันท่วงที

อีกทั้งยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ได้กำหนดให้มีการพัฒนาระบบการเตรียมความพร้อมแห่งชาติ และระบบการบริหารจัดการภัยพิบัติ โดยมีการเชื่อมโยงกับนานาประเทศในภูมิภาค ภายใต้กรอบเซนได (พ.ศ.2558 – 2573 )ที่จะต้องลดความสูญเสียจากภัยพิบัติในทุกรูปแบบ รวมทั้งการป้องกันและลดปัญหาโลกร้อน และการปรับตัวให้พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการป้องกัน การเฝ้าระวัง และการเตรียมความพร้อมรับมือกับภัยพิบัติที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต สำหรับในการฝึกรูปแบบเชิงปฏิบัติการ(Workshop) เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการฝึกในรูปแบบการฝึกเฉพาะหน้าที่ (Functional Exercise :FEX ) โดยผ่านระบบ Web Conference วิทยุสื่อสาร โทรสารในวันพรุ่งนี้ ซึ่งมีการประเมินการพัฒนากลไก และขีดความสามารถ ของหน่วยงานภายใต้ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์จังหวัด และอำเภอ การฝึกฯจะสำเร็จได้จำเป็นต้อง ได้รับความร่วมมือของทุกๆ ท่านไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมการตามโครงสร้างศูนย์บัญชาการเหตุการณ์จังหวัดและศูนย์บัญชาการเหตุการณ์อำเภอ ให้ความสำคัญและร่วมฝึก เพื่อนำไปปรับใช้ในพื้นที่ เมื่อมีการเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินและมีความจำเป็นต้องตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ขึ้น จะได้ไม่เกิดความตื่นตระหนก และบริหารจัดการกับภัยพิบัติที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ และลดความสูญเสียได้

นายณรงค์ อินโส หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดน่าน กล่าวว่า การฝึกการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จังหวัดน่าน ในครั้งนี้ โดยที่กระทรวงมหาดไทย ได้กำหนดนโยบายในการสร้างการเรียนรู้ การแจ้งเตือน และการฝึกการป้องกันเป็นราโชบายที่ต้องการทำให้เป็นมาตรฐานสากลภายใต้พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550 และแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ.2558 โดยมีแผนเผชิญเหตุมีการบัญชาการเหตุการณ์ ซึ่งประชาชนต้องได้รับการช่วยเหลือได้ทันท่วงที เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม และการพัฒนาการจัดการสาธารณภัยที่เกิดขึ้น

จังหวัดน่านจึงกำหนดให้ฝึกสถานการณ์ อุทกภัย น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่ม ซึ่งสอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศ และสถิติการเกิดอุทกภัย น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่มในพื้นที่ จังหวัดน่าน ซึ่งเกิดขึ้น เป็นประจำทุกปี และทวีความรุนแรงมากขึ้น สร้างความเสียหายต่อชีวิต ทรัพย์สิน และส่งผลกระทบในด้านต่าง ๆ เป็นวงกว้าง การฝึกการป้องกันในครั้งนี้ เพื่อทดสอบ ประเมิน การพัฒนากลไกและขีดความสามารถ ของหน่วยงานภายใต้ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์จังหวัด/อำเภอ ทดสอบ ประเมินแผนเผชิญเหตุ ของศูนย์บัญชาการเหตุการณ์จังหวัด/อำเภอ หน่วยงานและภาคประชาชนทดสอบแนวทางการประสานการปฏิบัติระหว่างศูนย์บัญชาการเหตุการณ์จังหวัดและอำเภอ ท่าวังผา เมืองน่าน และอำเภอเวียงสา /คณะกรรมการศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ 12 อำเภอนอกกลุ่มเป้าหมาย (ผู้สังเกตการณ์)

โดยมีรูปแบบการฝึกประกอบด้วยเชิงปฏิบัติการ(Workshop) และรูปแบบการฝึกเฉพาะหน้าที่ ( Functional Exercise : FEX ) โดยผ่านระบบ Web Conference วิทยุสื่อสาร โทรสาร ในวันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๖๒ ณ ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์จังหวัดน่าน เพื่อทดสอบการปฏิบัติงานภายใต้กลไกของศูนย์บัญชาการเหตุการณ์จังหวัดน่าน ในเรื่อง ระบบการบัญชาการณ์เหตุการณ์ (ICS) ระบบการติดต่อสื่อสาร ในภาวะฉุกเฉิน ได้รับการสนับสนุน การติดตั้งระบบอินเตอร์เน็ต เพื่อดำเนินการฝึกฯ ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์จังหวัด และอำเภอในพื้นที่เป้าหมาย จากบริษัท TOT และบริษัท แอดวานซ์ ไวเลส เน็ทเวร์ค จำกัด สาขาลำปาง และชมรมวิทยุสมัครเล่นจังหวัดน่าน ในการใช้ระบบวิทยุสื่อสาร (ระบบสื่อสารรอง) ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 159 เชียงราย ผู้แทนสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงราย พะเยา และแพร่ /ผู้แทนสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา (ดร. คณุสสัน ศุภวัตรวรคุณ) /ผู้แทน Thai water Partnership (ดร.แมน ปุโรทกานนท์) ผู้แทนมูลนิธิฮักเมืองน่าน (ดร.มาโนชญ์ ชายครอง) และ ดร. พลภัทร เหมวรรณ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เข้าร่วมสังเกตการณ์ /ประเมินผลการฝึกในครั้งนี้

ร่วมแสดงความคิดเห็น